Powered By Blogger

วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ธุรกิจที่นำระบบสารสนเทศมาใช้แล้วประสบความสำเร็จ

บริษัท : Chevron
โปรแกรมที่ใช้ : Oracle
รูปแบบการใช้งาน : Oracle เป็นหนึ่งในระบบ Database ที่บริษัทเชฟรอนใช้ซึ่งระบบนี้เป็น Multi User Database ในการรวมรวมข้อมูลที่หลากหลายเข้าไว้ด้วยกัน ยกตัวอย่างเช่น ข้อมูลเกี่ยวกับหลุมผลิต ซึ่งข้อมูลนี้จะมีการ update online โดยที่ผุ้ใช้งานทุกคน (authorized person) จะสามารถเข้าถึงข้อมูลที่เป็นปัจจุบันมากที่สุด ไมว่าจะเป็นพนักงานนอกฝั่ง (Offshore) หรือพนักงานบนฝั่ง จะได้รับข้อมูลที่ตรงกัน
ประโยชน์ที่ได้รับ : ในการใช้ระบบ oracle นี่ช่วยในการประหยัดค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดเก็บข้อมูล อีกทั้งยังเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้ดียิ่งขึ้น เนื่องจากเป็นฐานข้อมูลที่เก็บข้อมูลที่หลากหลาย และเป็นข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน ทำให้ผู้ใช้งานสามารถค้นหาข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล เพื่อใช้ในการทำงานได้อย่างสะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น

วันจันทร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2554

บทความสารสนเทศ 8

แฮกเกอร์ (Hacker)


ความหมายของแฮกเกอร์
      "แฮกเกอร์ (Hacker) คือ บุคคลที่มีความสนใจในกลไกการทำงานของระบบปฏิบัติการบนคอมพิวเตอร์อย่างลึก ซึ้ง แฮกเกอร์ส่วนใหญ่ต้องมีความรู้เทียบเท่าหรือเหนือกว่าโปรแกรมเมอร์ โดยจะเป็นเช่นนั้นได้ เพราะพวกเขามีความใส่ใจที่จะนำความรู้พื้นฐานที่ผู้อื่นมองว่าธรรมดามา ประยุกต์ใช้ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดแนวความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ อยู่ในสังคมดิจิตอลอยู่ตลอดเวลา แฮกเกอร์จะมีความเข้าใจในจุดอ่อนของระบบและที่มาของจุดอ่อนนั้นๆ เนื่องจากคอยติดตามข่าวสารและความรู้ใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา การกระทำใดๆ ที่เกิดจากการศึกษาของแฮกเกอร์จะต้องแน่ใจแล้วว่า ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ข้อมูล"
      "แฮกเกอร์ (Hacker) หมายถึง บุคคลผู้ที่เป็นอัจริยะ มีความรู้ในระบบคอมพิวเตอร์เป็นอย่างดี สามารถเข้าไปถึงข้อมูลในคอมพิวเตอร์ โดยเจาะผ่านระบบรักษาความปลอดภัย ของคอมพิวเตอร์ได้ กลุ่มพวกนี้จะอ้างว่า ตนมีจรรยาบรรณ ไม่หาผลประโยชน์จากการบุกรุกและประณามพวก Cracker"
      "แฮกเกอร์ (Hacker) คือ บุคคลผู้ซึ่งสามารถประยุกต์เอาความรู้ธรรมดาให้กลายเป็นเครื่องมือพิเศษ ซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในทางที่สุจริตได้"
ที่มาจาก Computer Review ฉบับที่ 203
ตัวอย่างแฮกเกอร์ชื่อดัง
ประวัติและผลงานของแฮกเกอร์ชื่อดังของโลก
Johan Helsingius
มีนามแฝงว่า Julf เขาเป็นผู้จัดการของ Anonymous Remailer ที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลกเรียกว่า Penet.fi แต่ในที่สุดเขาก็ปิดกิจการลงในเดือนกันยายน ปี 1996 เนื่องจากตำรวจอ้างว่า Church of Scientology ได้รับความเสิยหายอันเกิดจากการมีคนนำความลับของพวกเขาไปเผยแพร่โดย ปกปิดตัวเองด้วยบริการของ Helsingius Remailer ที่เขาทำ ซึ่งดำเนินงานโดยคอมพิวเตอร์ 486 และ Harddisk 200Mb เพียงเท่านั้นเอง
John Draper
มีนามแฝงว่า Cap'n Crunch เขาเป็นผู้ริเริ่มในการใช้หลอดพลาสติกที่อยู่ในกล่องซีเรียลมาทำให้โทรศัพท์ ได้โดยไม่ต้องเสียเงิน ด้วยเหตุนี้เขาจึงได้รับการขนานนามว่า "เจ้าพ่อการแคร็กโทรศัพท์" หรือที่เรียกกกันว่า "phreaking" ตอนที่ยังเป็นวัยรุ่นเขาพยายามทำให้โทรศัพท์คืนเหรียญมาทุกครั้งที่หยอดลงไป เครื่องมือที่เขาชอบใช้คือ whistle (เครื่องเป่า) จากกล่อง Cap'n Crunch cereal โดย whistle ดังกล่าวจะให้กำเนิดคลื่นเสียงขนาด 2600 hertz ซึ่งเพียงพอจะสามารถโทรศัพท์ได้โดยจะต้องใช้ร่วมกับ bluebox (กล่องสีน้ำเงินจะช่วยให้สามารถโทรศัพท์ฟรีได้)

Kevin Mitnick
มีนามแฝงว่า "Condor" อาจจะเรียกได้ว่าเป็น cracker ที่มีคนรู้จักมากที่สุดในโลก Mitnik เริ่มต้นด้วยการเป็น phone phreak ตั้งแต่ปีแรกๆ Mitnik สามารถ crack เว็บไซต์ทุกประเภทที่คุณสามารถนึกได้ รวมถึงเว็บไซต์ทางการทหาร บริษัททางการเงิน บริษัทซอฟแวร์ และบริษัททางด้านเทคโนโลยีอื่น ๆ (เมื่อเขาอายุ 10 ขวบ เขาสามารถ Crack เว็บไซต์ของ North American Aerospace Defense Command) เขาถูกจับเพราะเขาดันเจาะ เข้าไปในคอมพิวเตอร์ของผู้เชี่ยวชาญด้านรักษาความปลอกภัย ชาวญี่ปุ่นชื่อ Tsutomu Shimomura ทำให้เอฟบีไอตามล่าตัวเขา และถูกสั่งห้ามใช้ หรือเข้าใกล้คอมพิวเตอร์ ในปัจจุบันเขาออกจากคุกแล้ว เขียนหนังสือความปลอดภัย ด้าน hacker อยู่
Vladimir Levin
จบการศึกษามาจาก St. Petersbrurg Tekhnologichesky University นักคณิตศาสตร์คนนี้มีประวัติไม่ค่อยดี จากการที่เข้าไปรวมกลุ่มกับ Cracker ชาวรัสเซียเพื่อทำการปล้น Citibank's computers ได้เงินมา $10ล้าน ในที่สุดก็ถูกจับโดย Interpol ที่ Heathrow Airport ในปี 1995
Mark Abene
หรือที่รู้จักกันดีในนามของ Phiber Optik เขามีพรสวรรค์ในการเรียนรู้เกี่ยวกับระบบโทรศัพท์ค่อนข้างมาก มากเสียจนต้องเข้าไปอยู่ในคุกถึง 1 ปี เนื่องจากพยายามจะส่งข้อความให้เพื่อน Cracker ด้วยกัน แต่ข้อความนั้นโดนจับได้เสียก่อน เด็กคนนี้เป็นที่ชื่นชอบของเหล่าวัยรุ่นมากเนื่องจากฉลาดและบุคลิกดี นิตยสาร New York และแมนฮัตตันคลับถึงกับจัดเขาให้เป็น 1 ใน 100 ของบุคคลที่ฉลาดที่สุดในเมือง เขาเป็นคนที่ชอบรับประทานมันฝรั่งบด (mashed potatoes) จากร้าน KFC เป็นที่สุด
Kevin Poulsen
มีความเป็นมาที่คล้ายกับ Mitnik มาก Poulsen ถูกรู้จักกันดีในฐานะที่เขามีความสามารถควบคุมระบบโทรศัพท์ของ Pacific Bell ได้ (ครั้งหนึ่งเขาใช้ความสามารถพิเศษ นี้ชนะการแข่งขันทางวิทยุซึ่งมีรางวัลเป็นรถเปอร์เช่ เขาสามารถควบคุมสายโทรศัพท์ได้ ดังนั้นเขาจึงชนะการแข่งขันครั้งนั้นได้ เขาได้บุกรุกเข้าสู่เว็บไซต์แทบทุกประเภท แต่เขามีความสนใจในข้อมูลที่มีการป้องกันเป็นพิเศษ ต่อมาเขาถูกกักขังเป็นระยะเวลา 5 ปี Poulsen ถูกปล่อยในปี 1996 และกลับตัวในการใช้ชีวิตอย่างเห็นได้ชัด
Robert T.Morris
มีชื่อแฝงว่า rtm เขาเป็นลูกชายของหัวหน้านักวิทยาศาสตร์ใน National Computer Security Center ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ National Security Agency(NSA) เขาจบการศึกษาจาก Cornell University และโด่งดังมาจากที่หนอนอินเทอร์เน็ทแพร่ระบาดในปี 1998 ทำให้คอมพิวเตอร์นับพันต้องติดเขื้อและทำงานล้มเหลว เครื่องมือที่เขาใช้ตอนยังเป็นวัยรุ่น คือ แอคเคาท์ซูเปอร์ยูเซอร์ของเบลล์แลป
Justin Tanner Peterson
รู้จักกันในนาม Agent Steal, Peterson อาจเป็นผู้ที่มีชื่อเสียงอย่างมาก ในเรื่องการ crack บัตรเครดิต ดูเหมือน Peterson จะถูกชักจูงด้วยเงินแทนที่จะเป็นความอยากรู้อยากเห็น เพราะการขาดคุณธรรมประจำใจของเขาเองที่นำหายนะมาสู่เขาและผู้อื่น อย่างเช่น ครั้งหนึ่ง เมื่อเขาโดนจับ เขากลับทิ้งเพื่อนของเขา รวมทั้ง Kevin Poulsen เพื่อเจรจาต่อรองกับ FBI เพื่อที่จะเปิดโปง ทำให้เขาได้รับการปล่อยตัว ต่อมาภายหลังได้หนีไป และก่ออาชญากรรมเช่นเดิม
ที่มาจาก เว็บโซนไอที

วันจันทร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2554

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 3

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 3
1. วัตถุประสงค์ของการวางแผนระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์ คืออะไร
                - เพื่อสร้างความได้เปรียบเหนือคู่แข่งขัน และนำมาใช้สนับสนุนการดำเนินงานในเชิงรุก
2. จงอธิบายแนวโน้มของการเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต
                แนวโน้มในด้านบวก
1. การพัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่เชื่อมโยงกันทั่วโลก ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ช่องทางการดำเนินธุรกิจ เช่น การทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การผ่อนคลายด้วยการดูหนัง ฟังเพลง และบันเทิงต่างๆ เกมออนไลน์
2. การพัฒนาให้คอมพิวเตอร์สามารถฟังและตอบเป็นภาษา พูดได้ อ่านตัวอักษรหรือลายมือเขียนได้ การแสดงผลของคอมพิวเตอร์ได้เสมือนจริง เป็นแบบสามมิติ และการรับรู้ด้วยประสาทสัมผัส เสมือนว่าได้อยู่ในที่นั้นจริง
3. การพัฒนาระบบสารสนเทศ ฐานข้อมูล ฐานความรู้ เพื่อพัฒนาระบบผู้เชี่ยวชาญและการจัดการความรู้
4. การศึกษาตามอัธยาศัยด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-learning) การเรียนการสอนด้วยระบบโทรศึกษา (tele-education) การค้นคว้าหาความรู้ได้ตลอด 24 ชั่วโมงจากห้องสมุดเสมือน (virtual library)
5. การพัฒนาเครือข่ายโทร คมนาคม ระบบการสื่อสารผ่านเครือข่ายไร้สาย เครือข่ายดาวเทียม ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ทำให้สามารถค้นหาตำแหน่งได้อย่างแม่นยำ
6. การบริหารจัดการภาครัฐสมัยใหม่ โดยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและเครือข่ายการสื่อสารเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการ ดำเนินการของภาครัฐที่เรียกว่า รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-government) รวมทั้งระบบฐานข้อมูลประชาชน หรือ e-citizen
                                แนวโน้มในด้านลบ
1. ความผิดพลาดในการทำงานของระบบ คอมพิวเตอร์ ทั้งส่วนฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ที่เกิดขึ้นจากการออกแบบและพัฒนา ทำให้เกิดความเสียหายต่อระบบและสูญเสียค่าใช้จ่ายในการแก้ปัญหา
2. การละเมิดลิขสิทธิ์ของทรัพย์สินทางปัญญา การทำสำเนาและลอกเลียนแบบ
3. การก่ออาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ การโจรกรรมข้อมูล การล่วงละเมิด การก่อกวนระบบคอมพิวเตอร์ 
3. จงยกตัวอย่างการใช้แผนกลยุทธ์ด้านสารสนเทศของอีคอมเมิร์ช
                - เช่น การปรับปรุงประสิทธิภาพพนักงานขาย การใช้อีคอมเมิร์ซแบบนี้ช่วยปรับปรุงการสื่อสารระหว่าง
4. หน่วยงานของรัฐบาลมีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในลักษณะใด
                - รัฐบาลปัจจุบันได้ให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการพัฒนา  และการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) มาใช้ในภาครัฐ (e-Government)  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หน่วยงานภาครัฐที่ให้บริการประชาชน  และภาคธุรกิจ   จะต้องเร่งดำเนินการพัฒนานำ ICT   มาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการเป็นรูปธรรมอย่างรวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำ ทันสมัยและโปร่งใส เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงสารสนเทศและการบริการภาครัฐอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน ขณะเดียวกันสามารถนำ ICT มาใช้ เพื่อทำการปฏิรูประบบบริหารองค์กรของรัฐให้ได้เป้าประสงค์ของการบริการที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล  
5. จงระบุถึงผลประโยชน์ที่องค์กรควรจะได้รับ อันสืบเนื่องมาจากการเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่มีความสอดคล้องกับกลยุทธ์ธุรกิจ
                - ผลของการใช้เทคโนโลยีได้ทำให้เกิดการพัฒนาในด้านต่าง ๆ อันมีประโยชน์ต่อมนุษย์มากมาย เช่น อุปกรณ์สำหรับใช้ในการตรวจและรักษาโรค โทรเลข โทรศัพท์ อุปกรณ์การสื่อสารต่าง ๆ การค้นพบคอมพิวเตอร์และการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ช่วยในการปฏิบัติงานของอุปกรณ์ต่าง ๆ ทางด้านการแพทย์ การสำรวจ การประมง การควบคุมอากาศยานและยานพาหนะ การใช้คอมพิวเตอร์ ควบคุมอุปกรณ์ต่าง ๆ ภายในสถานประกอบการอุตสาหกรรมและการใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information system) การพัฒนาระบบการชลประทานและการส่งน้ำเพื่อการเพาะปลูก การผลิตปุ๋ยเคมีและปุ๋ยชีวภาพ การปลูกพืช การเลี้ยงสัตว์ การทำประมง และการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการผลิตและการถนอมอาหาร และการใช้เทคโนโลยีในการผลิตเสื้อผ้าและเครื่องนุ่มห่ม
6. การจัดซื้อซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์ขององค์การขนาดเล็กจะต้องพิจารณาสิ่งใดบ้าง
                - องค์กรต่างๆ ที่จัดซื้อจัดหาซอฟต์แวร์ ลำดับแรกต้องระบุวัตถุประสงค์ และความต้องการให้ชัดเจนว่าต้องการอะไรจากซอฟต์แวร์นั้นๆ แล้วปล่อยให้ผู้ขายไม่ว่าจะเป็นโอเพนซอร์ซ หรือซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์เสนอราคาเข้ามา การจะเลือกซื้อซอฟต์แวร์ใดนั้นควรเลือกจากคุณสมบัติ, ความสามารถในการทำงาน, การทำงานร่วมกับระบบที่มีอยู่,ความปลอดภัย, ความคุ้มค่า รวมทั้งราคาในการเป็นเจ้าของ
7. ข้อได้เปรียบของการใช้บริการภายนอก เพื่อการพัฒนาระบบสารสนเทศขึ้นใช้ในองค์การ คืออะไร
                - องค์กรนั้น ๆ ลดภาระในการดูแลทรัพย์สินของระบบสารสนเทศ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง อุปกรณ์ของระบบเครือข่ายสื่อสาร เป็นต้น ซึ่งจะทำให้สามารถที่จะคำนวณถึงค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
                • องค์กรสามารถลดภาระในการวางแผนทางด้านเทคโนโลยีโดยจะวางแผนเฉพาะด้านนโยบายและการบริการใหม่ ๆ ที่ต้องการนำมาเป็นกลยุทธ์ในการแข่งขันในตลาดเท่านั้นไม่จำเป็นต้องนำประเด็นของการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีมาเป็นประเด็นสำคัญในการพิจารณา
                • ช่วยเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันขององค์กรให้มากขึ้น เนื่องจากการดำเนินการต่าง ๆ จะเกิดความสะดวก รวดเร็ว ประหยัด และมีประสิทธิภาพสูงในการตอบสนองการให้บริการใหม่ ๆ กับลูกค้า ซึ่งการลงทุนเองจะไม่สามารถตอบสนองต่อความยืดหยุ่นของดีมานด์ของตลาดได้ทันท่วงที
                • ช่วยเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันขององค์กรให้มากขึ้น เนื่องจากการดำเนินการต่าง ๆ จะเกิดความสะดวก รวดเร็ว ประหยัด และมีประสิทธิภาพสูงในการตอบสนองการให้บริการใหม่ ๆ กับลูกค้า ซึ่งการลงทุนเองจะไม่สามารถตอบสนองต่อความยืดหยุ่นของดีมานด์ของตลาดได้ทันท่วงที
                • องค์กรที่มีปัญหาทางด้านการควบคุมค่าใช้จ่ายของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ อาจเปลี่ยนแปลงมาใช้การ Outsource เพื่อควบคุมค่าใช้จ่าย อีกทั้งสัญญาการ Outsource ที่ดีจะทำให้ผู้ว่าจ้างมีความยืดหยุ่นในการขยายประสิทธิภาพของคอมพิวเตอร์เพื่อรองรับปริมาณงานที่เพิ่มขึ้นได้ โดยมีค่าใช้จ่ายตามที่ตกลงกัน
                • สามารถลดภาระในการพัฒนาบุคลากรขององค์กรให้อยู่มีความรู้ความชำนาญด้านเทคโนโลยีในการบริหารระบบสารสนเทศ กล่าวคือสามารถลดปัญหาพื้นฐานความรู้ของพนักงานที่ไม่เข้าใจ หรือไม่สามารถติดตามเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมใหม่ ๆ ได้ทัน หรือพนักงานอาจมีภาระงานมากจนทำให้ไม่สามารถติดตามเทคโนโลยีได้ทัน
                • ความต้องการให้พนักงานของตนไปทำงานอื่นที่มีประโยชน์ต่อองค์กรมากกว่าทำการดูแลบำรุงรักษาระบบสารสนเทศ
                • ไม่สามารถว่าจ้างบุคลากรที่มีทักษะบางด้านเข้ามาทำงานได้ เนื่องจากเงื่อนไขการจ้างไม่ดึงดูดใจบุคลากรเหล่านั้น หรือไม่สามารถที่จะดึงดูดใจให้บุคลากรเหล่านั้นทำงานอยู่กับองค์กรได้ในระยะยาว การ Outsource จะทำให้ไม่จำเป็นต้องเพิ่มบุคลากรในองค์กรเพิ่มขึ้นทำให้องค์กรมีขนาดที่เหมาะสมและสามารถบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                • การจัดจ้างนี้ มีสัญญาการจ้างระยะเวลาที่จะสิ้นสุด ดีกว่าการลงทุนเอง ซึ่งจะต้องเป็นการลงทุนในลักษณะถาวรต่อเนื่อง
                • สามารถกำหนดระดับของบริการ (Service Level) ได้ เช่นต้องการให้เสร็จสิ้นภายในเวลาเท่าใด ความผิดพลาดที่มีไม่ควรเกินอัตราหรือสัดส่วนเท่าใด การทำงานทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคในทุกช่วงของเวลา เป็นต้น ซึ่งจะเป็นการเพิ่มความพึงพอใจกับการให้บริการของฝ่ายงานสารสนเทศต่อทั้งผู้ใช้ภายในและภายนอกองค์กร
8. วิธีการพัฒนาระบบรูปแบบใด ที่สอดคล้องกับวิธีการพัฒนาระบบจากบนลงล่าง
                - วัฎจักรการพัฒนาระบบ  (System development life cycle : SDLC) เป็นวิธีการแบบดั้งเดิมที่ใช้พัฒนาระบบงานทีละขั้นตอน (Step) จากระดับบนไหลลงสู่ระบบล่างคล้ายกับน้ำตกที่ตกลงมาเป็นชั้น ๆ  (Walterfall)  หากการทำงานในขั้นตอนใดไม่ดีพอเราสามารถย้อนกลับไปตรวจสอบขั้นตอนก่อนหน้านี้ได้  แต่ไม่สามารถทำงานหลาย ๆ  ขั้นตอนควบคู่กัน (parallel)
9. วิธีการพัฒนาระบบแบบใด ที่เน้นความร่วมมือของผู้ใช้ในการพัฒนาระบบมากที่สุด
                - เลือกใช้  Prototyping เพราะผู้ใช้และผู้จัดการจะมีส่วนร่วมในทุก ๆ ขั้นตอนของกระบวนการพัฒนาระบบ   และการทำซ้ำ Prototyping   มีส่วนร่วมในการออกแบบ    ซึ่ง  Prototype  จะเป็นตัวกำหนดความต้องการข่าวสารของผู้ใช้ทางอ้อมไปในตัว  และ ระยะเวลาในการทำซ้ำ  Prototype  นั้นใช้เวลาสั้น  อีกทั้งการทำ prototype  ก็มักจะใช้ต้นทุนต่ำ
10. เพราะเหตุใดการใช้แบบจำลองน้ำตกจึงถือเป็นการพัฒนาระบบแบบดั้งเดิม
                - SDLC แบบ Waterfall มีหลักการเปรียบเสมือนกับน้ำตก ซึ้งไหลจากที่สูงลงที่ต่ำ และไม่สามารถไหลกลับมาในทางตรงกันข้ามได้อีก การพัฒนาระบบงานด้วยหลักการนี้ เมื่อทำขั้นตอนหนึ่งแล้วจะไม่สามารถย้อนกลับมาที่ขั้นตอนก่อนหน้าได้อีก ซึ่งจะมองเห็นจุดอ่อนของหลักการนี้ว่า หากมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นที่ขั้นตอนก่อนหน้านี้แล้ว จะไม่สามารถย้อนกลับมาแก้ไขได้ ดังนั้น การพัฒนาระบบด้วยหลักการนี้ จำเป็นต้องมีการวางแผนที่ดี เพื่อให้สามารถป้องกันการผิดพลาดได้มากที่สุด ซึ่งทำได้ยากมาก ยกเว้นระบบงานนั้นมีรูปแบบการพัฒนาที่ดี และตายตัวอยู่แล้ว
11. เทคนิคแผนภาพกระแสข้อมูลมักใช้ในขั้นตอนใดของการพัฒนาระบบ และมีประโยชน์ต่อผู้ใช้และทีมงานพัฒนาระบบอย่างไร
- แผนภาพกระแสข้อมูล (DFD) เป็นเครื่องมือที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในการเขียนแบบระบบใหม่ 
โดยเฉพาะกับระบบที่ หน้าที่ของระบบมีความสำคัญและมีความสลับซับซ้อนมากกว่าข้อมูลที่ไหลเข้า
                ประโยชน์ในการใช้แผนภาพกระแสข้อมูล
1.  ใช้ได้อย่างอิสระในการวิเคราะห์ระบบโดยไม่ต้องมีเทคนิคอื่นมาช่วย สามารถใช้สัญลักษณ์ต่าง ๆ แทนสิ่งที่วิเคราะห์มา
2.  สื่อที่ง่ายต่อการแสดงความสัมพันธ์ระหว่างระบบย่อยกับระบบใหญ่
3.  ช่วยให้การวิเคราะห์เป็นไปได้โดยง่าย และมีความเข้าใจตรงกันระหว่าง ผู้วิเคราะห์ระบบเอง หรือระหว่างผู้วิเคราะห์กับโปรแกรมเมอร์ หรือระหว่างผู้วิเคราะห์กับผู้ใช้ระบบ
4.  จะเห็นถึงข้อมูล และขั้นตอนต่างๆ เป็นแผนภาพการไหลของข้อมูล (Data flow diagram)
12. จงเขียนแผนภาพกระแสงานของระบบทะเบียนนักศึกษา ในส่วนของการลงทะเบียนเรียน การเข้าชั้นเรียน ตลอดจนการวัดและประเมินผลการเรียน

นักศึกษาลงทะเบียน                                    นักศึกษาเข้าชั้นเรียน                   สอบวัดผลภาคเรียน                                  
                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                             เส้นแบ่งเขตนักศึกษาและฝ่ายทะเบียน
 


อาจารย์รับใบลงทะเบียน             ฝ่ายทะเบียนบันทึก           ส่งข้อมูลรายชื่อ                    ข้อมูลของการเข้า                           ฝ่ายทะเบียน
และรับชำระเงิน                         ข้อมูลนักศึกษา                 ให้อาจารย์ประจำวิชา           ชั้นเรียนและผลการ
                                                                                                                                สอบวัดผล
อ้างอิง : รุจิจันทร์ พิริยะสงวนพงศ์. สารสนเทศทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2549.

บทความสารสนเทศ 7

ทำไมถึงมีคนเพียงไม่ถึง 10% ที่ทำเว็บไซต์ร้านค้าออนไลน์หรือเว็บไซต์ 
อีคอมเมิร์ชประสบความสำเร็จ ในขณะที่อีกกว่า 90% กลับล้มเหลว เหตุผลข้อนี้คนที่ทำอีคอมเมิร์ชประสบความสำเร็จเท่านั้นที่สามารถตอบได้ อย่างตรงจุด ส่วนมากจะทำเว็บไซต์ตามกระแสความนิยม เห็นคนอื่นเขาทำแล้วประสบผลสำเร็จขายได้ขายดีก็อยากจะทำบ้าง
แต่พอลงมือทำมันไม่ง่ายอย่างที่คิด ขายของบนดินก็ขายยากอยู่แล้ว นับประสาอะไรจะไปขายออนไลน์ ซึ่งผู้ซื้อไม่สามารถสัมผัสสินค้าได้และอื่นๆอีกหลายอย่างหลายปัญหาที่จะ ต้องพบเจอในวงการค้าออนไลน์
แต่การทำธุรกิจเว็บไซต์ร้าน ค้าออนไลน์ก็ไม่ใช่ว่าจะยากเย็นอะไร บุคลลทั่วไปก็สามารถประสบผลสำเร็จได้ แต่ต้องอาศัยฐานความรู้ความเข้าใจในแต่ละจุด ถือว่าเป็นของใหม่ที่ต้องอาศัยการศึกษาให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ โดยเริ่มต้นจากความตั้งใจของผู้ทำธุรกิจเอง ว่าจะทำธุรกิจเกี่ยวกับอะไร? มีความรู้เกี่ยวกับสินค้าหรือบริการที่จะทำดีหรือไม่? สินค้าและบริการที่จะนำไปขายบนออนไลน์มีจุดเด่นๆหรือจุดดีตรงไหน? กลุ่มลูกค้าในประเทศหรือต่างประเทศ? ฯลฯ
สิ่งเหล่านี้ต้องนำมาเป็น การบ้านวิเคราะห์ให้ออก เมื่อเข้าใจและทุกอย่างพร้อมแล้ว ก็มาเลือกว่าจะเขียนโปรแกรมสร้างเว็บไซต์เองหรือใช้บริการเว็บไซต์สำเร็จรูปหรือเว็บไซต์อัตโนมัติ ซึ่งทั้งสองอย่างก็มีจุดดีและจุดเสียไปกันคนละแบบ แต่ถ้าไม่ชำนาญในการเขียนโปรแกรมจริงๆ ขอแนะนำให้ใช้เว็บไซต์สำเร็จรูปจะดีกว่า เพราะเราไม่ต้องเสียเวลามานั่งเขียนโปรแกรมใดๆ โปรแกรมเมอร์หรือผู้ให้บริการจัดทำให้เรียบร้อยแล้ว เราไม่จำเป็นต้องมีความรู้ในการเขียนโปรแกรมก็สามารถสร้างเว็บไซต์ร้านค้าออ นไลน์ขึ้นมาได้ภายในไม่กี่ชั่วโมง
ปัจจุบันมีผู้ให้บริการเว็บไซต์สำเร็จรูปเป็น จำนวนมาก ต้องเลือกให้เป็นและให้เหมาะสมกับสินค้าหรือบริการของเรา ในราคาที่เหมาะสม ถ้ายังไม่เข้าใจตรงจุดนี้ก็ควรปรึกษากับผู้ที่มีประสบการณ์ในเรื่องเว็บไซต์ สำเร็จรูปจะเป็นการดี ทั้งนี้เพื่อป้องกันปัญหาต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต หลังจากคัดเลือกเว็บไซต์ได้แล้วก็มาถึงการคัดเลือกโดเมนเนมของชื่อเว็บไซต์
หลักการคัดเลือกโดเมน  ควรหาคำที่สั้นไม่ควรเกิน 3 คำ จำง่าย และสะกดง่าย พูดขึ้นมาสะกดได้เลยยิ่งเป็นการดี อาจจะมีความหมายกับธุรกิจได้ยิ่งเป็นการดี หลังจากคัดเลือกโดเมนได้เรียบร้อยแล้ว ก็มาถึงการสั่งซื้อเว็บไซต์ ( กรณีใช้บริการเว็บไซต์สำเร็จรูป ) ถ้าเขียนโปรแกรมเองก็ต้องไปเช่าโฮสหรือพื้นที่สำหรับรองรับเว็บไซต์ที่จะ สร้างขึ้นมา
การวางโครงสร้างในเว็บไซต์ที่สร้างขึ้น  การสร้างเว็บไซต์ก็ คล้ายๆกับการสร้างบ้าน ต้องมีการวางโครงสร้างทั้งภายนอกและภายในเว็บไซต์ เพื่อให้ออกมาตามที่ต้องการ การวางตำแหน่งเนื้อหาแต่ละจุดควรวางให้เหมาะสม
การสร้างเนื้อหาหรือคอนเทนท์ ต้องทำให้สอดคล้องกับสินค้าหรือบริการ ให้ข้อมูลที่ถูกต้องชัดเจน ข้อมูลดูและเข้าใจได้ง่ายไม่สลับซับซ้อน สีของเว็บไซต์ควรเป็นแบบพื้นๆ เว็บไซต์ควรเข้าง่าย โหลดง่าย รูปภาพหรือกราฟฟิคมีไม่มากจนเกินไป เพราะจะทำให้โหลดช้าลง ประชากรบนโลกออนไลน์เป็นประชากรที่มีสมาธิสั้น ไปง่าย มาง่ายหรือเข้าหาเราง่าย ขณะเดียวกันก็หนีไปจากร้านค้าของเราแบบง่ายๆได้เช่นกัน
เพราะฉะนั้นจุดก็คือทำอย่างไรจึงจะให้การบริการทุก ส่วนของเว็บไซต์เราโดนใจลูกค้า นั่นก็คือต้องเข้าเว็บไซต์ได้ง่าย ซื้อสินค้าหรือบริการได้ง่าย ข้อมูลแน่นและเข้าใจง่าย ค้นหาเว็บไซต์ได้ง่าย มูลค่าเว็บไซต์ไม่ได้อยู่ที่ความสวยงามหรือเลิศหรูอลังการ มันอยู่ที่จุดเด่นๆของเว็บไซต์นั้นต่างหาก เช่น Amazon , Yahoo , Alibaba, Google เป็นตัวอย่างที่ดี บางเว็บทำง่ายๆประเภทเด็กทำยังดูดีกว่า แต่ทว่าทำเงินให้เจ้าของอย่างมหาศาล ซึ่งมีให้เห็นอยู่บ่อยๆ
ดังนั้นจึงขอแนะนำว่า จงทำเว็บไซต์แบบธรรมดา ง่ายๆ แต่แฝงไว้ด้วยความไม่ธรรมดา นั่นก็คือต้องมีดีหรือจุดเด่นๆในเว็บไซต์ให้จงได้ ประการสำคัญควรเรียนรู้หรือหาประสบการณ์จากผู้รู้จริงๆในเรื่องการค้าออ นไลน์ชนิดรู้ทั้งซอกทุกมุมได้ยิ่งเป็นการดีมาก ทั้งนี้เพื่อป้องกันความเสี่ยงต่อการล้มเหลวในกลุ่ม 90% นี้เป็นเพียงกลยุทธ์ในการทำเว็บไซต์ร้านค้าออนไลน์บางส่วนเท่านั้น ยังมีเรื่องการโปรโมทเว็บไซต์เข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งสามารถหาดูได้จากหัวข้อ กลยุทธ์การโปรโมทเว็บไซต์ให้ประสบผลสำเร็จ
ที่มา : http://www.websiteselldomain.com

วันจันทร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2554

สรุปบทที่ 10

บทที่ 10
ระบบสารสนเทศยุคโลกาภิวัตน์
แนวคิดและวิวัฒนาการ
                1.ความหมาย
                คือ ระบบที่มีการเชื่อมโยงระบบสารสนเทศต่าง ๆ เข้าด้วยกัน โดยอาจจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีด้านเครือข่ายและสื่อสารข้อมูลเข้าร่วมด้วย เพื่อให้เกิดการแพร่กระจายสารสนเทศทั้งภายในและภายนอกองค์การ โดยเฉพาะในส่วนของกิจกรรมด้านโซ่อุปทานและการจัดการลูกค้าสัมพันธ์ การจัดการความรู้ ตลอดจนสารสนเทศเพื่อการจัดการและการตัดสินใจทางธุรกิจในระดับสูง
                2. วิวัฒนาการ
                เริ่มแรกธุรกิจไดนำระบบคอมพิวเตอร์ มาใช้เพื่อการจัดการงานตามสายงานของโซ่อุปทานเพื่อทดแทนการทำงานภายใต้ระบบมือที่ล่าช้าและมักเกิดข้อผิดพลาดบ่อย ต่อมาธุรกิจเริ่มตระหนักถึงปฏิสัมพันธ์ของระบบต่าง ๆ ภายใต้โซ่อุปทาน เช่น มีการตระหนักถึงงานด้านการจัดตารางการผลิต จึงมีการพัฒนาแบบจำลองด้านการวางแผนความต้องการซื้อวัสดุ อันส่งผลถึงการลดต้นทุนการดำเนินงานและการเพิ่มสมรรถนะของระบบคอมพิวเตอร์ ดังนั้น จึงมีการพัฒนาโปรแกรมการวางแผนความต้องการวัสดุ (MRP) เพื่อใช้ประโยชน์ในการลดระดับสินค้าคงคลัง
                วิวัฒนาการต่อไป คือ การบูรณาการระบบสารสนเทศตามหน้าที่งานของธุรกิจเข้าด้วยกัน ซึ่งนำไปสู่การวางแผนทรัพยากรองค์การ (ERP) โดยมีฟังก์ชันการทำงานที่เพิ่มขึ้นของ MRP II ด้วย การเชื่อมต่อระบบประมวลผลธุรกรรม (TPS) เข้ากับระบบสารสนเทศตามหน้าที่งานแนวไขว้ทั่วทั้งองค์การ
                3. การบูรณาการด้านซอฟต์แวร์
                3.1 การบูรณาการภายในองค์การ คือ การรวมตัวของระบบประยุกต์ต่าง ๆ และฐานข้อมูลภายในบริษัท เช่น การสั่งซื้อ การจัดการลูกค้าสัมพันธ์ การใช้ระบบเบ็ดเสร็จ มีผลให้เกิดความซับซ้อนมากขึ้น
                3.2 การบูรณาการภายนอกองค์การ คือ การรวมตัวกันของระบบประยุกต์และฐานข้อมูลระหว่างองค์การและหุ้นส่วนธุรกิจ เช่น การแสดงบัญชีรายการสินค้าของผู้ขาย การติดตั้งระบบจัดหาอิเล็กทรอนิกส์ของผู้ซื้อ เป็นต้น
ระบบวิสาหกิจ
                คือ ระบบสารสนเทศที่เป็นตัวแทนของระบบสารสนเทศยุคโลกาภิวัตน์ ซึ่ง Turban et al. ( 2006, p.295) ได้ให้คำจำกัดความ ระบบวิสาหกิจ หมายถึง ระบบหรือกระบวนการที่มีความเกี่ยวข้องกับขอบเขตงานทั่วทั้งองค์การหรืองานในหน้าที่หลักขององค์การ และมักถูกจำกัดขอบเขตในแต่ละแผนก
                O’brien ( 2005, p.214) ได้กล่าวไว้ว่า การดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน หลายบริษัทมักเน้นถึงการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาระบบวิสาหกิจ ด้านหน้าที่งานแนวไขว้ คือ หน้าที่งานหนึ่ง อาจอยูในความรับผิดชอบร่วมกันของสองหน่วยงาน
                Laudon and Laudon (2005, p.336) ระบุถึงผลประโยชน์ที่องค์การจะได้รับจากการใช้ระบบวิสาหกิจที่มุ่งเน้นการบูรณาการกระบวนการทางธุรกิจต่าง ๆ ให้อยู่ภายใต้การทำงานของระบบเดียว
                มิติที่ 1 โครงสร้างองค์การ สามารถใช้ระบบวิสาหกิจ ช่วยสนับสนุนการปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์การและวัฒนธรรมองค์การให้ดีขึ้น
                มิติที่ 2 กระบวนการจัดการที่มุ่งเน้นการจัดการฐานความรู้ทั่วทั้งองค์การ ระบบวิสาหกิจช่วยสนับสนุนการปรับปรุงรายงานและการตัดสินใจที่ดีขึ้น
                มิติที่ 3 แพลตฟอร์มเทคโนโลยีที่มีการรวมตัวเป็นหนึ่งเดียว โดยการสร้างแหล่งจัดเก็บข้อมูลเบ็ดเสร็จ
                มิติที่ 4 ความสามารถในการประกอบธุรกิจ โดยการบูรณาการกระบวนการทางธุรกิจด้านการขยายการผลิต การเงิน และโลจิสติกส์เข้าด้วยกัน เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า
ระบบสารสนเทศด้านการจัดการโซ่อุปทาน
                โซ่อุปทาน หมายถึง สายงานด้านวัสดุ สารสนเทศและเงิน รวมทั้งบริการต่าง ๆ จากผู้จัดหาวัสดุซึ่งไหลผ่านโรงงาน โกดังสินค้า จนกระทั่งถึงมือของลูกค้า
                การจัดการโซ่อุปทาน หรือ เอสซีเอ็ม หมายถึง การวางแผนการจัดโครงสร้าง และการทำให้เกิดผลที่ดีที่สุดต่อกิจกรรมใด ๆ ของโซ่อุปทาน ซึ่งมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนแนวคิดด้านการจัดการโซ่อุปทาน
                โซ่อุปทานอิเล็กทรอนิกส์ คือ การจัดการโซ่อุปทานโดยใช้ในระบบอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งมักใช้ร่วมกับระบบบนเว็บ และยังมุ่งเน้นที่จะปรับปรุงประสิทธิภาพของโซ่อุปทานให้ดีขึ้น
                1. สายงานด้านโซ่อุปทาน
                Turban et al.(2006, p.295) ได้จำแนกถึงสายงานด้านโซ่อุปทานออกเป็น 3 รูปแบบ ดังนี้
                1.1 สายงานด้านวัสดุ หมายถึง ผลิตภัณฑ์ทางกายภาพทั้งหมด รวมถึงวัสดุและชิ้นส่วนการผลิตต่างๆ ซึ่งมักจะมีความเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์
                1.2 สายงานด้านสารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับความต้องการวัสดุ การลำเลียงวัสดุ การรับคำสั่งซื้อ การส่งคืนวัสดุ ตารางการจัดหาวัสดุ รวมทั้งข้อมูลด้านการเปลี่ยนแปลงแหล่งจัดเก็บข้อมูล
                1.3 สายงานด้านการเงิน หมายถึง ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการโอนเงิน การจ่ายเงิน สารสนเทศด้านบัตรเครดิตและการอนุมัติ ตารางการจ่ายเงิน ละการจ่ายเงินอิเล็กทรอนิกส์
                2. โครงสร้างและระดับชั้นของผู้จัดหา
                2.1 โครงสร้างของโซ่อุปทาน
                                2.1.1 แหล่งต้นทาง คือ แหล่งวัสดุภายในองค์การ หรือจัดกาจากผู้ขายวัสดุภายนอกองค์การ
                                2.1.2 แหล่งภายใน คือ แหล่งที่มีการบรรจุ การผลิตสินค้าและบริการเกิดขึ้น
                                2.1.3 แหล่งตามทาง คือ แหล่งกระจายวัสดุ โดยผู้แทนจำหน่ายภายนอกองค์การ
                2.2 ระดับของผู้จัดหา
                คือ องค์ประกอบหนึ่งของโซ่อุปทานซึ่งโดยปกติจะมีหลายระดับชั้น หรือมีเพียงระดับชั้นเดียวขึ้นอยู่แต่ละกระบวนการ ในบางกระบวนการที่ประกอบด้วยผู้จัดหาหลายระดับชั้น คือ ผู้จัดหารายหนึ่ง อาจประกอบด้วยผู้จัดหารรายย่อยเพียงหนึ่งรายหรือมากกว่าหนึ่งรายก็ได้ และผู้จัดหารายย่อยก็อาจมีผู้จัดหาย่อยของตนในอีกระดับถัดไป
                3. การออกแบบโซ่อุปทาน
                โดยมีการจำแนกรูปแบบของโซ่อุปทานออกเป็น 4 ประเภท คือ การผลิตเป็นสินค้าคลังแบบบูรณาการ การเติมเต็มสินค้าอย่างต่อเนื่อง การผลิตตามคำสั่ง และช่องทางการประกอบชิ้นส่วน นอกจากนี้ ยังควรต้องมีการออกแบบสายงานด้านสินค้าและบริการ สารสนเทศและทรัพยากรทางการเงิน รวมทั้งการออกแบบกระบวนการแปรรูปวัตถุดิบ ให้เป็นสินค้าสำเร็จรูปและการบริการที่มีประสิทธิผล สำหรับการออกแบบที่ดีจะต้องบรรลุเป้าหมายด้านลดความไม่แน่นอนและความเสี่ยงตามสายงานของโซ่อุปทาน
                4. ปัญหาด้านโซ่อุปทาน
                อาจมีสาเหตุจากภายในองค์การนั่นเอง อันเนื่องจากความยาวและความซับซ้อนของโซ่อุปทาน หรืออาจมีสาเหตุมาจากภายนอกองค์การ รวมทั้งกรณีที่มีพันธมิตรเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น บริษัทไม่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ สินค้าคงคลังมีปริมาณมาก และมีต้นทุนสูงเกินไป ในส่วนของสาเหตุปัญหาที่มักเกิดขึ้นในสายงานโซ่อุปทานมี 2 ประการ คือ
                ประการที่ 1 จากความไม่แน่นอน
                ประการที่ 2 จากความต้องการประสานงานในกิจกรรมที่หลากหลาย
                5. การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
                Turban et al. (2006, p.299) ได้ยกตัวอย่าง การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 5 วิธีการ คือ
                5.1 การแบ่งปันด้านสารสนเทศ ซึ่งช่วยแก้ปัญหาด้านโซ่อุปทานและความสามารถปรับปรุงการพยากรณ์ยอดขายได้เป็นอย่างดี โดยใช้ระบบสับเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เทคโนโลยีกรุ๊ปแวร์ และเอกซ์ทราเน็ต
                5.2 การใช้เทคโนโลยีด้านการกำหนดความถี่วิทยุ หรืออาร์เอฟไอดี โดยองค์การอาจให้ผู้จัดหารายใหญ่แนบป้ายระบุความถี่วิทยุติดกับแท่นวางสินค้าหรือกล่องสินค้า ในระหว่งาทางที่ขนส่งสินค้ามายังองค์การและใช้ป้ายนี้เป็นเครื่องมือสื่อสารข้อมูลการขนส่งสินค้าภายในองค์การ
                5.3 การเปลี่ยนโซ่อุปทานส้นตรงเป็นฮับ ซึ่งมีผลให้กระแสสารสนเทศไหลช้าลง ทางเลือกหนึ่งที่ช่วยแก้ปัญหาเรื่องนี้ คือ เปลี่ยนโซ่อุปทานเส้นตรงเป็นฮับ ในลักษณะของวงล้อจุดศูนย์กลาง
                5.4 ความร่วมมือด้านโซ่อุปทาน มักต้องการการประสานงานภายใต้กิจกรรมต่าง ๆ และมีการเชื่อมโยงกับโซ่อุปทาน หากธุรกิจใดประสานงานได้ประสบผลสำเร็จ ก็จะเคลื่อนย้ายสินค้าได้เร็วขึ้น
                5.5 โรงงานเสมือน ซึ่งม่งเน้นถึงการจัดหาแบบจำลองคอมพิวเตอร์ของโรงงาน ภายใต้การทำงานของโรงงานเสมือนจริง โดยการทดสอบการออกแบบโรงงานที่ถูกนำเสนอ การจำลองความสัมพันธ์กับผู้จัดหาและกระบวนการผลิต โดยจะต้องมีการเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน
                6. ประโยชน์ที่ได้รับ
                O’brien (2005. p.225) ได้ระบุถึงประโยชน์ของเอสซีเอ็มที่มีศักยภาพต่อธุรกิจ ดังนี้
                1. ธุรกิจสามารถดำเนินกิจกรรมภายใต้โซ่อุปทานได้อย่างรวดเร็ว
                2. ธุรกิจสามารถลดระดับสินค้าคงคลัง และนำไปสู่การลดต้นทุนการผลิต
                3. ธุรกิจสามารถส่งมอบสินค้าเข้าสู้ตลาด หรือถึงมือลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว
                4. ธุรกิจสามารถสร้างความสัมพันธ์เชิงกลยุทธ์กับผู้จัดหาและหุ้นส่วนธุรกิจ
ระบบสารสนเทศด้านการจัดการลูกค้าสัมพันธ์
                1. แนวคิดและความหมาย
                Turban et al. (2006, p.318) ได้ให้นิยามไว้ว่า
                การจัดการลูกค้าสัมพันธ์ หรือซีอาร์เอ็ม หมายถึง ความพยายามทั่วทั้งองค์การที่จะได้ลูกค้ามา อีกทั้งธำรงรักษาลูกค้านั้นไว้ โดยตระหนักว่าลูกค้า คือ แกนหลักของธุรกิจ โดยการมุ่งเน้นสร้างความสัมพันธ์ และการคงไว้ซึ่งความสัมพันธ์กับลูกค้าในระยะยาว ทั้งในส่วนของการเพิ่มมูลค่าให้ลูกค้าและบริษัท
                O’brien (2005, p.219) ได้ระบุถึงวัตถุประสงค์ 2 ข้อของซีอาร์เอ็ม ดังนี้
                ข้อที่ 1 เพื่อสนับสนุนให้องค์การและลูกจ้าง สามารถเผชิญหน้ากับลูกค้ารายบุคคลในทุก ๆ มุมมอง
                ข้อที่ 2 เพื่อสนับสนุนลูกค้ารายบุคคลให้มีภาพพจน์ที่ดีต่อบริษัท
                ระบบสารสนเทศด้านการจัดการลูกค้าสัมพันธ์ คือ ระบบที่มุ่งเน้นการใช้เครื่องมือของระบบประยุกต์ด้านซีอาร์เอ็ม โดย Turban et al. (2006, p.319) ได้จำแนกประเภท ดังนี้
                1.1 ระบบประยุกต์ด้านเผชิญหน้ากับลูกค้า เช่น ศูนย์บริการทางโทรศัพท์ แผนกช่วยเหลือ หน่วยขายอัตโนมัติ และการบริการภาคสนามอัตโนมัติ
                1.2 ระบบประยุกต์ด้านสัมผัสลูกค้า โดยลูกค้าจะมีปฏิสัมพันธ์โดยตรงกับระบบ และอาศัยหลักการบริการตนเอง
                1.3 ระบบอัจฉริยะด้านรวมศูนย์ลูกค้า มุ่งเน้นด้านการวิเคราะห์ผลลัพธ์ด้านการประมวลผลการดำเนินงาน และใช้ผลลัพธ์ที่ได้มาปรับปรุงระบบประยุกต์ต่าง ๆ
                2. รูปแบบของการจัดการลูกค้าสัมพันธ์
                Turban et al.(2006, p.319) ได้จำแนกออกเป็น 4 รูปแบบ ดังนี้
                2.1 ซีอาร์เอ็มเชิงกิจกรรม เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติการ การวิเคราะห์และความร่วมมือภายในองค์การ
                2.2 ซีอาร์เอ็มเชิงปฏิบัติการ เกี่ยวข้องกับหน้าที่งานด้านธุรกิจด้านการบริการลูกค้า การจัดการคำสั่งซื้อ การออกใบกำกับสินค้าและใบเรียกเก็บเงิน การขายและการตลาดอัตโนมัติ
                2.3 ซีอาร์เอ็มเชิงวิเคราะห์ เกี่ยวข้องกับกิจการด้านการจับ การจัดเก็บ การคัดเลือกกระบวนการ การแปลความหมาย รวมทั้งการรายงานข้อมูลลูกค้าให้ผู้ใช้ของบริษัททราบ
                2.4 ซีอาร์เอ็มเชิงร่วมมือ เกี่ยวข้องกับความจำเป็นด้านการสื่อสาร การประสานงาน และความร่วมมือระหว่างผู้ขายกับลูกค้า
                3. เทคโนโลยีด้านการจัดการลูกค้าสัมพันธ์
                3.1 ซอฟต์แวร์ซีอาร์เอ็ม จะรวบรวมมอดูลต่าง ๆ ของซอฟต์แวร์ที่ช่วยสนับสนุนธุรกิจและลูกจ้างทำงานอย่างรวดเร็วและสะดวกสบาย มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน มุ่งเน้นผลประโยชน์ของลูกค้าเป็นหลัก ซึ่ง O;brien (2005, p.220) ได้จำแนกประเภทซอฟต์แวร์ ดังนี้
                                3.1.1 การใช้ซอฟต์แวร์ด้านการติดต่อลูกค้า ซึ่งช่วยติดตามรอยข้อมูลด้นประวัติการติดต่อลูกค้าในอดีต และนำมาวางแผนการติดต่อลูกค้าในอนาคต เพื่อสนับสนุนงานขาย งานการตลาด
                                3.1.2 การใช้ซอฟต์แวร์ด้านการขาย เพื่อสนับสนุนด้านการค้นหาข้อมูลที่ใช้สนับสนุนการขาย ตลอดจนการจัดกิจกรรมการขาย ทั้งในส่วนการขายแนวไขว้ และการขายแนวขึ้นตรง
                                3.1.3 การใช้ซอฟต์แวร์ด้านการตลาด เพื่อสร้างแคมเปญการตลาดขายโดยตรงอย่างอัตโนมัติ และนำไปสู่การกำหนดเป้าหมายทางการตลาด ตลอกจนทำการวิเคราะห์ลูกค้า
                                3.1.4 การใช้ซอฟต์แวร์ด้านการบริการและสนับสนุนลูกค้า สำหรับการเข้าถึงข้อมูลของลูกค้าในทันที อีกทั้งยังมีการแบ่งปันสารสนเทศระหว่างพนักงานขายและนักการตลาดมืออาชีพ
                                3.1.5 การใช้ซอฟต์แวร์ด้านการธำรงรักษาลูกค้าและสร้างโปรแกรมความจงรักภักดี อีกทั้งยังมีการใช้ซอฟต์แวร์ช่วยสนับสนุนด้านเครื่องมือของการทำเหมืองข้อมูล
                3.2 การจัดการลูกค้าสัมพันธ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ อี-ซีอาร์เอ็ม เริ่มพัฒนาขึ้นตั้งแต่องค์การเริ่มใช้โปรแกรมค้นดูเว็บ อินเทอร์เน็ต และจุดสัมผัสอิเล็กทรอนิกส์ เช่น อีเมล เครื่องปลายทาง ณ จุดขาย ศูนย์บริการทางโทรศัพท์และการขายตรง ซึ่ง Turban et al. (2006, p.320) ได้จำแนกขอบเขตได้ 3 ระดับ คือ
                ระดับที่ 1 การบริการขั้นพื้นฐาน รวมถึงการบริการขั้นต่ำที่จำเป็นต้องมี
                ระดับที่ 2 ศูนย์บริการลูกค้า รวมถึงการติดตามรอยคำสั่งซื้อ
                ระดับที่ 3 การบริการด้านมูลค่าเพิ่ม ซึ่งเป็นบริการพิเศษ
                3.3 ระบบบริการลูกค้าบนเว็บ
                                3.3.1 ความสามารถด้านการค้นหาและเปรียบเทียบร้านค้าออนไลน์บนเว็บ
                                3.3.2. การเสนอผลิตภัณฑ์และบริการฟรี โดยใช้กลยุทธ์สร้างความแตกต่าง
                                3.3.3 การสั่งทำสินค้าละบริการ ใช้โครงร่างระบบการสั่งทำปริมาณมาก
                3.4 ซีอาร์เอ็มไร้สาย เช่น หน่วยขายอัตโนมัติเคลื่อนที่ และระบบริการลูกจ้างไร้สาย โดยให้บริการด้านสารสนเทศแก่ลูกจ้างในขณะปฏิบัติงาน ณ สำนักงานลูกค้า
                3.5 ศูนย์บริการทางโทรศัพท์ เช่น บริษัททุนแห่งหนึ่งใช้ศูนย์บริการทางโทรศัพท์เพื่อหารรายได้จากการบริการด้านการลงทุนจากลูกค้าในทุกวันทำการ
                4. ผลประโยชน์ที่ได้รับ
                1. ธุรกิจสามารถบ่งชี้ถึงลูกค้าและตั้งเป้าหมายที่ดีต่อลูกค้า ก่อให้เกิดกำไรสูงสุดตามมา
                2. ธุรกิจสามารถสะสมลูกค้าได้มากยิ่งขึ้น
                3. ธุรกิจสามารถรองรับความต้องการด้านผลิตภัณฑ์และบริการ
                4. ธุรกิจสามารถสร้างรายการติดต่อลูกค้าได้ทุกเมื่อ
                5. ธุรกิจสามารถให้การสนับสนุนที่สอดคล้องกับประสบการณ์ของลูกค้า
ระบบสารสนเทศด้านการวางแผนทรัพยากรองค์การ
                O’brien (2005, p.216) ได้ให้นิยามไว้ว่า ระบบสารสนเทศด้านการวางแผนทรัพยากรองค์การ หรือ อีอาร์พี คือ เทคโนโลยีหนึ่ง ซึ่งถือเป็นกระดูกสันหลังของธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งการประมวลผลธุรกรรมบริเวณกว้างของวิสาหกิจที่เชื่อมโยงกระบวนการทางธุรกิจค่าง ๆ เข้าด้วยกัน
                1. การบูรณาการระบวนการทางธุรกิจหลัก
                Laudon and Laudon (2005, p.332) ได้กล่าวไว้ว่า ระบบอีอาร์พี คือ ระบบวิสาหกิจหนึ่ง ซึ่งมีจุดมุ่งเน้นในส่วนของการบูรณาการ กระบวนการทางธุรกิจหลักขององค์การ โดยตี่งอยู่บนพื้นฐานของการเชื่อมโยงของมอดูลต่าง ๆ ของซอฟต์แวร์กับฐานข้อมูลรวมขององค์การ เริ่มตั้งแต่การเก็บรวบรวมข้อมูล การป้อนข้อมูลเข้าสู่ระบบประยุกต์ การริเริ่มใช้งานระบบอีอาร์พี จึงเปรียบเสมือนตัวเร่งให้ธุรกิจทำการปรับปรุงกระบวนการทางธุรกิจขององค์การให้ดีขึ้น
                2. วิธีปฏิบัติที่ดีที่สุด
                โดยซอฟต์แวร์จะนำเสนอทางเลือกที่เป็นแบบฉบับของธุรกิจประสบผลสำเร็จ หรือทางเลือกด้านวิธการแก้ปัญหาสำหรับการบรรลุวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ และมีการจัดทำแผนที่กระบวนการ เพื่อแสดงถึงขั้นตอนที่ต้องกระทำ
                3. วิวัฒนาการด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์
                ซอฟต์แวร์ด้านอีอาร์พี หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ซอฟต์แวร์เบ็ดเสร็จ ซึ่งมีการรวมตัวด้านการวางแผน การจัดการและการใช้ทรัพยากรทั่วทั้งองค์การ และประกอบด้วยชุดคำสั่งของระบบประยุกต์ ที่ครอบคลุมถึงการปฏิบัติงานประจำส่วนหลังอัตโนมัติ
                3.1 ซอฟต์แวร์อีอาร์พีรุ่นที่หนึ่ง มุ่งเน้นกิจกรรมภายในองค์การ ซึ่งมักจะเป็นงานประจำและงานที่ทำซ้ำ ๆ กันในทุกวันทำการ
                3.2 ซอฟต์แวร์อีอาร์พีรุ่นที่สอง มุ่งเน้นถึงการเพิ่มพลังอำนาจที่มีอยู่เดิมของระบบสารสนเทศ อีกทั้งยังเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการธุรกรรมและการตัดสินใจที่ดีขึ้น
                3.3 ซอฟต์แวร์อีอาร์พีรุ่นที่สาม มุ่งเน้นการรวมตัวเข้ากับการบริหารโครงการ ซึ่งเริ่มมีบทบาทมากขึ้นในส่วนกระบวนการธุรกิจที่เฉพาะเจาะจง
                4. การบูรณาการระบบสารสนเทศ
                4.1 การบูรณาการเข้ากับซอฟต์แวร์ด้านการจัดการโซ่อุปทาน ในการใช้ซอฟต์แวร์ด้านอีอาร์พีและเอสซีเอ็มร่วมกัน อาจพิจารณาได้จากงานด้านการประมวลผลคำสั่งซื้อ โดยซอฟต์แวร์ด้านอีอาร์พีจะมุ่งเน้นถึงวิธีการได้คำสั่งนั้นมาและทำคำสั่งนั้นให้บรรลุผล แต่ซอฟต์แวร์ด้านเอสซีเอ็มจะมุ่งเน้นความเป็นไปได้ของการได้มาซึ่งคำสั่งซื้อ
                4.2 การบูรณาการเข้ากับซอฟต์แวร์ของระบบวิสาหกิจอื่น ๆ โดยเฉพาะซอฟต์แวร์ของระบบอีคอมเมิร์ซและซีอาร์เอ็ม ซึ่งได้แพร่กระจายการใช้งานมากภายในองค์การขนาดเล็ก
                5. ผลประโยชน์ที่ได้รับ
                O’brien (2005, p.217) ได้กล่าวไว้ ดังนี้
                5.1 ด้านคุณภาพและประสิทธิภาพ อีอาร์พีจะสร้างกรอบด้นการบูรณาการและการปรับปรุงกระบวนการทางธุรกิจภายใน
                5.2 ด้านการลดต้นทุน อีอาร์พี จะช่วยลดต้นทุนการประมวลผลรายการค้า รวมทั้งต้นทุนด้านฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และการสนับสนุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
                5.3 ด้านการตัดสินใจ อีอาร์พี จะช่วยสนับสนุนสารสนเทศในส่วนหน้าที่งานแบบไขว้ภายใต้ผลการปฏิบัติงานของธุรกิจ เพื่อสนับสนุนผู้จัดการ
                5.4 ด้านความรวดเร็วของธุรกิจ สามารถนำพาองค์การสู่ความว่องไว และการปรับตัวทางธุรกิจ
ระบบสารสนเทศด้านการจัดการความรู้
                1. ความรู้
                รูปแบบที่ 1 ความรู้โดยชัดเจน มักเกี่ยวข้องกับความรู้ วัตถุประสงค์ เหตุผล และเทคนิค โดยมักอยู่ในลักษณะของนโยบาย คำชี้แนะกระบวนการ รายงาน กลยุทธ์ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ความรู้รั่วไหล
                รูปแบบที่ 2 ความรู้โดยนัย คือ การจัดเก็บประสบการณ์ความหยั่งรู้ ความมีไหวพริบ ความลับทางการค้า ตลอดจนการเรียนรู้ในองค์การ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ความรู้ฝังตัว ซึ่งมักจำกัดอยู่ในสมอง
                2. การจัดการความรู้
                เป็นกระบวนการหนึ่ง ซึ่งช่วยองค์การในการระบุ คัดเลือก รวบรวม เผยแพร่ และโอนย้ายสารสนเทศที่มีความสำคัญ ซึ่งความรู้เหล่านี้จะช่วยแก้ปัญหาอันเกิดจากการทำงานที่มักเกิดการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ โดยวัฏจักรด้านการจัดการความรู้มี 6 ขั้นตอน คือ
                ขั้นตอนที่ 1 การสร้างความรู้ ซึ่งกำหนดได้จากการกระทำของบุคคล
                ขั้นตอนที่ 2 การจับความรู้ โดยการคักเลือกความรู้ที่มีมูลค่าและสมเหตุสมผล
                ขั้นตอนที่ 3 การปรับความรู้ โดยมีการจัดบริบทความรู้ใหม่ที่นำไปปฏิบัติได้
                ขั้นตอนที่ 4 การเก็บความรู้ โดยการจัดเก็บความรู้ที่มีประโยชน์
                ขั้นตอนที่ 5 การจัดการความรู้ โดยการปรับปรุงให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ
                ขั้นตอนที่ 6 การเผยแพร่ความรู้ โดยนำเสนอความรู้ซึ่งถูกจัดให้อยู่ในรูปแบบที่บุคคลต้องการ
                3. ระบบการจัดการความรู้
                3.1 กลุ่มเทคโนโลยีด้านการสื่อสาร คือ สื่อกลางที่ยินยอมให้ผู้เข้าใช้เข้าถึงความรู้และสื่อสารความรู้นั้นกับบุคคลอื่นโดยเฉพาะผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งผ่านทางอีเมล อินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต
                3.2 กลุ่มเทคโนโลยีที่ใช้ร่วมกัน รียกอีกอย่างหนึ่งว่า กุ่มกรุ๊ปแวร์ คือ การปฏิบัติงานของกลุ่มงานหนึ่งที่สมาชิกมีการทำงานร่วมกันภายใต้เอกสารหนึ่งในเวลาเดียวกันหรือต่างเวลากัน
                3.3 กลุ่มเทคโนโลยีด้านการจัดเก็บและค้นคืนข้อมูล ซึ่งอาจอยู่ภายใต้ของการใช้ระบบจัดการฐานข้อมูลเพื่อการจับ จัดเก็บ และจัดการความรู้ส่วนต่าง ๆ โดยต้องการใช้กลุ่มเครื่องมือที่ต่างไปจากปกติ
                4. เทคโนโลยีด้านการจัดการความรู้
                4.1 ปัญญาประดิษฐ์ มักจะฝังตัวอยู่ในเคเอ็มเอส ไม่ว่าการฝังตัวจะกระทำโดยผู้ขายซอฟต์แวร์ หรือผู้พัฒนาระบบก็ตาม วิธีปัญญาประดิษฐ์ จะชี้ให้เห็นถึงความรู้ความชำนาญภายใต้เครื่องมือที่ใช้ดึงความรู้ออกมาอย่างอัตโนมัติและกึ่งอัตโนมัติโดยอาศัยส่วนต่อประสานซึ่งผ่านการประมวลผลภาษาธรรมชาติ ตลอดจนการค้นหาความรู้จากฐานความรู้ โดยใช้โปรแกรมตัวแทนอัจฉริยะเป็นเครื่องมือ คือ ระบบผู้เชี่ยวชาญ โครงข่ายเส้นประสาท ตรรกศาสตร์คลุมเครือ และโปรแกรมตัวแทนอัจฉริยะ
                4.2 โปรแกรมตัวแทนอัจฉริยะ คือ ระบบซึ่งช่วยเรียนรู้ละช่วยเหลืองานของผู้ใช้ในแต่ละวัน เพื่อคัดเลือกสารสนเทศที่ผู้ใช้มีความต้องการมากกว่า Turban et al. (2006, p.378-379) ได้ยกตัวอย่าง เช่น
                1. บริษัท ไอบีเอ็ม จำกัด เสนอโปรแกรมการทำเหมืองข้อมูลอัจฉริยะ สำหรับการค้นหา และวิเคราะห์ข้อมูล
                2. บริษัท คอนเวคติส จำกัด ใช้โครงข่ายเส้นประสาท เพื่อค้นหาข้อมูล และรูปภาพ
                4.3 การค้นหาความรู้ในฐานข้อมูล คือ กระบวนการซึ่งใช้ค้นหา และสกัดสารสนเทศที่มีประโยชน์จากข้อมูลและเอกสาร ซึ่งรวมงานด้านการสกัดความรู้ด้านต่าง ๆ ตลอดจนการเก็บเกี่ยวสารสนเทศ โดยมีการดำเนินการอย่างอัตโนมัติ และส่งออกข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว ข้อมูลเหล่านี้อาจถูกฝังลึกอยู่ภายในฐานข้อมูลขนาดใหญ่ โกดังข้อมูล หรือคลังความรู้
                4.4 ภาษาเอกซ์เอ็มแอล คือ ภาษาที่แสดงมาตรฐานของโครงสร้างข้อมูล เพื่อการประมวลผลข้อมูลผ่านระบบคอมพิวเตอร์ที่ต่างกันไป โดยไม่จำเป็นต้องใช้โปรแกรมประมวลผลซึ่งทำขึ้นเป็นกรณีพิเศษ วิธีนี้เหมาะสมกับการใช้ระบบประยุกต์ด้านอิเล็กทรอนิกส์ ประโยชน์ของภาษาเอกซ์เอ็มแอล นอกจากจะเป็นการประมวลผลข้อมูลอัตโนมัติและลดปริมาณงานที่เป็นกระดาษลงแล้ว ยังเป็นการสนับสนุนระบบพันธมิตรธุรกิจด้วย
                5. ศูนย์รวมความรู้วิสาหกิจ
                คือ ประตูที่เปิดเข้าสู่เคเอ็มเอส โดยมีวิวัฒนาการมาจากระบบสนับสนุนผู้บริหาร ระบบสนับสนุนกลุ่มร่วมงาน โปรแกรมค้นดูเว็บและระบบจัดการฐานข้อมูล นอกจากนี้ ยังใช้เป็นแหล่งรวบรวมสารสนเทศประเภทไม่มีโครงสร้างที่อยู่ภายในองค์การ โดยทีการใช้กลไกการทำงานร่วมกัน ซึ่งมีการบรรจุความรู้ในเครื่องแม่ข่าย
                6. การบูรณาการระบบสารสนเทศ
                Turban et al. ( 2006, p.378) ได้ยกตัวอย่างการบูรณาการระบบสารสนเทศ ดังนี้
                6.1 การบูรณาการเข้ากับระบบสนับสนุนการตัดสินใจ ระบบจะช่วยสนับสนุนด้านข้อมูลที่ใช้แก้ปัญหา โดยการนำเสนอความรู้ที่เกี่ยวข้องกับคำตอบของปัญหา
                6.2 การบูรณาการเข้ากับปัญญาประดิษฐ์ เช่น ความรู้ที่ถูกจัดเก็บอยู่ภายในฐานความรู้ถูกนำมาใช้ตามเงื่อนไขของ ถ้า-ดังนั้น-อื่นๆ โดยจะช่วยผู้ใช้ระบุถึงวิธีการที่จะนำความรู้จากระบบมาใช้
                6.3 การบูรณาการเข้ากับฐานจ้อมูลและระบบสารสนเทศอื่น โดยการปรับข้อมูลและสารสนเทศให้ทันสมัยมากขึ้น ตลอดจนมีการใช้ประโยชน์จากข้อมูลและสารสนเทศนั้น
                6.4 การบูรณาการเข้ากับซีอาร์เอ็ม คือ การใช้โปรแกรมแผนกช่วยเหลือเพื่อสนับสนุนงานในส่วนที่เกี่ยวข้องกับลูกค้า
ระบบสารสนเทศด้านอัจฉริยะทางธุรกิจ
                1. ความหมาย
                Turban et al. (2006, p.422) ได้ให้นิยามไว้ว่า อัจฉริยะทางธุรกิจ คือ ระบบประยุกต์ประเภทหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วย การใช้เทคนิคด้านการรวบรวม การจัดเก็บ การวิเคราะห์ รวมทั้งการสนับสนุนการเข้าถึงข้อมูลโดยผู้ใช้สารสนเทศ เพื่อช่วยสนับสนุนงานด้านการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ ให้เกิดประสิทธิผลเพิ่มขึ้น โดยมีการจัดเก็บและเรียกใช้ข้อมูลจากโกดังข้อมูล
                Gelinas et al. (2004, p.149) ได้ให้นิยามไว้ว่า อัจฉริยะทางธุรกิจ คือ ระบบสารสนเทศที่ใช้สนับสนุนการตัดสินใจของผู้จัดการสำหรับปัญหาที่ไม่มีโครงสร้าง เพื่อการค้นคืนและการวิเคราะห์ข้อมูลตลอดจนแปลความหมายสารสนเทศที่เป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจ โดยระบบจะสามารถโต้ตอบกับผู้ใช้ อีกทั้งรองรับการสอบถามข้อมูลตามความต้องการ
                2.เครื่องมือและเทคนิค
                Turban et al. (2006, p.425) ได้จำแนกเครื่องมือด้านอัจฉริยะทางธุรกิจเป็น 2 กลุ่มหลัก ดังนี้
                กลุ่มที่ 1 การค้นพบความรู้ และสารสนเทศ โดยนำความรู้และสารสนเทศที่ได้รับมาใช้สนับสนุนการตัดสินใจของกลุ่มที่ 2
                กลุ่มที่ 2 การสนับสนุนการตัดสินใจและการวิเคราะห์เชิงอัจฉริยะ โดยการใช้ซอฟต์แวร์ด้านระบบอัจฉริยะเป็นเครื่องมือ ทั้ง 2 กลุ่มข้างต้นจะใช้เครื่องมือและเทคนิค
                3. การประยุกต์ใช้งาน
                3.1 การใช้บีไอด้านการวิเคราะห์สารสนเทศ โดยนักวิเคราะห์ จะสามารถปฏิบัติการสอบถามข้อมูลหลายระดับชั้น โดยการเชื่อมโยงกับฐานข้อมูลและออกรายงานเจาะลึกรายละเอียด เพื่อค้นหาสาเหตุที่สินค้าบางรายการถูกจัดเก็บในคลังสินค้ามากเกินความจำเป็น หรือค้นหาสินค้าขายดี โดยใช้ข้อมูลขายของงวดก่อนหน้านี้ Turban et al. (2006, p.424)
                3.2 การใช้บีไอเพื่อการพยากรณ์ยอดขาย พิซซ่าฮัท ใช้บีไอ เพื่อนำเสนอความต้องการของลูกค้าในรูปแบบของพิซซ่า กาใช้คูปองของลูกค้า ตลอดจนเวลาที่สั่งซื้อ โดยผู้จัดการการตลาดสามารถใช้บีไอ เพื่อช่วยพยากรณ์ความเป็นไปได้ในการสั่งซื้อพิซซ่าครั้งต่อไป และกำหนดกลยุทธ์การตลาดที่มุ่งชักนำให้ลูกค้าซื้อมากขึ้น Turban et al. (2006, p.423)
อ้างอิง : รุจิจันทร์ พิริยะสงวนพงศ์. สารสนเทศทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2549.