Powered By Blogger

วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2554

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 10

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 10
1. จงอธิบายแนวคิดของระบบวิสาหกิจ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศต่าง ๆ ขององค์การ
                - ด้านหน้าที่งานแนวไขว้ คือ หน้าที่งานหน้าที่หนึ่ง อาจอยู่ในความรับผิดชอบร่วมกันของสองหน่วยงาน เช่น หน้าที่งานด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ อาจอยู่ในความรับผิดชอบร่วมกันของฝ่ายวิจัยและพัฒนาและฝ่ายการผลิต
2. ในส่วนมิติด้านความสามารถในการประกอบธุรกิจ มีความเกี่ยวข้องกับการบูรณาการทางธุรกิจอย่างไร
                - เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สำหรับกระบวนการทางธุรกิจอื่นที่เกี่ยวข้อง
3. ผู้จัดหาวัสดุเพื่อป้อนเข้าสู่โรงงานผลิตสินค้าจัดอยู่ในโครงสร้างใดของโซ่อุปทาน
                - โครงสร้างและระดับชั้นของผู้จัดหา
4. การขายหนังสือบนเว็บที่มีจัดส่งเนื้อหาในรูปแบบดิจิทัล ประกอบด้วยสายงานใดบ้างภายใต้โซ่อุปทาน
                - สายงานด้านสารสนเทศและสายงานด้านการเงิน
5. บุลวิป เอฟเฟก คือปัญหาเรื่องใดภายใต้โซ่อุปทาน จงอธิบาย
                - ด้านระยะเวลาการนส่งสินค้าและความไม่แน่นอนจากกการตั้งค่าระดับสินค้าคงเหลือของชิ้นส่วน
6. อาร์เอฟดีไอ คือ เทคโนโลยีที่ช่วยสนับสนุนการจัดโซ่อุปทานอย่างไร
                - สนับสนุนในส่วนของผู้ค้าปลีก ตัวแทนจำหน่ายและผู้ผลิต โดยองค์การจะให้ผู้จัดหารายใหญ่แนบป้ายระบุความถี่วิทยุติดกับแท่นวางสินค้าหรือกล่องสินค้าในระหว่างที่ขนส่งสินค้ามายังองค์การ
7. จงยกตัวอย่างสื่อที่ใช้ภายใต้ระบบประยุกต์ด้านสัมผัสลูกค้า
                - การใช้อีคอมเมิร์ชช่วยในธุรกิจ
8. จงยกตัวอย่างบริการขั้นพื้นฐานของอี-ซีอาร์เอ็ม
                -เริ่มตั้งแต่การใช้โปรแกรมค้นดูเว็บอินเทอร์เน็ตหรือจุดสัมผัสอิเล็กทรอนิกส์ เช่น อีเมล
9. ระบบสารสนเทศด้านการจัดการความรู้มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศด้านการวางแผนทรัพยากรองค์การอย่างไร
                - เพราะระบบสารสนเทศด้านการวางแผนทรัพยากรองค์การ เป็นระบบที่ใช้ในการวางแผนทางด้านต่าง ๆ ดังนั้น ระบบสารสนเทศด้านการจัดการความรู้ จึงต้องการการวางแผนที่เป็นระบบเช่นกัน
10. การแพร่กระจายคามรู้ทั่วทั้งองค์การ จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีสารสนเทศใดบ้าง
                - ใช้ระบบสารสนเทศด้านการจัดการความรู้
อ้างอิง : รุจิจันทร์ พิริยะสงวนพงศ์. สารสนเทศทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2549.

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 9

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 9
1. จงอธิบายแนวทางการใช้งานระบบสารสนเทศทางการบัญชี มาพอเข้าใจ
                - เช่น สารสนเทศทางการบัญชีในส่วนของการบัญชีการเงิน คือ งบการเงินและรายงานภาษีมูลค่าเพิ่มที่นำเสนอต่อผู้ใช้งบการเงินและกรมสรรพากร และในส่วนการบัญชีบริหาร คือ รายงานการวิเคราะห์ต้นทุนต่าง ๆ รายงานงบประมาณ รายงานการวิเคราะห์งบการเงิน ตลอดจนรายงานการวิเคราะห์การลงทุน นอกจากนี้ยังใช้เป็นหลักฐานทางการเงิน เช่น ใบกำกับภาษี ใบส่งสินค้า และใบจ่ายเงินเดือน
2. จงยกตัวอย่างผู้ใช้สารสนเทศทางการบัญชีภายนอกองค์การ มาสัก 2 ตัวอย่าง
                - ลูกค้า และธนาคาร
3. หากท่านดำเนินธุรกิจร้านมินิมาร์ทแห่งหนึ่ง ท่านเลือกที่จะติดตั้งใช้งานระบบสารสนเทศทางการบัญชีหรือไม่ อย่างไร
                - ติดตั้ง เพราะเป็นเครื่องมือหนึ่งของการเพิ่มมูลค่าให้ธุรกิจ และเป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับการดำเนินงานและตัดสินใจทางธุรกิจทั้งในส่วนของการวางแผน และการควบคุมการดำเนินงานของธุรกิจ
4. หากธุรกิจแห่งหนึ่ง มีการใช้ระบบสารสนเทศทางการบัญชีที่ได้รับการประกันความถูกต้องของข้อมูล ท่านคิดว่าธุรกิจนั้นจะได้รับประโยชน์อย่างไร
                - 1. ช่วยให้กิจการทราบถึงผลกำไรขาดทุนที่แท้จริงขององค์การ
                  2. ช่วยให้ธุรกิจทราบฐานะทางการเงินของกิจการ
                  3. ช่วยเป็นเครื่องมือสนับสนุนการหาแหล่งเงินทุนของธุรกิจ
                  4. ช่วยเป็นเครื่องมือในการเสียภาษี
                  5. ช่วยในการวางแผนธุรกิจ
                  6. ช่วยในการปรับปรุงและพัฒนาธุรกิจให้เจริญก้าวหน้าต่อไป
5. ท่านคิดว่าเอกสารทางการบัญชีของระบบประมวลผลด้วยมือ และแฟ้มข้อมูลของระบบประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ มีความสัมพันธ์กันอย่างไร
                - มีความสัมพันธ์กันตรงที่เริ่มแรกเกิดการประมวลผลด้วยมือก่อน จากนั้นได้มีการพัฒนาเป็นระบบการประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีการประมวลผลที่เร็วกว่า
6. เพราะเหตุใด รายงานภาษีมูลค่าเพิ่มจึงเป็นส่วนหนึ่งของรายงานทางการเงิน
                - เพราะรายงานภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นผลลัพธ์จากระบบสารสนเทศทางการเงิน พร้อมทั้งนำรายงานภาษีมูลค่าเพิ่มส่งให้กรมสรรพากร
7. จงอธิบายแนวโน้มของระบบสารสนเทศทางการบัญชีในอนาคต
                - เน้นการโปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชีร่วมกับโปรแกรมการวางแผนทรัพยากรองค์การ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการเชื่อมโยงข้อมูลภายใต้โซ่คุณค่าและโซ่อุปทานเข้าด้วยกัน
8. หากธุรกิจมีการนำเสนองบการเงิน ซึ่งมีการเสนอข้อมูลด้านการวิเคราะห์อัตราส่วนเพิ่มเติมด้วย จะถือเป็นรายงานทางการเงินหรือรายงานทางการบริหาร
                - เป็นรายงานทางการบริหาร
9. การเชื่อมโยงข้อมูลภายในธุรกิจ จะได้รับข้อมูลจากระบบงานใดบ้าง
                ­- อย่างแรกต้องมีการจัดเตรียมผังบัญชี ซึ่งเป็นผังที่แสดงการจัดหมวดหมู่บัญชีภายใต้การดำเนินงาน ลำดับต่อมา คือ การจัดเตรียมแฟ้มสมุดรายงานทั่วไปและแฟ้มงบประมาณ
10. เพราะเหตุใด ธุรกิจจึงจำเป็นต้องใช้โปรแกรมการวางแผนทรัพยากรองค์กร ร่วมกับการใช้ระบบสารสนเทศทางการบัญชี
                - เพื่อแก้ปัญหาระบบเดิม และยังได้รับซึ่งประโยชน์จากการใช้ข้อมูลร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
อ้างอิง : รุจิจันทร์ พิริยะสงวนพงศ์. สารสนเทศทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2549.

บทความสารสนเทศ 11

Semantic Web คืออะไร
            ลักษณะ ที่เรียกว่า Semantic Web คือ เทคโนโลยีที่ใช้ในการ จัดเก็บ และ นำเสนอเนื้อหาแบบมีโครงสร้าง รวมถึง สามารถที่จะ วิเคราะห์ จำแนก หรือจัดแบ่งได้ว่า ข้อมูลที่ปรากฏนั้น มีความสัมพันธ์ กับข้อมูลอื่นๆในแต่ละระดับ อย่างไร กล่าวคือ เป็นการจัดเก็บและนำเสนอ แบบมี Hierarchy นั่นเอง  
            ประเด็นหลักที่ทำให้เกิดการพัฒนา Semantic Web ก็คือ สาเหตุ จากการที่ Web ในปัจจุบันที่บางคนเรียกว่า เป็น Syntactic หรือ Hypermedia Web มีปัญหาในเรื่องของ Information overload  เพราะว่าข้อมูลที่เราสืบค้นมาได้นั้น ผลลัพธ์ที่ได้ ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ และ ไม่สะดวกในการที่จะนำไปใช้ต่อ เพราะการค้นหา ด้วย Keyword  ทั่วๆไป Machines ไม่สามารถทำความเข้าใจ และ ประมวลความหมาย หรือความสัมพันธ์ของคำนั้นๆได้อย่างตรงประเด็น ผลของการสืบค้นที่ได้กลับมา จึงเป็นการ Return ทุกๆเรื่องที่มีคำๆนั้น และสร้าง Hyperlink เพื่อให้เราเชื่อมโยงไปยังข้อมูล โดย เราไม่รู้ว่า นั่นคือคำที่อยู่ในเรื่องซึ่งเราต้องการหรือไม่
            แนวทางของ Semantic Web ที่ช่วยแก้ ปัญหาดังกล่าว ก็คือ  Semantic Web มีการ Provide Common framework ซึ่งทำให้ข้อมูล สามารถ share และ reused ข้าม Application หรือ Community ที่มีการระบุขอบเขต ได้ โดยที่ Machines สามารถเข้าใจองค์ประกอบของข้อมูลซึ่งมีการแนบ Domain theory (เช่น รูปแบบของการอ้างอิง Class แม่ ของข้อมูล)  รูปแบบนี้ เราอาจเรียกว่าเป็น Ontology  ซึ่งสามารถบอกระดับความสัมพันธ์ของข้อมูลได้

วันศุกร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2554

บทความสารสนเทศ 10

3G สามจี หรือ ทรีจี

          ในปี ค.ศ. 1979 ได้มีการเริ่มพัฒนาระบบโทรศัพท์มือถือที่เป็นแบบเซลลูล่า หรือที่เรียกว่า โมบายโฟน มีการนำไปใช้งานครั้งแรกพร้อมกันที่โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น และชิคาโก ประเทศสหรัฐอเมริกา หลังจากนั้นต่อมา โทรศัพท์มือถือก็แพร่หลายอย่างรวดเร็ว แพร่กระจายเข้าสู่ทุกประเทศ โดยเฉพาะประเทศไทย มีจำนวนผู้ใช้โทรศัพท์มือถือหลายล้านราย และมียอดการขยายตัวที่ต่อเนื่องตลอดเวลา
  
          ระบบโทรศัพท์มือถือในยุคแรก (1G) เป็นระบบโทรศัพท์ที่ใช้สัญญาณวิทยุ ระบบการนำสัญญาณเสียงผ่านคลื่นวิทยุย่านความถี่สูงมาก (VHF และ UHF) และระบบการรับส่งยังเป็นแบบอะนาล็อก พัฒนาการทางอะนาล็อกของโทรศัพท์มือถืออยู่ได้ไม่กี่ปีก็พัฒนาการเข้าสู่ ยุคที่สอง (2G) ซึ่งเป็นยุคดิจิตอล และกำลังพัฒนาต่อเนื่องเข้าสู่ยุค 3G
กลุ่มที่พัฒนาโทรศัพท์มือถือแบบ wireless มีด้วยกันสามกลุ่มคือ กลุ่มอเมริกา ยุโรป และญี่ปุ่น โดยใช้ย่านความถี่การเชื่อมโยงกับสถานีแม่ที่ความถี่ไมโครเวฟประมาณ 1-2 จิกะเฮิร์ทซ์ การใช้งานในรุ่นแรกหรือ 1G มีข้อจำกัดในเรื่องการขยายช่องสัญญาณให้รองรับผู้ใช้จำนวนมาก ดังนั้นจึงต้องเปลี่ยนจากระบบอะนาล็อกมาเป็นดิจิตอล
   
          ในยุคที่สอง (2G) การพัฒนาเน้นในเรื่องการแบ่งเวลาในช่องสัญญาณโดยใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า TDMA - Time Division Multiple Access หรือ CDMA - Code Division Multiple Access เป็นการเรียกเข้าถึงช่องสัญญาณ โดยแบ่งช่องสัญญาณออกเป็นสล็อตของเวลาเล็ก ๆ เพื่อให้การรับส่งข้อมูลผ่านช่องเล็ก ๆ ทางด้านเวลา
การเข้ารหัสสัญญาณเสียงยังคงใช้วิธีการบีบอัดสัญญาณเสียงให้เหลือ แถบกว้างต่ำ ๆ โดยช่องสัญญาณเสียงที่แปลงเป็นดิจิตอลแล้วจะใช้ขนาดเพียง 9 กิโลบิตต่อวินาที และนี่เป็นเหตุผลที่คุณภาพของสัญญาณเสียงในระบบโทรศัพท์มือถือด้อยลง แต่อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ เพราะสัญญาณรับส่งเป็นแบบดิจิตอล จึงมีความเพี้ยนหรือสัญญาณสอดแทรกได้ต่ำ
   
          การใช้โทรศัพท์มือถือมีความจำเป็นและมีตลาดรองรับการใช้งานสูงมาก บริษัท โดโคโม ของญี่ปุ่น เพียงบริษัทเดียวมีลูกค้าโทรศัพท์มือถือถึง 30 ล้านเครื่อง และในปัจจุบันทั่วโลกมีการใช้โทรศัพท์มือถือกว่าร้อยล้านเครื่อง และมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นอีกมากมายมหาศาล
   
          เมื่อระบบโทรศัพท์มือถือในยุค 2G ใช้รหัสดิจิตอล การกำหนดเส้นทางและการหาเส้นทางเชื่อมกับสถานีฐานจึงทำได้ดี ระบบการโรมมิ่ง (Roaming) คือการนำเอาโทรศัพท์มือถือไปใช้ในเครือข่ายอื่น เช่น ในต่างประเทศจึงทำได้ และก่อให้เกิดระบบโทรศัพท์มือถือแบบ GSM - Gobal System for Mobilization หรือระบบโทรศัพท์มือถือที่ใช้ได้ทั่วโลกเชื่อมโยงกันเป็นระบบ

          ลองนึกดูว่า การครอบคลุมพื้นที่ใช้หลักการของสถานีฐานหนึ่งสถานีคลุมพื้นที่บริเวณหนึ่ง เชื่อมโยงกันเป็นเซลแบบรังผึ้ง (Cellular) ทุกครั้งที่เปิดโทรศัพท์มือถือ เครื่องในมือเราก็จะติดต่อกับสถานีฐาน เพื่อลงทะเบียนตำแหน่ง หลังจากนั้นก็ติดต่อกับระบบได้ การกระจายเซลฐานจะมีมากมาย โดยเฉพาะในปัจจุบันจำนวนเซลฐานได้รับการกำหนดให้มีขนาดเล็กลง ซึ่งต้องใช้เซลฐานจำนวนมากขึ้น และเมื่อเคลื่อนที่ผ่านกรอบของเซลฐานเข้าสู่เซลต่อไป ระบบการโอนสัญญาณติดต่อระหว่างเซลจะกระทำอย่างต่อเนื่องโดยให้มีการใช้งาน ได้โดยไม่มีปัญหา
   
          เพื่อรองรับตลาดที่เติบโตเร็วมาก สิ่งที่โทรศัพท์ระบบนี้จะพบคือ ทำอย่างไรจึงจะรองรับความหนาแน่นของสัญญาณให้ได้มากที่สุด และต้องได้คุณภาพของสัญญาณดี อีกทั้งความเร็ว (จำนวนบิตต่อวินาที) ที่ใช้ต้องสูงขึ้น เพื่อรองรับการประยุกต์ในรูปแบบต่าง ๆ ที่มีจำนวนมากมายตามความต้องการของผู้ใช้
   
          ในเดือนมิถุนายน 1998 สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศได้ร่างข้อเสนอการพัฒนาระบบโทรศัพท์เซลลูลาร์ ในรูปแบบที่จะพัฒนาต่อเนื่องให้เข้าสู่ยุค 3G โครงร่างที่สำคัญคือแนวทางการพัฒนาระบบโทรศัพท์เซลลูลาร์ที่มีการใช้งานกัน หลายเทคโนโลยี โดยเน้นในเรื่องความหลากหลายของระบบ เพื่อเป็นแนวทางของการรวมระบบ จนกระทั่งในเดือนพฤศจิกายน 1999 แนวทางการก้าวเข้าสู่ยุค 3G ก็เริ่มเด่นชัดขึ้น โดยเน้นการใช้ระบบ CDMA - Code Division Multiple Access และทุกระบบที่มีอยู่มีแนวโน้มในการปรับเปลี่ยนเข้าสู่ระบบ IMT2000

          บริษัท โดโคโม ของญี่ปุ่น มีการประกาศอย่างชัดเจนว่า ในเดือนพฤษภาคม 2001 ระบบ 3G ของญี่ปุ่นจะเริ่มใช้งานได้ และแนวทางของบริษัท โดโคโม จะเป็นหนึ่งในผู้นำทางด้าน 3G
   
          การพัฒนาระบบ IMT 2000 ซึ่งเป็นการออกแบบระบบ 3G ได้รับการตอบรับในทุกบริษัทที่ผลิตเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ ระบบ IMT 2000 เน้นการใช้เทคโนโลยี CDMA ทั้งนี้เพราะต้องการใช้แถบความถี่ที่มีจำกัดในย่าน 1-2 จิกะเฮิร์ทซ์ ให้ได้ประโยชน์สูงสุด โดยเน้นให้ใช้งานได้ด้วยอัตราการรับส่งข้อมูลที่สูงขึ้น และมีแนวทางของการสร้างความคอมแพตติเบิ้ลในระดับพื้นฐานเดิมได้ โดยเฉพาะการเชื่อมโยงกับเครือข่ายเดิมที่มีอยู่ โดยเฉพาะการเชื่อมระหว่างเครือข่ายโทรศัพท์กับอินเทอร์เน็ต
   
          ระบบ 3G ที่ได้พัฒนาขึ้นครั้งนี้เป็นแบบดิจิตอลแพ็กเก็ต โดยเน้นการรองรับระบบมัลติมีเดียที่ให้ทุกคนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้ทุกที่ ทุกเวลา เป้าหมายของความเร็วการเชื่อมต่อเครือข่ายแบบ 3G อยู่ที่ 2 เมกะบิตต่อวินาที ในอาคารหรือในบ้าน และหากอยู่ในรถยนต์ที่เคลื่อนที่ อัตราการรับส่งข้อมูลอยู่ที่ 144 กิโลบิตต่อวินาที แต่บริษัท โดโคโม ได้ประกาศการใช้งานที่ 2 เมกะบิต ในอาคาร และ 384 กิโลบิต ในรถยนต์ที่เคลื่อนที่ ซึ่งเป็นมาตรฐานที่สูงกว่าของทั่วไป การรับส่งข้อมูลของโทรศัพท์มือถือจะรองรับการประยุกต์ใช้งานทุกรูปแบบ ตั้งแต่การโทรศัพท์แบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ การส่งโทรสารแบบ G4 (ส่งภาพสี แบบความละเอียดสูง) การเชื่อมต่อระบบ WAP
   
          เพื่อระบบ 3G ของญี่ปุ่นจะพัฒนาและรองรับการใช้งาน กลุ่มโดโคโมจึงต้องสร้างพันธมิตร โดยร่วมมือการพัฒนาและทดลองใช้กันบริษัท SK เทเลคอม ของเกาหลี เทเลคอมอินโดนีเซีย สิงค์เทล (สิงค์โปร์) TOT (ประเทศไทย) จีน ที่มา http://www.ku.ac.th/magazine_online/mobile3g.html

วันพฤหัสบดีที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2554

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 8

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 8
1. จงอธิบายเป้าหมายทางการเงินทั้งในส่วนของธุรกิจและผู้ถือหุ้น
                - 1. กำไรสูงสุด เน้นถึงประสิทธิภาพของการใช้ทรัพยากร
                  2. ความมั่งคั่งสูงสุด
2. จงยกตัวอย่างการนำอินเทอร์เน็ตมาใช้กับงานทางการเงิน
                - ระบบการแลกเปลี่ยนหุ้นส่วนกลาง ซึ่งมีการใช้อินเทอร์เน็ต เพื่อการกระจายด้านการแลกเปลี่ยนหุ้น ตลอดจนการประมวลผลด้านการเคลื่อนไหวของราคาหุ้น
3. เพราะเหตุใดธุรกิจที่มีการจัดการทางการเงินไม่ดีพอ จึงไม่สามารถอยู่รอดได้ในอนาคต
                - เพราะไม่มีเงินหมุนเวียนในธุรกิจ ทำให้กิจการขาดสภาพคล่องทางการเงิน ตลอดจนการฉ้อฉล
4. ธุรกิจมีหนทางที่จะหลีกเลี่ยงความเสี่ยงทางการเงินที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างไร
                - ควรมีการวิเคราะห์ความเสี่ยง โดยอาจใช้ซอฟต์แวร์ ฟีโคเพื่อรับรองงานด้านความเสี่ยง
5. กระบวนการธุรกิจของระบบสารสนเทศทางการเงิน มีการเชื่อมโยงด้านข้อมูลของแต่ละระบบอย่างไร
                - 1. ระบบการวางแผนด้านการเงิน เน้นถึงการจัดการสินทรัพย์ทางการเงินให้เหมาะสม
                  2. ระบบจัดการทางการเงิน เพื่อเพิ่มความมั่งคั่งแก่ผู้ถือหุ้น
                  3. ระบบประมวลผลธุรกรรมทางการเงิน เป็นระบบพื้นฐานในส่วนการเงินและจ่ายเงินในธุรกิจ
                  4. ระบบวิเคราะห์ทางการเงิน เพื่อใช้สนับสนุนงานด้านการวางแผนทางการเงิน การจัดหาเงินทุน การจัดสรรเงินทุน และเงินลงทุนต่าง ๆ
                  5. ระบบควบคุมทางการเงิน
6. จงอธิบายวัตถุประสงค์ของการทำเหมืองข้อมูลทางการเงิน
                - การนำระบบสารสนเทศทางการเงินในอดีตมาใช้ เพื่อพยากรณ์ทางการเงินในอนาคต
7. ระวิเคราะห์ทางการเงิน มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับระบบควบคุมทางการเงินอย่างไร
                - ระบบการวิเคราะห์ทางการเงิน เป็นระบบที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้สนับสนุนด้านการวางแผนทางการเงิน การจัดหาเงินทุน การจัดสรรเงินทุน และเงินลงทุนต่าง ๆ เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ส่วนระบบควบคุมทางการเงิน เป็นสิ่งที่ธุรกิจใช้ควบคุมการเงินให้มีการวางแผนที่ดี
8. การพยากรณ์ทางการเงิน มีความสัมพันธ์กับงบประมาณเงินสด และงบประมาณการลงทุนอย่างไร
                - การพยากรณ์ทางการเงิน เป็นระบบที่พัฒนาขึ้นเป็นอันดับแรกของการวางแผนทางการเงิน โดยจำเป็นต้องใช้ระบบสารสนเทศภายนอก ส่วนงบประมาณเงินสด เป็นส่วนที่ถูกพัฒนาขึ้นในลำดับขั้นต่อไป และงบประมาณการลงทุน จะเกี่ยวข้องกับการวางแผนการลงทุนระยะยาวในสินทรัพย์ถาวร
9. จงยกอย่างการใช้สารสนเทศจากตลาดการเงิน สำหรับการจัดหารเงินทุน
                - ตลาดการเงิน จะเกี่ยวข้องกับสถาบันการเงินหรือแหล่งจัดหาเงินทุนอื่น ๆ โดยจำแนกเป็นตลาดเงิน ตลาดทุน และการจัดหาเงินทุน ก็เพื่อรองรับการลงทุนตามความต้องการเงินทุน ซึ่งก่อให้เกิดมูลค่าสูงสุดในองค์การ
10. จงยกตัวอย่างธุรกิจที่ใช้เทคโนโลยีด้านการรับชำระที่ท่านพบเห็นในประเทศไทย
                - บริษัทเทสโก้ โลตัส มีการรับชำระหนี้ทั้งค่าน้ำ ค่าไฟ และค่าอื่น ๆ อีก ทำให้ผู้บริโภคเกิดความสะดวกสบาย
อ้างอิง : รุจิจันทร์ พิริยะสงวนพงศ์. สารสนเทศทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2549.

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 7

แบบฝึกหับท้ายบทที่ 7
1. จงยกตัวอย่างกิจกรรมทางการตลาดที่สัมพันธ์กับการส่งมอบคุณค่าเพื่อ
                - เช่น กิจกรรมด้านสินค้าคงคลัง
2. การนำอินเทอร์เน็ตมาใช้ทางการตลาดเป็นการส่งเสริมองค์ประกอบใดทางการตลาด
                - กลยุทธ์ทางการตลาด, กิจกรรมทางการตลาด และสถาบันทางการตลาด
3. ท่านคิดว่าธุรกิจควรทำอย่างไร จึงจะสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าในระยะยาวได้
                - ธุรกิจควรทำการตลาดเพื่อสังคม ซึ่งมุ่งเน้นการส่งมอบคุณค่าที่ดีกว่าให้ลูกค้า
4. จงอธิบายแนวทางการใช้สารสนเทศทางการตลาดสำหรับการเลือกคุณค่า การจัดการคุณค่าและการสื่อสารคุณค่า
                - การเลือกคุณค่า เป็นการวิเคราะห์เพื่อทำความเข้าใจถึงความต้องการของลูกค้า การจัดหาคุณค่าต้องอาศัยกระบวนการพัฒนาส่วนประสมทางการตลาด และการสื่อสารคุณค่าจะช่วยสื่อสารถึงข้อดีของผลิตภัณฑ์ ตลอดจนให้กลุ่มลูกค้าในตลาดเป้าหมายซื้อผลิตภัณฑ์
5. กระบวนการธุรกิจของระบบสารสนเทศทางการขายจะต้องมีการเชื่อมโยงด้านข้อมูลของระบบใดไว้ด้วยกันบ้าง
                - ระบบสารสนเทศทางการผลิตในส่วนของข้อมูลสินค้าคงคลังและข้อมูลอื่น ๆ ทางการผลิต ระบบจัดการลูกค้าสัมพันธ์ ระบบโลจิสติกส์ เป็นต้น
6. จงอธิบายวัตถุประสงค์ของการใช้โปรแกรมการจัดการลูกค้าสัมพันธ์
                - เพื่อใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล สนับสนุนงานบริการให้ลูกค้ามีความพึงพอใจสูงสุด และกลับมาซื้อซ้ำในอนาคต
7. ระบบจัดการลูกค้าสัมพันธ์ที่ดี ควรมีการเชื่อมโยงเข้ากับระบบงานใดเพื่อเป็นการขยายขีดความสามารถของระบบให้สูงขึ้น เพราะเหตุใด
                - ควรเชื่อมเข้ากับระบบศูนย์โทรศัพท์ เพราะจะได้แก้ไขปัญหาให้ลูกค้าได้ทันที
8. ระบบวิจัยการตลาดจะช่วยสนับสนุนด้านข้อมูลแก่ระบบงานใดบ้าง จงอธิบาย
                - ศึกษาศักยภาพของตลาดและส่วนแบ่งตลาด การประเมินความพึงพอใจของลูกค้าและพฤติกรรมการซื้อ การกำหนดราคา การพัฒนาผลิตภัณฑ์ ช่องทางการจัดจำหน่าย และการสื่อสารทางการตลาด
9. จงยกตักอย่างนวัตกรรมด้านร้านค้าปลีกที่ท่านพบเห็นในประเทศไทย
                - BIG C ซึ่งมีการจัดหาเครื่องกราดตรวจรหัสแท่ง
10. ตัวแบบการตัดสินใจทางการตลาดจะเกี่ยวข้องกับระบบสนับสนุนการตัดสินใจอย่างไร
                - ช่วยให้องค์การสามารถเก็บรวบรวมข้อมูล แปลความหมายสารสนเทศ อีกทั้งยังเกี่ยวข้องกับระบบสนับสนุนการตัดสินใจทางการตลาด เช่น ระบบสนับสนุนการตัดสินใจด้านพัฒนาผลิตภัณฑ์ ด้านโฆษณาและส่งเสริมการขาย ด้านการตั้งราคาผลิตภัณฑ์ รวมทั้งด้านพยากรณ์ยอดขาย เป็นต้น
อ้างอิง : รุจิจันทร์ พิริยะสงวนพงศ์. สารสนเทศทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2549.