Powered By Blogger

วันศุกร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

บทความสารสนเทศ 5

ความรักออนไลน์

          ทุกวันนี้เรามักได้ยินได้เห็นมาอย่างต่อเนื่องว่ามีผู้พบรักทางอินเตอร์เน็ต เป็นจำนวนมาก การหาคู่ทางอินเตอร์เน็ต กลายเป็นสื่อกลางที่มีประสิทธิผลมากที่สุดวิธีหนึ่ง ปัจจุบันยังรูปแบบการหาคู่บนอินเตอร์เน็ตอย่างมากมายทั้งที่อยู่ในรูปของ เว็บไซต์หาคู่ หรือผ่านการสนทนาออนไลน์โดยตรง
          เจฟฟ์ กาวิน อาจารย์จิตวิทยาของยูนิเวอร์ซิตี้ ออฟ บาทธ์ ในอังกฤษ ผู้เชี่ยวชาญด้านการหาคู่บนโลกไซเบอร์ สำรวจถึงการหาคู่ทางอินเตอร์เน็ตจำนวน 229 คน พบว่า อี-พาร์ทเนอร์ ที่คบหากันผ่านการรู้จักทางอินเตอร์เน็ตประมาณ 94% ยังคงคบหากันอยู่ภายหลังการพบปะกันครั้งแรกแล้ว โดยมีระยะเวลาเฉลี่ยของการคบหากันอย่างน้อย 7 เดือน และมีถึง 18% มีความสัมพันธ์ที่ยาวนานกว่า 1 ปี
          กล่าวโดยสรุป ก็คือ การสนทนาเพื่อหาคู่บนเน็ตนั้น นับว่าเป็นวิธีที่จะไปได้สวยในโลกยุคปัจจุบัน
          หากนำระบบวิธี สื่อสารออนไลน์ระหว่างการสนทนาออนไลน์กับการส่งอีเมล์แล้ว พบว่าโดยทั่วไปการสนทนาออนไลน์ยังมีข้อได้เปรียบมากกว่าอีเมล์ แต่ไม่ได้หมายความว่ายิ่งแชตกับคนหลายคนพร้อมๆ กันจะดีกว่าเสมอไป เพราะบางครั้งจะมีผลต่อความประทับใจของคู่สนทนา
          เนื่องจากหากไม่สามารถบริหารและจัดการเพื่อให้คุยกับหลายๆ คนได้ดีพอ ในลักษณะที่ "กาวิน" เรียกว่า "การบริหารความประทับใจ" แล้วล่ะจะทำให้เกิดผลต่อความประทับใจของคู่สนทนาทันที
          หากพิจารณาตามข้อเสนอแนะทำนองนี้แล้วหากคุณพบคนที่น่าสนใจแล้วล่ะก็ "จงคุยกับเขาทีละคน" บนโลกออนไลน์
          เป็นที่น่า สังเกตว่าการสนทนาหรือติดต่ออนไลน์นั้น จะยังไม่ค่อยแลกเปลี่ยนรูปถ่ายระหว่างคู่สนทนากันมากนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ "เว็บ แคม" โดยพบว่ามีการติดต่อออนไลน์โดยมีการส่งภาพผ่าน "เว็บ แคม" เพียง 9% เท่านั้น
          เหตุผลหลักก็ เป็นเรื่องง่ายๆ คือ แต่ละคนยังคงเหนียมอาย อีกทั้งแต่ละคนยังคิดว่าบางครั้งยังไม่จำเป็นที่จะต้องเห็นหน้ากัน ซึ่งบางครั้งการรับรู้แต่เพียงข้อความก็มีนัยที่สื่อถึงความพิเศษในตัวเอง ก็คงเหมือนสุภาษิตในสมัยก่อนที่มีคนพูดกันว่า "ไม่เห็นหน้าเจ้า เห็นหลังคาบ้านก็ยังดี" คนที่ถือคตินี้แต่งงานมีคู่ประสบความสำเร็จอยู่เป็นจำนวนมากเช่นกัน
          แม้ว่าสื่อออ นไลน์จะเริ่มเข้ามามีอิทธิพลต่อการสื่อสารรวมถึงการหาคู่รักบนอินเตอร์เน็ต แต่ก็ใช่ว่าวิธีฝากรักแบบเดิมๆ จะลดบทบาท และความสำคัญลงไปหมดซะทีเดียว ความโรแมนติกจากการได้อ่านจดหมายที่เขียนด้วยลายมือของคู่รักคู่ปราถนาของตน การส่งของขวัญ รวมถึงการสนทนาทางโทรศัพท์ ก็ยังคงมีส่วนในการสร้างเสริมสัมพันธ์รักให้ยาวนานได้เช่นกัน
          การปรากฎอยู่ ของสื่อรักหลากรูปแบบสะท้อนให้เห็นได้อย่างชัดเจนถึงความซับซ้อนในจิตใจของ มนุษย์ ในอันที่จะเติมเต็มหัวใจของกันและกันที่จะไม่มีวันเหือดแห้งไปในหมู่คนมีรัก
          บทสรุปของการ สำรวจการแสวงหาคู่ออนไลน์ของ "เจฟฟ์ กาวิน" ยังเปิดเผยอีกว่าคู่รักบนโลกออนไลน์ไร้พรมแดนยังนิยมฉลองวันครบรอบต่างๆ โดยใช้สื่อทางอินเตอร์เน็ตรูปแบบต่างๆ เช่น การส่งข้อความทางอินเตอร์เน็ต การส่งการ์ด เป็นต้น
          นั่นหมายความ ว่ายังมีโอกาสสำหรับธุรกิจใหม่ๆ ที่คิดและเสนอบริการรูปแบบใหม่ๆ บนโลกอินเตอร์เน็ตที่มุ่งเจาะเป้าหมายกลุ่มคู่รักออนไลน์เฉพาะอยู่อีกมาก เช่นกัน
          ผลการสำรวจนี้ จะถูกเสนอเพื่อตีพิมพ์ในวารสาร "บริติช เจอร์นัล ออฟ เพอร์ซัลนัล แอนด์ โซเชี่ยล รีเลชั่นชิป" เพื่อเผยแพร่แก่ผู้ที่สนใจต่อไปด้วย
ขอบคุณข้อมูลจาก http://sex.sanook.com

วันจันทร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

บทความสารสนเทศ 4

จุดอ่อนของโฆษณาออนไลน์ 
ไอดีซีซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาและวิจัยข้อมูลการตลาดได้ส่งผลการสำรวจโฆษณาออนไลน์ในภูมิภาคเอเชีย โฆษณาทางอินเตอร์เน็ตถูกมองว่าเป็นแหล่งที่ให้ข้อมูลได้ครบถ้วน แต่ค่อนข้างมีจุดอ่อนในเรื่องการกระตุ้นให้เกิดการตัดสินใจซื้อจากผู้บริโภค                                                     
โดยเฉลี่ยแล้วมากกว่า 60% ในกลุ่มผู้บริโภคระบุว่าโฆษณาทางอินเตอร์เน็ตสามารถให้ข้อมูลข่าวสารได้ครบถ้วนและมากกว่าการโฆษณาผ่านสื่อโทรทัศน์และสิ่งพิมพ์ แต่เมื่อพิจารณาพฤติกรรมหลังจากนั้นแล้ว ผลการสำรวจได้ชี้ให้เห็นว่ากลุ่มผู้บริโภคมีแนวโน้มที่จะเรียกหาการโฆษณาผ่านสื่อโทรทัศน์ซึ่งมีความเพลิดเพลินมากกว่า และทำให้มีความต้องการมากกว่าที่จะซื้อผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในโฆษณามากกว่า                                   
การสำรวจครั้งนี้ได้ครอบคลุมทั้งกลุ่มผู้บริโภค และกลุ่มบริษัทต่างๆในภูมิภาคเอเชีย เมื่อเดือนเม.ย. 2551 ด้วยการสัมภาษณ์ 302 บริษัทจาก 5 ประเทศในเอเชีย และกลุ่มผู้บริโภคอีก 857 คน ใน 8 ประเทศ เพื่อประเมินผลกระทบจาก เว็บ 2.0 ที่มีต่อกลุ่มผู้บริโภคและกลุ่มบริษัทต่างๆในเอเชีย                                       
สื่อโฆษณาออนไลน์กลายเป็นหนึ่งในรายได้ที่สำคัญให้กับเว็บไซต์หลายๆแห่งในเอเชีย แต่ขณะที่อินเตอร์เน็ตสร้างโอกาสอย่างมหาศาลให้กับนักการตลาดในการเจาะกลุ่มเป้าหมายละสร้างสัมพันธ์กับกลุ่มเป้าหมาย แต่มันก็ยังคงถูกมองว่าเป็นสื่อที่เปราะบาง                                                          
ในขณะที่โฆษณาทางออนไลน์ถูกมองว่าสามารถให้ข้อมูลได้ครบถ้วนดีกว่าสื่อโทรทัศน์ แต่ผู้รับข้อมูลจะต้องพบกับข้อมูลที่อัดแน่น สิ่งนี้อาจมองว่าเป็นตัวที่ก่อให้เกิดความรำคาญและไม่สนุกสนานเท่ากับสื่อโทรทัศน์หรือสิ่งพิมพ์     มากกว่า 60% ของผู้ถูกสัมภาษณ์พบว่าเนื้อหาของสื่อโฆษณาในเชิงตลกขบขันเป็นสิ่งกระตุ้นความสนใจ ดังนั้น บริษัทที่ต้องการทำสื่อโฆษณาออนไลน์ควรจะผลิตภาพยนตร์โฆษณาในเชิงตลกขบขัน เพื่อช่วยกระตุ้นให้เกิดความน่าสนใจ ดังนั้น บริษัทที่ต้องการทำสื่อโฆษณาออนไลน์ควรจะผลิตภาพยนตร์โฆษณาในเชิงตลกขบขัน เพื่อช่วยกระตุ้นให้เกิดความน่าสนใจ                                    
สำหรับกลุ่มบริษัทต่างๆในเอเชีย ที่กำลังใช้สื่อโฆษณาผ่านทางออนไลน์บริษัทผู้ถูกสัมภาษณ์ส่วนใหญ่ชี้แจงว่า ได้ตัดสินใจผลิตสื่อโฆษณาออนไลน์เพราะเป็นสื่อที่มีประสิทธิภาพและค่าใช้ จ่ายถูกกว่า อีกทั้งการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ตรงกว่าการใช้สื่อโฆษณาแบบเดิมๆ แต่เนื่องด้วยสื่อโฆษณาออนไลน์ส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค ค่อนข้างต่ำ ทำให้บริษัทเชื่อว่าอาจจะกำลังสูญเสียทรัพยากรสำคัญขององค์กร และขณะที่บริษัทโฆษณายังถูกพิจารณาว่าเป็นสิ่งจำเป็นเสมอเมื่อต้องการที่จะ ทำโฆษณาแบบไม่ออนไลน์ แต่ก็มีเพียงร้อยละ 20 ของบริษัทที่ร่วมการวิจัยกล่าวว่าพวกเขาจะทำโฆษณาออนไลน์ตามคำแนะนำของบริษัทโฆษณา                                                                                                        
การวิจัยชี้ให้เห็นว่าบริษัทจำเป็นจะต้องพิจารณาให้รอบคอบมากขึ้นเมื่อจะต้องเลือกใช้วิธีการโฆษณา แบบออนไลน์เพื่อที่จะได้รับความสำเร็จจากแผนงานโฆษณาออนไลน์อย่างดี และบางทีบริษัทรับทำก็น่าที่จะทำหน้าที่คำแนะนำได้ดีกว่าหากจะเลือกใช้ช่อง ทางนี้                                                             
http://www.bizcom.dusit.ac.th/Web_MIS/G1/G1_48232792082/G1_48232792082.htm

วันอังคารที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

กรณีศึกษา : ยาสีฟันเดนทิสเต้กับความสำเร็จในการใช้กลยุทธ์เจาะตลาดเฉพาะกลุ่ม

         ยาสีฟันเดนทิสเต้ ได้สร้างเซกเมนต์ Night Time หรือการใช้ยาสีฟันในช่วงเวลาก่อนนอน มีจุดขายในการช่วยลดแบคทีเรียในช่องปากระหว่างการหลับนอน
         เดนทิสเต้ได้พยายามผลักดันตัวเองเพื่อหลีกหนีสมรภูมิการแข่งขันในตลาดยาสีฟันระดับกลุ่มใหญ่ เพราะมีการใช้ประชาสัมพันธ์สื่อโฆษณาทางโทรทัศน์อย่างไม่อั้น
         สิ่งที่เดนทิสเต้นำมาสร้างเป็นจุดขาย คือ เรื่องการระงับกลิ่นปากจากการช่วยลดแบคทีเรียที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานอนหลับ ดังนั้น จึงได้หยิบเอากลยุทธ์การเจาะตลาดเฉพาะกลุ่ม ด้วยการสร้างตลาดเฉพาะกลุ่มขึ้นมาซ้อนอยู่บนตลาดกลุ่มใหญ่ พร้อมกับมุ่งเป้าไปยังคู่รักที่เพิ่งแต่งงานกัน
         การที่เดนทิสเต้ได้เข้ามาทำการตลาด ทำให้พฤติกรรมการใช้ยาสีฟันของคนไทยเปลี่ยน ซึ่งปัจจัยสำคัญที่ทำให้เดนทิสเต้ได้รับการตอบรับอย่างดี คือ การกำหนดตำแหน่งผลิตภัณฑ์ และนำปัญหาที่คนกังวลมากที่สุดมาเป็นจุดขาย (กลิ่นปากที่เกิดขึ้นในช่วงตื่นนอนตอนเช้า)
คำถามจากกรณีศึกษา
1. ทำไมยาสีฟันเดนทิสเต้ จึงหนีการเผชิญหน้าเพื่อแข่งขันโดยตรงกับยาสีฟันยักษ์ใหญ่
     - เพราะว่าบริษัทยักษ์ใหญ่ มีการทำโฆษณาประชาสัมพันธ์ทางโทรทัศน์ทีมีงบไม่อั้น จึงทำให้เดนทิสเต้ไม่อยากที่จะแข่งขันด้วย
2. เดนทิสเต้ได้นำกลยุทธ์อะไรเป็นตับขับเคลื่อน และทำไมจึงใช้กลยุทธ์ดังกล่าว
     - กลยุทธ์ที่ใช้ คือ กลยุทธ์เจาะตลาดเฉพาะกลุ่ม พร้อมมุ่งเป้าไปที่คู่เพิ่งแต่งงานกัน เหตุที่ใช้เพราะว่า เดนทิสเต้ต้องการสร้างความแตกต่างจากยาสีฟันยี่ห้ออื่น รวมทั้งใช้เป็นจุดขายของเดนทิสเต้อีกด้วย
3. ปัจจัยสำคัญอะไร ที่ยาสีฟันเดนทิสเต้ สามารถเข้ามามีส่วนแบ่งตลาดได้ในระยะเวลาอันสั้น
     - มีการกำหนดตำแหน่งผลิตภัณฑ์ที่ชัดเจน เพราะโดยส่วนใหญ่ยาสีฟันทั่วไป จะดูแลสุขภาพในช่องปากเป็นหลัก และช่วยระงับกลิ่นปาก แต่เดนทิสเต้ มีจุดขายในเรื่องการระงับกลิ่นปากจากการช่วลลดแบคทีเรียที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาหลับนอน อีกทั้งยังสามารถตอบโจทย์ที่ผู้บริโภคต้องการได้ คือ การมีลักษณะเด่นและความแตกต่าง
4. สมมติว่าท่านได้ีรับภาระหน้าที่ในการเจาะตลาดยาสีฟันยี่ห้อหนึ่ง ท่านจะใช้กลยุทธ์ใด และจะกำหนดตำแหน่งผลิตภัณฑ์ด้วยการใช้ลักษณะเด่นอะไรที่คิดว่ายังพอมีศักยภาพในการทำกำไร รวมทั้งสร้างความพึงพอใจกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย
     - กลยุทธ์การให้ข่าวสาร( Public Relation Strategy) เช่น การร่วมมือกับสื่อบางสื่อ เพื่อจัดเทศกาลในโอกาสพิเศษ
      - กลยุทธ์ การใช้พนักงานขาย (Personal  Strategy) เช่น คิดค้นโปรแกรมการให้ผลตอบแทนการขาย ( Incentive Program ) ใหม่ๆ เพื่อเป็นรางวัลแก่พนักงานขายที่ทำยอดขายตามเป้า
     - มีการกำหนดตำแหน่งผลิตภัณฑ์ โดยใช้เกณฑ์คุณภาพสูง ราคาสูง เพื่อให้ผู้บริโภคทราบว่า ยี่ห้อยาสีฟันชนิดนี้มีคุณประโยชน์และคุณค่าในสายตาผู้บริโภค
ที่มา : http://www.iimc.co.th/knowledge/8p.html



วันจันทร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

บทความสารสนเทศ 3

 การตลาดอินเทอร์เน็ต
เป้าหมายของการตลาดออนไลน์ (Internet Marketing) ก็คือการเรียกผู้ชมหรือ traffic เข้าเว็บ บล็อก เข้ามารู้จัก มาซื้อสินค้าและบริการใดก็แล้วแต่ที่ทำตลาดให้ได้มากที่สุด เมื่อมี traffic ทุกสิ่งที่ต้องการก็จะตามมา ไม่ว่าเป็นเงินทอง ชื่อเสียง หรือ แม้แต่การได้ความสุขเล็กๆ น้อยๆ ที่จะได้จากการแค่ได้เขียนบทความให้คนอื่นได้เอาข้อมูลไปทำให้เกิดประโยชน์ ก็ตาม
การตลาดออนไลน์จะรวมทุกเรื่องที่เกี่ยวกับการโปรโมท การโฆษณาบนอินเทอร์เน็ต หรือ โลกออนไลน์ทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการทำให้ Search Engine ค้นหาบริการสินค้าที่ต้องการโฆษณาให้ค้นหาได้ง่ายที่สุด ซึ่งมีเป้าหมายสูงสุดอยู่ที่การได้ขึ้นไปอยู่ในผลลัพธ์การค้นหาในหน้าแรกๆ บน Search Engine Result Page โดยเฉพาะบน Google Search ซึ่งเรียกว่า Search Engine Optimization (SEO) ที่จะรวมตั้งแต่การปรับแต่งโครงสร้างของเว็บไซต์ไปจนถึงกลยุทธ์ต่างๆ ในการทำให้ Search Engine ค้นหาเว็บเพจนั้นๆ ได้ง่ายที่สุด
ในวงการ Internet Marketing หนึ่งในกลยุทธ์นั้นก็จะหนีไม่พ้นเรื่องการฝากลิงก์ URL ที่อยู่ของเว็บ เช่น www.onlinemarketing.com ลิงก์นี้จะเป็นลิงก์ที่อยู่ของเว็บเพจที่คุณจะต้องเอาไปวางไว้ยังเว็บไซต์ ที่อื่นๆที่โด่งดังและมีผู้ชมมากมาย นั่นคือการตลาดออนไลน์ในแง่เทคนิคที่ได้ผลเร็วที่สุดและใช้กันมากที่สุด ในขั้นตอนการฝากลิงก์ คุณจะต้องนำเอาที่อยู่บล็อกของคุณนี้ก็อปปี้มาแล้วนำไปวางเป็นลิงก์ให้คลิ กได้จากที่บล็อกหรือเว็บอื่นๆนั่นเอง เหมือนเป็นการสร้างประตูโยงจากบ้านคนอื่นๆมาที่บ้านของคุณ ยิ่งคุณมีประตูทางเข้ามามาก และยิ่งประตูหรือลิงก์เหล่านั้นอยู่บนเว็บไซต์หรือบล็อกที่มีความนิยมอยู่ แล้ว บล็อกของคุณก็จะพลอยได้รับผลบุญจากการจัดอันดับเว็บของ Search Engine ให้คุณแจ้งเกิดได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น
เมื่อคุณมีลิงก์เข้ามามากๆจากบ้านคนอื่นที่มี traffic ดีๆมีคนเข้าวันละมากๆ Search Engine จะเห็นว่าบล็อกของคุณว่ามีความนิยมตามไปด้วย ทำให้จัดอันดับบล็อกของคุณให้อยู่บน Search Engine ตามความเหมาะสมที่สุดได้ง่ายขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณเพิ่งสร้างบล็อกเสร็จวันนี้ และอยากให้บล็อกของคุณเข้าไปอยู่บน Search Engine ภายในวันสองวัน สิ่งที่คุณต้องทำก็แค่ฝากลิงก์แค่ลิงก์เดียวจากเว็บบอร์ดหรือเว็บอะไรก็ได้ ที่มีคนเข้าออกวันละมากอย่างเป็นร้อยเป็นพัน
นอกจากนั้น กลยุทธ์ของการตลาดออนไลน์ในแง่ของ SEO ก็จะต้องอาศัยเนื้อหาที่ดี ในจำนวนยิ่งมากยิ่งดี เพราะ Search Engine ค้นหาเว็บเพจได้จากเนื้อหาและคำต่างๆ ที่คนใช้ค้นหากันที่เกรียกว่า Keyword การมีเนื้อหาที่ดีมีประโยชน์ในจำนวนมากๆ บวกกับ keyword density (จำนวนคีย์เวิร์ดที่อยู่ในบทความ) และโครงสร้างของบล็อกถูกสร้างมาเพื่อให้ระบบ Search Engine ล้วนเพิ่มค่าของเว็บไซต์หรือบล็อกในสายตาของ Search Engine ทุกที่ การฝากลิงก์ถือว่าเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดและขาดไม่ได้เลยในการทำตลาด บล็อก เพราะหลายครั้งจากที่ผมเห็นๆมา อย่างบล็อกที่มีบทความมั่วๆอ่านไม่รู้เรื่องหรือบทความก็อปปี้ชาวบ้านมา แต่ถ้ามีการฝากลิงก์มากพอ บางครั้งก็สามารถตบตา Search Engine ทำให้มันนึกว่าบล็อกคุณดีกว่าบล็อกที่มีบทความดีๆหรือบทความดั่งเดิมที่คุณ ไปก็อปเขามาซะอีกด้วยซ้ำ แล้วจัดอันดับใน Search Engine ให้อยู่เป็นลิงก์แรกหน้าแรกเลยก็เป็นไปได้เช่นกัน คุณสามารถหาความรู้เพิ่มเติมได้จากหนังสือมากมายที่มีเขียนออกมาในขณะนี้ เช่น ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับ SEO และการตลาดออนไลน์ทั้งหลาย หรือเว็บไซต์ให้ความรู้เกี่ยวกับการตลาดออนไลน์ หรือการหาเงินออนไลน์ด้วยการตลาดออนไลน์ และ SEO อย่าง digtalmoneylife [1] , makemany.com [2] และ http://www.thaiseoboard.com

สรุปบทที่ 4

บทที่ 4
ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการและการตัดสินใจ
แนวคิดและองค์ประกอบ
                1. แนวคิด
                ปัจจุบัน องค์การธุรกิจได้นำระบบสารสนเทศมาใช้ร่วมกับเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพสูงและต้นทุนการใช้งานต่ำ เช่น ระบบคอมพิวเตอร์ และระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต จึงก่อให้เกิดระบบสารสนเทศตามหน้าที่งาน ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการและระบบสารสนเทศสนับสนุนการตัดสินใจ
                อย่างไรก็ตาม องค์การยังตระหนักถึงการนำข้อมูลที่ได้รับจากระบบสารสนเทศมาใช้ เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจของผู้จัดการและผู้บริหารให้มีความถูกต้องและแม่นยำมากยิ่งขึ้น ดังนั้น องค์การจึงมีการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการและระบบสนับสนุนการตัดสินใจ ควบคู่ไปกับการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งการพาณิชย์เคลื่อนที่
                2. องค์ประกอบ
                2.1 ฐานข้อมูล หมายถึง หน่วยเก็บและรวบรวมข้อมูลที่มีประโยชน์ ซึ่งพร้อมสำหรับการให้บริการเรียกใช้ข้อมูลได้ทุกเวลาที่ผู้ใช้ต้องการ
                2.2 การสื่อสาร หมายถึง เครื่องมือที่ช่วยด้านการสรรหาข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ และส่งผ่านข้อมูลมาจัดเก็บในระบบคอมพิวเตอร์ที่เป็นเป้าหมาย เพื่อนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์
                2.3 เครือข่ายข้อมูล หมายถึง การเชื่อมโยงข้อมูลภายในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยการเชื่อมโยงระบบประยุกต์และฐานข้อมูลเข้าด้วยกัน
                2.4 การวิเคราะห์ข้อมูล หมายถึง กระบวนการที่ใช้วิเคราะห์และประมวลผลข้อมูลให้อยู่ในรูปของสารสนเทศที่นำมาใช้ในการตัดสินใจได้ทันที
                2.5 การพัฒนากลยุทธ์ หมายถึง กระบวนการกำหนดกลยุทธ์ด้านระบบสารสนเทศที่สอดคล้องกับกลยุทธ์ธุรกิจ ตลอดจนสภาพแวดล้อมของธุรกิจ
การจัดการ
                1. แนวคิดและความหมาย
                รอบบินส์และคูลเทอร์ (Robbins & Coulter, 2003, p.2) ได้ให้คำนิยามไว้ว่า การจัดการ คือ กระบวนการประสานงาน เพื่อช่วยให้บรรลุวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยใช้หลักการวัดผล ดังนี้
                ประสิทธิภาพ วัดได้จากทรัพยากรที่ใช้และผลผลิตที่ได้
                ประสิทธิผล วัดได้จากความสามารถในการบรรลุเป้าหมายขององค์การในระยะยาว
                สำหรับฟังก์ชันการจัดการ สามารถจำแนกได้ 5 ประการ ดังนี้
1.             การวางแผน เกี่ยวข้องกับการกำหนดเป้าหมาย กลยุทธ์ กรอบแนวคิด กระบวนการ ตลอดจนการประสานงานในกิจกรรมต่าง ๆ
2.             การจัดองค์การ เป็นการกำหนดกิจกรรมที่จะต้องทำ บุคลากรผู้รับผิดชอบ อำนาจหน้าที่ กลุ่มงาน รวมทั้งสายการบังคับบัญชา
3.             การจัดบุคคลเข้าทำงาน เป็นการจัดวางบุคคลให้เหมาะสมกับงานทั้งงานด้านคุณภาพของบุคคลและปริมาณแรงงานที่ต้องการ ตลอดจนการพัฒนาบุคคล
4.             การนำ เป็นการสั่งการหรือจูงใจให้ทุกฝ่ายทำงานร่วมกันอย่างเต็มความสามารถ เพื่อบรรลุเป้าหมายและประโยชน์สูงสุดขององค์การ
5.             การควบคุม เป็นการกำหนดเกณฑ์ และมาตรฐานงานเพื่อการตรวจสอบและประเมินผลการปฏิบัติงาน
                2. ผู้จัดการและผู้บริหาร คือ บุคคลที่ทำงานร่วมกับผู้อื่นโดยเป็นผู้ประสานงานในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ระหว่างแผนกงาน ทีมงาน และบุคคลภายนอกองค์การ
                2.1 ผู้บริหารระดับสูง คือ ผู้ที่ปฏิบัติงานอยู่ส่วนบนสุดของโครงสร้าง โดยรับผิดชอบด้านการจัดการเชิงกลยุทธ์ จัดทำแผนระยะยาวที่กำหนดทิศทาง เป้าหมาย กลยุทธ์ทรัพยากรและนโยบายองค์การ
                2.2 ผู้จัดการระดับกลาง คือ ผู้ปฏิบัติงานและรับผิดชอบสำหรับงานด้านการจัดการเชิงกลวิธี จัดทำแผนระยะปานกลางที่สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์และควบคุมการปฏิบัติงาน จัดอยู่ในระดับหน่วยธุรกิจ
                2.3 ผู้จัดการระดับล่าง คือ ผู้ปฏิบัติงานและรับผิดชอบงานด้านการจัดการเชิงปฏิบัติการ มีหน้าที่ควบคุมดูแลการทำงานของบุคคลผู้ปฏิบัติงาน จัดทำแผนปฏิบัติงานระยะสั้น เน้นสร้างผลงานที่เป็นรูปธรรม
                บทบาททั่วไปของผู้จัดการและผู้บริหารทั้ง 3 ระดับ ดังนี้
                ระดับที่ 1 ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
1.             การเป็นตัวแทนและภาพลักษณ์ที่เป็นรูปธรรมขององค์การ
2.             การเป็นผู้นำองค์การกระตุ้นพนักงานให้ร่วมแรงร่วมใจกับปฏิบัติหน้าที่
3.             การประสานงานกับบุคคล หรือกลุ่มบุคคล เพื่อสร้างความราบรื่นด้านการดำเนินงาน
                ระดับที่ 2 ด้านข้อมูลข่าวสาร
1.             การเป็นตัวกลางด้นการไหลเวียนข่าวสาร และติดตามตรวจสอบข้อมูล
2.             การเป็นผู้กระจายข่าวสารให้พนักงานรับทราบ
3.             การเป็นโฆษกที่ทำหน้าที่กระจายข่าวสารขององค์การไปสู่ภายนอก
                ระดับที่ 3 ด้านการตัดสินใจ
1.             การเป็นผู้ประกอบการ โดยการคิดค้นและสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ
2.             การเป็นนักแก้ปัญหาให้ลุล่วงไป และเป็นคนกลางคอยตัดสินปัญหา
3.             การเป็นผู้จัดสรรทรัพยากรซึ่งมีปริมาณจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด
การตัดสินใจ
                1. แนวคิดและความหมาย
                การตัดสินใจ คือ กระบวนการที่ใช้แก้ปัญหาที่เกิดจากการดำเนินการด้านต่าง ๆ ของธุรกิจ ตามลำดับขั้นตอน ดังนี้
                                ขั้นตอนที่ 1 ระบุปัญหาที่ต้องการแก้ไข
                                ขั้นตอนที่ 2 เลือกวิธีการแก้ปัญหา
                                ขั้นตอนที่ 3 เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อสร้างแบบจำลองการตัดสินใจ
                                ขั้นตอนที่ 4 ระบุทางเลือกที่ได้จากแบบจำลองการตัดสินใจ
                                ขั้นตอนที่ 5 ประเมินข้อดีและข้อเสียของแต่ละทางเลือก
                                ขั้นตอนที่ 6 เลือกและปฏิบัติตามแนวทางแก้ปัญหาที่ดีที่สุด
                2. แบบจำลองการตัดสินใจและการแก้ปัญหา
                Stair and Reynolds (2006, p.455) ได้กล่าวถึง เฮอร์เบิร์ต ไซมอน ว่าเป็นผู้พัฒนาแบบจำลองการตัดสินใจซึ่งเป็นที่ยอมรับทั่วไป ในเวลาต่อมา จอร์จ ฮูเบอร์ ได้ขยายแบบจำลองการตัดสินใจเป็นแบบจำลองการแก้ปัญหา รวมทั้งสิ้น 5 ขั้นตอน ดังนี้
                ขั้นตอนที่ 1 ขั้นอัจฉริยะ คือ ขั้นของจำแนกและนิยามถึงปัญหาและโอกาสทางธุรกิจไว้อย่างชัดเจน โดยเก็บรวบรวมข้อมูลที่สัมพันธ์กับสาเหตุและขอบเขตของปัญหา
                ขั้นตอนที่ 2 ขั้นออกแบบ คือ ขั้นของการพัฒนาทางเลือกของการแก้ปัญหาที่หลากหลายด้วยวิธีการต่าง ๆ เป็นขั้นการประดิษฐ์ พัฒนา และวิเคราะห์หาชุดปฏิบัติการ โดยอาจใช้ระบบสนับสนุนการตัดสินใจเป็นเครื่องมือสร้างชุดปฏิบัติการ
                ขั้นตอนที่ 3 ขั้นตัวเลือก คือ ใช้เครื่องมือสื่อสาร ช่วยคำนวณค่าใช่จ่ายและติดตามผลของการใช้ชุดปฏิบัติการนั้น และใช้ระบบสนับสนุนการตัดสินใจวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก
                ขั้นตอนที่ 4 ขั้นทำให้เกิดผล คือ ขั้นตอนการนำชุดปฏิบัติการที่เลือกไว้ไปใช้ให้เกิดผลลัพธ์
                ขั้นตอนที่ 5 ขั้นกำกับดูแล คือ ขั้นของการประเมินผลชุดปฏิบัติการที่ถูกนำไปใช้โดยผู้ตัดสินใจ และติดตามผลลัพธ์ อีกทั้งยังได้ทราบผลป้อนกลับ
                3. การจำแนกประเภท
                3.1 การตัดสินใจแบบมีโครงสร้าง เป็นการตัดสินใจของปัญหาที่เกิดขึ้นซ้ำ ๆ กันทุกวัน มีลักษณะเป็นงานประจำ สามารถเข้าใจได้ง่าย มักใช้กับการทำงานของผู้จัดการระดับล่าง
                3.2 การตัดสินใจแบบกึ่งโครงสร้าง เป็นการตัดสินใจซึ่งเกี่ยวกับเรื่องที่มักใช้กฎเกณฑ์เพียงบางส่วน จึงต้องอาศัยวิจารณญาณเข้าช่วย ร่วมกับการใช้สารสนเทศช่วยตัดสินใจ มักใช้งานกับผู้จัดการระดับกลาง
                3.3 การตัดสินใจแบบไม่มีโครงสร้าง เป็นการตัดสินใจกับเรื่องที่ไม่ค่อยเกิดขึ้นบ่อยนัก ไม่มีกรอบการทำงาน อาจมีการนำเสนอสารสนเทศบางส่วน มักใช้กับผู้บริหารระดับสูงในองค์การ
                4. รูปแบบการตัดสินใจ
                4.1 ระดับบุคคล เป็นระดับการตัดสินใจในส่วนการใช้แบบแผนการรับรู้ อธิบายถึงลักษณะนิสัยส่วนบุคคลในการตอบสนองต่อข่าวสาร
                                รูปแบบที่ 1 การตัดสินใจอย่างเป็นระบบ คือ การใช้วิธีศึกษาปัญหาอย่างมีระเบียบแบบแผน โดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูล และประเมินค่าข่าวสาร
                                รูปแบบที่ 2 การตัดสินใจโดยใช้สามัญสำนึก คือ การใช้วิธีการหลาบรูปแบบมาผสมผสานกัน ไม่มีการปะเมินข่าวสารที่รวบรวมได้
                4.2 ระดับองค์การ เป็นระดับการตัดสินใจที่ถูกกระทำโดยกลุ่มบุคคลภายในองค์การ ซึ่งให้ความสำคัญกับโครงสร้างและนโยบายเป็นสำคัญ
                                รูปแบบที่ 1 การตัดสินใจตามรูปแบบราชการ คือ รูปแบบที่ใช้ในองค์การที่ปฏิบัติงานต่อเนื่องมาหลายปีและแบ่งหน่วยงานออกเป็นหลายหน่วยย่อย แต่ละหน่วยจัดการกับปัญหาเฉพาะที่ตนเชี่ยวชาญเท่านั้น
                                รูปแบบที่ 2 การตัดสินใจตามรูปแบบการปกครอง คือ รูปแบบที่ใช้ในองค์การที่มีการยกอำนาจการปกครองอยู่ในมือบุคคลเพียงไม่กี่บุคคล อาจมีความคิดเห็นที่ขัดแย้งกันสำหรับการตัดสินใจ
                                รูปแบบที่ 3 การตัดสินใจตามรูปแบบถังขยะ คือ รูปแบบการตัดสินใจที่ไม่ได้อยู่บนพื้นฐานของการใช้เหตุผล มักเกิดขึ้นจากาความบังเอิญ
สารสนเทศเพื่อการจัดการและการตัดสินใจ
                ศุภิสราพร สุธาทิพยะรัตน์ (2548, หน้า 25) ได้ให้นิยามไว้ว่า สารสนเทศเพื่อการจัดการ คือ สารสนเทศที่ได้จากการสรุปข้อมูลจากฐานข้อมูลดำเนินงานขององค์การเพื่อให้เห็นภาพรวมและแนวโน้มทางการเงิน การตลาด และการผลิตของบริษัท ซึ่งมีคุณลักษณะที่ดี 7 ประการ คือ
                1.สารสนเทศที่ช่วยให้ผู้บริหารทราบสถานการณ์ปัจจุบัน หรือระดับผลงานที่ทำได้
                2. สารสนเทศด้านปัญหาจากการดำเนินงานและรายงานด้านโอกาสที่กำลังจะเกิดขึ้น
                3. สารสนเทศด้านการเปลี่ยนแปลงที่มักส่งผลให้การดำเนินงานของธุรกิจหยุดชะงัก
                4. สารสนเทศเกี่ยวกับแผนงานหรือโครงการใหม่ที่กำลังจะเริ่มต้นในอนาคต
                5. สารสนเทศที่แจ้งให้ทราบถึงผลดำเนินงานของธุรกิจ ทั้งในส่วนผลประกอบการ ส่วนแบ่งตลาด และยอดขายในช่วงฤดูกาลต่าง ๆ รวมทั้งผลดำเนินงานที่ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย
                6. สารสนเทศภายนอกเกี่ยวกับข้อคิดเห็น คู่แข่ง และการเปลี่ยนแปลงทางการเงิน การตลาด
                7. สารสนเทศที่แจกจ่ายออกสู่ภายนอก เพื่อแจ้งให้ผู้ถือหุ้นและผู้สื่อข่าวทราบ
                นอกจากนี้ Stair and Reynolds (2006, p.460) ได้จำแนกประเภทของสารสนเทศเพื่อการจัดการและการตัดสินใจออกเป็น 5 ประเภท ดังนี้
                1. รายงานตามกำหนดการ คือ รายงานที่ผลิตขึ้นตามงวดเวลาหรือตามตารางเวลาที่วางไว้ เช่น การใช้รายงานสรุปรายสัปดาห์ของผู้จัดการผลิต ซึ่งแสดงถึงต้นทุนเงินเดือนทั้งหมด เพื่อผลสำหรับการติดตามและควบคุมต้นทุนค่าแรงและต้นทุนงาน โดยมีการอกกรายงานวันละ 1 ครั้ง
                2. รายงานตัวชี้วัดหลัก คือ รายงานสรุปถึงกิจกรรมวิกฤติของวันก่อนหน้านี้ และใช้เป็นแบบฉบับของการเริ่มต้นกิจกรรมใหม่ ซึ่งจะสรุปถึงระดับสินค้าคงเหลือ กิจกรรมผลิต ปริมาณขาย โดยมักมีการนำเสนอต่อผู้จัดการและผู้บริหาร
                3. รายงานตามคำขอ คือ รายงานที่ถูกพัฒนาขึ้น เพื่อนำเสนอสารสนเทศตามที่ผู้ใช้ร้องขอ คือ การผลิตรายงานตามความต้องการของผู้ใช้ เช่น ผู้บริหารต้องการทราบสถานะของผลิตภัณฑ์เฉพาะรายการ
                4. รายงานตามยกเว้น คือ รายงานที่มักมีการผลิตขึ้นอย่างอัตโนมัติ เมื่อเกิดเหตุการณ์ผิดปกติหรือเกิดความต้องการพิเศษทางการจัดการ
                5. รายงานเจาะลึกในรายละเอียด คือ รายงานที่ช่วยสนับสนุนรายละเอียดที่เพิ่มขึ้นภายใต้สถานการณ์หนึ่ง เช่น มองยอดขายรวมของบริษัท แล้วค่อยมองข้อมูลในส่วนที่เป็นรายละเอียด
กระบวนการทางธุรกิจของระบบสารสนเทศ
                1. ระบบประมวลผลธุรกรรม
                Stair and Reynolds (2006, p.25) ได้ให้คำจำกัดความไว้ว่า คือ ชุดขององค์ประกอบต่าง ๆ เช่น บุคลากร กระบวนการ ซอฟต์แวร์ฐานข้อมูลและอุปกรณ์ ซึ่งถูกรวบรวมไว้อย่างเป็นระบบเพื่อนำมาใช้บันทึกรายการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจ ตลอดจนหน้าที่งานทางธุรกิจ
                ระบบพื้นฐานทางธุรกิจ ซึ่งมักถูกพัฒนาเป็นระบบคอมพิวเตอร์ระบบแรก คือ ระบบเงินเดือน สิ่งรับเข้า คือ จำนวนชั่วโมงแรงงานของลูกจ้างในช่วงหนึ่งสัปดาห์ และอัตราการจ้างเงินเดือน สิ่งส่งออก คือ เช็คเงินเดือน ระบบเงินเดือน
                2. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
                Laudon and Laudon (2005, p.46) ได้ให้นิยามไว้ว่า เป็นระบบที่ใช้สนับสนุนการทำงานของผู้จัดการระดับล่าง และระดับกลางเพื่อการนำเสนอรายงาน ข้อมูลทั่วไป ข้อมูลเฉพาะด้านและข้อมูลในอดีต มุ่งตอบสนองความต้องการของบุคลากรภายในองค์การมากกว่าความต้องการของหน่วยงานภายนอกองค์การ
                Stair and Reynolds (2006, p.27) ได้ให้นิยามไว้ว่า เป็นระบบที่พัฒนาขึ้น เพื่อการนำเสนอสารสนเทศประจำวันต่อผู้จัดการและผู้ตัดสินใจในหน้าที่งานต่าง ๆ จุดมุ่งหมาย คือ ประสิทธิภาพเบื้องต้นของการดำเนินงานด้านการตลาด การผลิต การเงินที่มีการเชื่อมโยงข้อมูลในฐานข้อมูลรวมขององค์การ
                เอ็มไอเอส เป็นเครื่องมือที่ช่วยสร้างความได้เปรียบเชิงการแข่งขันแกองค์กรธุรกิจ โดยการสนับสนุนด้านสารสนเทศที่ถูกต้อง จุดมุ่งหมาย คือ ให้การสนับสนุนด้านการบรรลุเป้าหมายของการบริหารงานในองค์การ เพื่อควบคุม จัดโครงสร้าง และวางแผนที่ได้ทั้งประสิทธิภาพและประสิทธิผล
                3. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
                3.1 แนวคิดและความหมาย
                Stair and Reynolds (2006, p.27) ได้ให้นิยามไว้ว่า ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ หรือ ดีเอสเอส เป็นระบบที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้สนับสนุนการตัดสินใจสำหรับการแก้ปัญหาเฉพาะเรื่อง จุดมุ่งหมาย คือ การตัดสินใจอย่างมีประสิทธิผล โดยเอ็มไอเอสจะให้การสนับสนุนองค์การทำสิ่งต่าง ๆ ให้ถูกต้อง
                Turban et al (2006, p.465) ได้ให้นิยามไว้ว่า คือ ระบบสารสนเทศบนพื้นฐานของการใช้คอมพิวเตอร์ ซึ่งมีการเก็บรวบรวมตัวแบบและข้อมูลเข้าด้วยกัน เพื่อแก้ปัญหากึ่งโครงสร้างและปัญหาไม่มีโครงสร้าง ซึ่งมักครอบคลุมการตัดสินใจของผู้ใช้ และเป็นระบบที่แสดงถึงแนวโน้มหรือปรัชญามากกว่าหลักการที่ถูกต้องแม่นยำ
                เหตุผลของการใช้ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ มีดังนี้
1.             ผู้บริหารเกิดความต้องการสารสนเทศใหม่ ๆ ที่มีความถูกต้องแม่นยำ
2.             การดำเนินธุรกิจภายใต้สภาวการณ์ทางเศรษฐกิจที่ไม่มีเสถียรภาพ ด้วยเหตุนี้ ระบบสารสนเทศที่มีเดิม มักไม่เพียงพอต่อการสนับสนุนเป้าหมายของธุรกิจ
3.             หน่วยงานระบบสารสนเทศ ไม่ค่อยรับรู้ถึงความต้องการที่หลากหลายของบริษัท ยังขาดฟังก์ชันด้านการวิเคราะห์ธุรกิจ ซึ่งจำเป็นต่อการบริหารและตัดสินใจ
4.             เกิดความเคลื่อนไหวของคอมพิวเตอร์ด้านผู้ใช้ขั้นปลาย
                3.2 สมรรถภาพของระบบ
                Turban et al (2006, p. 466) ได้ระบุถึงสมรรถภาพโดยรวมของระบบ ดังนี้
                1. สามารถใช้ดีเอสเอสได้ในทุกระดับชั้นของผู้บริหารไม่ว่าจะเป็นการตัดสินใจรายบุคคลหรือรายกลุ่มก็ตาม มักใช้กับปัญหากึ่งโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง
                2. สามารถใช้ดีเอสเอสได้ ทั้งในส่วนการตัดสินใจเชิงสัมพันธ์และเชิงลำดับ
                3. สามารถใช้ดีเอสเอสได้ทุก ๆ ระยะของกระบวนการตัดสินใจ
                4. ผู้ใช้สามารถปรับระบบให้เหมาะสมกับการใช้งานภายใต้เวลาและสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง
                5. ระบบที่ใช้มักง่ายต่อการสร้าง และสามารถใช้ได้หลายกรณี
                6. ระบบที่ใช้จะช่วยสนับสนุนการเรียนรู้ และการกลั่นกรองระบบประยุกต์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
                7. ระบบที่ใช้ประกอบด้วยตัวแบบเชิงปริมาณที่เป็นประโยชน์ต่อการวิเคราะห์ข้อมูล
                8. ระบบดีเอสเอสชั้นสูง มักถูกใช้เครื่องมือภายใต้การจัดการความรู้
                9. ระบบอาจถูกแพร่กระจายการใช้งานผ่านเว็บ
                10. ระบบอาจถูกใช้สนับสนุนการปฏิบัติ ด้านการวิเคราะห์ความไว
                3.3 ลักษณะเฉพาะของระบบ
                                3.3.1 การวิเคราะห์ความไว คือ การศึกษาผลกระทบของการใช้ตัวแบบในส่วนต่าง ๆ ของระบบ ที่สามารถตรวจสอบผลกระทบด้านการเปลี่ยนแปลงของตัวแปรนำเข้าที่มีต่อตัวแปรซึ่งเป็นผลลัพธ์ของการตัดสินใจ (Turban et al., 2006, p.466)
                                3.3.2 การค้นหาเป้าหมาย คือ กระบวนการกำหนดข้อมูลที่เป็นปัญหาซึ่งต้องการคำตอบของการแก้ปัญหานั้น (Stair & Reynolds, 2006,p.481)
                                3.3.3 การจำลอง โดยทำการสำเนาลักษณะเฉพาะของระบบจริง เช่น จำนวนครั้งของการซ่อมแซมส่วนประกอบของกุญแจ จะต้องคำนวณเพื่อกำหนดผลกระทบต่อจำนวนผลิตภัณฑ์ซึ่งสามารถผลิตได้ในแต่ละวัน
                3.4 โครงสร้างและส่วนประกอบของระบบ
                Turban et al. (2006, p.466) ได้ระบุไว้ว่า ส่วนประกอบของดีเอสเอส ควรประกอบไปด้วย
                                3.4.1 ระบบจัดการข้อมูล ข้อมูลที่ไหลเวียนจากหลาย ๆ แหล่ง และถูกนำมาสกัดเป็นข้อมูลเพื่อเข้าสู่ฐานข้อมูลของดีเอสเอส หรือโกดังข้องมูล
                                3.4.2 ระบบจัดการตัวแบบ โดยมักใช้ตัวแบบเชิงปริมาณสำหรับซอฟต์แวร์มาตรฐานด้านการเงิน สถิติ และวิทยาการจัดการ
                                3.4.3 ส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ ครอบคลุมถึงการสื่อสาระหว่างผู้ใช้ระบบในบางระบบที่ถูกพัฒนาอย่างชำนาญการ เช่น ความง่ายของการโต้ตอบกับระบบจะช่วยสนับสนุนให้ผู้จัดการและพนักขายเต็มใจใช้ระบบ
                                3.4.4 ผู้ใช้ขั้นปลาย คือ บุคคลผู้ซึ่งเผชิญหน้ากับปัญหาหรือการตัดสินใจ คือ ผู้จัดการหรือผู้ตัดสินใจนั่นเอง
                                3.4.5 ระบบจัดการความรู้ ใช้สำหรับการแก้ปัญหากึ่งโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง ซึ่งต้องการความรู้ความชำนาญมาช่วยหาคำตอบของปัญหาเหล่านั้น
                3.5 กระบวนการทำงาน ส่วนประกอบของดีเอสเอส คือ ซอฟต์แวร์ทั้งหมดที่ทำงานบนพื้นฐานของฮาร์ดแวร์มาตรฐาน เช่น มัลติมีเดีย โดยอาจใช้เครื่องมือ เช่น แผ่นตารางทำการ
                4. ระบบสนับสนุนผู้บริหาร
                Stair and Reynolds (2006, p.491) ได้ให้นิยามไว้ว่า ระบบสนับสนุนผู้บริหาร หรืออีเอสเอส  ในบางครั้งเรียกว่า ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง หรืออีไอเอส คือ ระบบซึ่งประกอบด้วย ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ข้อมูล กระบวนคำสั่ง และบุคลากร ที่ใช้สนับสนุนด้านการตัดสินใจของผู้บริหารระดับอาวุโส
                4.1 วิสัยทัศน์ อีเอสเอส คือ รูปแบบพิเศษของระบบที่ใช้เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารระดับสูง ตลอดจนการใช้เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ปัญหาด้านต่าง ๆ
                4.2 คุณลักษณะ
                                1. เป็นระบบเชิงโต้ตอบที่ถูกสั่งทำโดยผู้บริหารรายบุคคล
                                2. เป็นระบบที่ไม่ซับซ้อน ง่ายต่อการเรียนรู้และการใช้งาน
                                3. เป็นระบบที่มีความสามารถเจาะลึกในรายละเอียดของแหล่งข้อมูล
                                4. เป็นระบบที่สนับสนุนความต้องการข้อมูลภายนอกองค์การ
                                5. เป็นระบบสนับสนุนการตัดสินใจภายใต้สภาวการณ์ที่ไม่แน่นอน
                                6. เป็นระบบที่ใช้กำหนดทิศทางในอนาคตขององค์การ
                                7. เป็นระบบที่ถูกเชื่อมโยงด้วยมูลค่าเพิ่มของกระบวนการทางธุรกิจ
                4.3 สมรรถภาพของระบบ
                                4.3.1 การสนับสนุนด้านการกำหนดวิสัยทัศน์ขององค์การ เป็นงานหลักที่สำคัญของผู้บริหารระดับสูง
                                4.3.2 การสนับสนุนด้านการวางแผนกลยุทธ์ โดยใช้เครื่องมือกำหนดวัตถุประสงค์ระยะยาว วิเคราะห์จุดแข็งและจุดอ่อนขององค์การ
                                4.3.3 การสนับสนุนด้านการจัดการองค์การ และการจัดคนเข้าทำงาน ใช้วิเคราะห์ผลกระทบต่อการตัดสินใจด้านการจัดคนเข้าทำงาน การยกระดับการจ่ายเงินเดือน
                                4.3.4 การสนับสนุนด้านการควบคุมกลยุทธ์ เป็นเครื่องมือด้านการติดตามดูแลการดำเนินงานในภาพรวมขององค์การ การแสวงหาเป้าหมาย การจัดสรรทรัพยากร
                                4.3.5 การสนับสนุนด้านการจัดการเชิงวิกฤติ โดยองค์การอาจต้องเผชิญหน้ากับวิกฤติต่าง ๆ เช่น วิกฤติเศรษฐกิจ การเกิดพายุ น้ำท่วม เป็นต้น
เทคโนโลยีทางการจัดการ
                1. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจกลุ่ม
                Turban et al. (2006, p.470) ได้ให้นิยามว่า คือ ระบบพื้นฐานของการใช้คอมพิวเตอร์เชิงโต้ตอบ ที่อำนวยความสะดวกด้านการค้นหาคำตอบของปัญหากึ่งโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง ถูกนำมาใช้โดยกลุ่มตัดสินใจที่มุ่งเน้นการสนับสนุนกระบวนการตัดสินใจ
                Stair and Reynolds (2006, p.488) ได้ระบุคุณลักษณะสำคัญของจีดีเอสเอส ซึ่งจะนำมาลบล้างการปฏิบัติหน้าที่ของกลุ่มร่วมงานที่มักเกิดความขัดแย้งของกระบวนการกลุ่ม ดังนี้
                1. การไม่ระบุชื่อผู้นำเข้าข้อมูล
                2. การลดพฤติกรรมกลุ่มด้านการคัดค้าน
                3. การสื่อสารทางขนานตามวัฒนธรรมการประชุมแบบเดิม
                2.ห้องตัดสินใจ
                เป็นสถานการณ์ในอุดมคติ ซึ่งถูกติดตั้งในอาคารเดียวกันกับผู้ตัดสินใจหรือในพื้นที่ภูมิศาสตร์เดียวกัน และผู้ตัดสินใจ คือ ผู้ใช้เฉพาะกาลของจีดีเอสเอส โดยอีกทางเลือกหนึ่งของห้องตัดสินใจ คือ การรวมส่วนประกอบของระบบโต้ตอบด้วยวาจาแบบเผชิญหน้า ด้วยการรวมตัวของกลุ่มเทคโนโลยี
                3. ปัญญาประดิษฐ์
                หรือ เอไอ ซึ่งเป็นระบบลอกเลียนแบบคุณลักษณะอันชาญฉลาดของมนุษย์ Stair and Reynolds (2006, p.29) ได้ระบุไว้ว่า ปัญญาประดิษฐ์ จะประกอบด้วยสาขาย่อย เช่น วิทยาการหุ่นยนต์ ระบบภาพ การประมวลภาษาธรรมชาติ โครงข่ายประสาท ระบบการเรียนรู้ รวมทั้งระบบผู้เชี่ยวชาญ
                4. ระบบผู้เชี่ยวชาญ
                คือ ระบบคอมพิวเตอร์ที่สามารถแนะนำและกระทำการ ดังเช่น ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขานั้น ๆ มูลค่าพิเศษของระบบผู้เชี่ยวชาญ คือ การให้เครื่องมือในการจับและใช้ความรอบรู้ของผู้เชี่ยวชาญหรือผู้เชี่ยวชาญพิเศษ รวมทั้งใช้ในด้านการติดตามงานระบบงานที่ซับซ้อน เพื่อการบรรลุด้านมูลค่าเพิ่มหรือรายได้ที่เหมาะสมซึ่งจะถูกบรรจุไว้ภายในฐานความรู้
                5. ความเป็นจริงเสมือน
                คือ การจำลองความจริงและสภาพแวดล้อมที่ถูกคาดการณ์ขึ้นด้วยแบบจำลอง 3 มิติ Stair and Reynolds (2006, p.31) ได้กล่าวถึง โลกเสมือน คือ การแสดงระดับเต็มที่สัมพันธ์กับขนาดของมนุษย์ โดยการติดตั้งรูปแบบ 3 มิติ สำหรับอุปกรณ์รับเข้าของความเป็นจริงเสมือนที่หลากหลาย เช่น จอภาพบนศีรษะ ถุงมือข้อมูล ก้านควบคุม และคทามือถือที่เป็นตัวนำทางผู้ใช้ผ่ายสิ่งแวดล้อมเสมือน
อ้างอิง : รุจิจันทร์ พิริยะสงวนพงศ์. สารสนเทศทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2549.