Powered By Blogger

วันจันทร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2554

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 3

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 3
1. วัตถุประสงค์ของการวางแผนระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์ คืออะไร
                - เพื่อสร้างความได้เปรียบเหนือคู่แข่งขัน และนำมาใช้สนับสนุนการดำเนินงานในเชิงรุก
2. จงอธิบายแนวโน้มของการเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต
                แนวโน้มในด้านบวก
1. การพัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่เชื่อมโยงกันทั่วโลก ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ช่องทางการดำเนินธุรกิจ เช่น การทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การผ่อนคลายด้วยการดูหนัง ฟังเพลง และบันเทิงต่างๆ เกมออนไลน์
2. การพัฒนาให้คอมพิวเตอร์สามารถฟังและตอบเป็นภาษา พูดได้ อ่านตัวอักษรหรือลายมือเขียนได้ การแสดงผลของคอมพิวเตอร์ได้เสมือนจริง เป็นแบบสามมิติ และการรับรู้ด้วยประสาทสัมผัส เสมือนว่าได้อยู่ในที่นั้นจริง
3. การพัฒนาระบบสารสนเทศ ฐานข้อมูล ฐานความรู้ เพื่อพัฒนาระบบผู้เชี่ยวชาญและการจัดการความรู้
4. การศึกษาตามอัธยาศัยด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-learning) การเรียนการสอนด้วยระบบโทรศึกษา (tele-education) การค้นคว้าหาความรู้ได้ตลอด 24 ชั่วโมงจากห้องสมุดเสมือน (virtual library)
5. การพัฒนาเครือข่ายโทร คมนาคม ระบบการสื่อสารผ่านเครือข่ายไร้สาย เครือข่ายดาวเทียม ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ทำให้สามารถค้นหาตำแหน่งได้อย่างแม่นยำ
6. การบริหารจัดการภาครัฐสมัยใหม่ โดยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและเครือข่ายการสื่อสารเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการ ดำเนินการของภาครัฐที่เรียกว่า รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-government) รวมทั้งระบบฐานข้อมูลประชาชน หรือ e-citizen
                                แนวโน้มในด้านลบ
1. ความผิดพลาดในการทำงานของระบบ คอมพิวเตอร์ ทั้งส่วนฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ที่เกิดขึ้นจากการออกแบบและพัฒนา ทำให้เกิดความเสียหายต่อระบบและสูญเสียค่าใช้จ่ายในการแก้ปัญหา
2. การละเมิดลิขสิทธิ์ของทรัพย์สินทางปัญญา การทำสำเนาและลอกเลียนแบบ
3. การก่ออาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ การโจรกรรมข้อมูล การล่วงละเมิด การก่อกวนระบบคอมพิวเตอร์ 
3. จงยกตัวอย่างการใช้แผนกลยุทธ์ด้านสารสนเทศของอีคอมเมิร์ช
                - เช่น การปรับปรุงประสิทธิภาพพนักงานขาย การใช้อีคอมเมิร์ซแบบนี้ช่วยปรับปรุงการสื่อสารระหว่าง
4. หน่วยงานของรัฐบาลมีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในลักษณะใด
                - รัฐบาลปัจจุบันได้ให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการพัฒนา  และการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) มาใช้ในภาครัฐ (e-Government)  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หน่วยงานภาครัฐที่ให้บริการประชาชน  และภาคธุรกิจ   จะต้องเร่งดำเนินการพัฒนานำ ICT   มาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการเป็นรูปธรรมอย่างรวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำ ทันสมัยและโปร่งใส เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงสารสนเทศและการบริการภาครัฐอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน ขณะเดียวกันสามารถนำ ICT มาใช้ เพื่อทำการปฏิรูประบบบริหารองค์กรของรัฐให้ได้เป้าประสงค์ของการบริการที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล  
5. จงระบุถึงผลประโยชน์ที่องค์กรควรจะได้รับ อันสืบเนื่องมาจากการเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่มีความสอดคล้องกับกลยุทธ์ธุรกิจ
                - ผลของการใช้เทคโนโลยีได้ทำให้เกิดการพัฒนาในด้านต่าง ๆ อันมีประโยชน์ต่อมนุษย์มากมาย เช่น อุปกรณ์สำหรับใช้ในการตรวจและรักษาโรค โทรเลข โทรศัพท์ อุปกรณ์การสื่อสารต่าง ๆ การค้นพบคอมพิวเตอร์และการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ช่วยในการปฏิบัติงานของอุปกรณ์ต่าง ๆ ทางด้านการแพทย์ การสำรวจ การประมง การควบคุมอากาศยานและยานพาหนะ การใช้คอมพิวเตอร์ ควบคุมอุปกรณ์ต่าง ๆ ภายในสถานประกอบการอุตสาหกรรมและการใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information system) การพัฒนาระบบการชลประทานและการส่งน้ำเพื่อการเพาะปลูก การผลิตปุ๋ยเคมีและปุ๋ยชีวภาพ การปลูกพืช การเลี้ยงสัตว์ การทำประมง และการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการผลิตและการถนอมอาหาร และการใช้เทคโนโลยีในการผลิตเสื้อผ้าและเครื่องนุ่มห่ม
6. การจัดซื้อซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์ขององค์การขนาดเล็กจะต้องพิจารณาสิ่งใดบ้าง
                - องค์กรต่างๆ ที่จัดซื้อจัดหาซอฟต์แวร์ ลำดับแรกต้องระบุวัตถุประสงค์ และความต้องการให้ชัดเจนว่าต้องการอะไรจากซอฟต์แวร์นั้นๆ แล้วปล่อยให้ผู้ขายไม่ว่าจะเป็นโอเพนซอร์ซ หรือซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์เสนอราคาเข้ามา การจะเลือกซื้อซอฟต์แวร์ใดนั้นควรเลือกจากคุณสมบัติ, ความสามารถในการทำงาน, การทำงานร่วมกับระบบที่มีอยู่,ความปลอดภัย, ความคุ้มค่า รวมทั้งราคาในการเป็นเจ้าของ
7. ข้อได้เปรียบของการใช้บริการภายนอก เพื่อการพัฒนาระบบสารสนเทศขึ้นใช้ในองค์การ คืออะไร
                - องค์กรนั้น ๆ ลดภาระในการดูแลทรัพย์สินของระบบสารสนเทศ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง อุปกรณ์ของระบบเครือข่ายสื่อสาร เป็นต้น ซึ่งจะทำให้สามารถที่จะคำนวณถึงค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
                • องค์กรสามารถลดภาระในการวางแผนทางด้านเทคโนโลยีโดยจะวางแผนเฉพาะด้านนโยบายและการบริการใหม่ ๆ ที่ต้องการนำมาเป็นกลยุทธ์ในการแข่งขันในตลาดเท่านั้นไม่จำเป็นต้องนำประเด็นของการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีมาเป็นประเด็นสำคัญในการพิจารณา
                • ช่วยเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันขององค์กรให้มากขึ้น เนื่องจากการดำเนินการต่าง ๆ จะเกิดความสะดวก รวดเร็ว ประหยัด และมีประสิทธิภาพสูงในการตอบสนองการให้บริการใหม่ ๆ กับลูกค้า ซึ่งการลงทุนเองจะไม่สามารถตอบสนองต่อความยืดหยุ่นของดีมานด์ของตลาดได้ทันท่วงที
                • ช่วยเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันขององค์กรให้มากขึ้น เนื่องจากการดำเนินการต่าง ๆ จะเกิดความสะดวก รวดเร็ว ประหยัด และมีประสิทธิภาพสูงในการตอบสนองการให้บริการใหม่ ๆ กับลูกค้า ซึ่งการลงทุนเองจะไม่สามารถตอบสนองต่อความยืดหยุ่นของดีมานด์ของตลาดได้ทันท่วงที
                • องค์กรที่มีปัญหาทางด้านการควบคุมค่าใช้จ่ายของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ อาจเปลี่ยนแปลงมาใช้การ Outsource เพื่อควบคุมค่าใช้จ่าย อีกทั้งสัญญาการ Outsource ที่ดีจะทำให้ผู้ว่าจ้างมีความยืดหยุ่นในการขยายประสิทธิภาพของคอมพิวเตอร์เพื่อรองรับปริมาณงานที่เพิ่มขึ้นได้ โดยมีค่าใช้จ่ายตามที่ตกลงกัน
                • สามารถลดภาระในการพัฒนาบุคลากรขององค์กรให้อยู่มีความรู้ความชำนาญด้านเทคโนโลยีในการบริหารระบบสารสนเทศ กล่าวคือสามารถลดปัญหาพื้นฐานความรู้ของพนักงานที่ไม่เข้าใจ หรือไม่สามารถติดตามเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมใหม่ ๆ ได้ทัน หรือพนักงานอาจมีภาระงานมากจนทำให้ไม่สามารถติดตามเทคโนโลยีได้ทัน
                • ความต้องการให้พนักงานของตนไปทำงานอื่นที่มีประโยชน์ต่อองค์กรมากกว่าทำการดูแลบำรุงรักษาระบบสารสนเทศ
                • ไม่สามารถว่าจ้างบุคลากรที่มีทักษะบางด้านเข้ามาทำงานได้ เนื่องจากเงื่อนไขการจ้างไม่ดึงดูดใจบุคลากรเหล่านั้น หรือไม่สามารถที่จะดึงดูดใจให้บุคลากรเหล่านั้นทำงานอยู่กับองค์กรได้ในระยะยาว การ Outsource จะทำให้ไม่จำเป็นต้องเพิ่มบุคลากรในองค์กรเพิ่มขึ้นทำให้องค์กรมีขนาดที่เหมาะสมและสามารถบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                • การจัดจ้างนี้ มีสัญญาการจ้างระยะเวลาที่จะสิ้นสุด ดีกว่าการลงทุนเอง ซึ่งจะต้องเป็นการลงทุนในลักษณะถาวรต่อเนื่อง
                • สามารถกำหนดระดับของบริการ (Service Level) ได้ เช่นต้องการให้เสร็จสิ้นภายในเวลาเท่าใด ความผิดพลาดที่มีไม่ควรเกินอัตราหรือสัดส่วนเท่าใด การทำงานทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคในทุกช่วงของเวลา เป็นต้น ซึ่งจะเป็นการเพิ่มความพึงพอใจกับการให้บริการของฝ่ายงานสารสนเทศต่อทั้งผู้ใช้ภายในและภายนอกองค์กร
8. วิธีการพัฒนาระบบรูปแบบใด ที่สอดคล้องกับวิธีการพัฒนาระบบจากบนลงล่าง
                - วัฎจักรการพัฒนาระบบ  (System development life cycle : SDLC) เป็นวิธีการแบบดั้งเดิมที่ใช้พัฒนาระบบงานทีละขั้นตอน (Step) จากระดับบนไหลลงสู่ระบบล่างคล้ายกับน้ำตกที่ตกลงมาเป็นชั้น ๆ  (Walterfall)  หากการทำงานในขั้นตอนใดไม่ดีพอเราสามารถย้อนกลับไปตรวจสอบขั้นตอนก่อนหน้านี้ได้  แต่ไม่สามารถทำงานหลาย ๆ  ขั้นตอนควบคู่กัน (parallel)
9. วิธีการพัฒนาระบบแบบใด ที่เน้นความร่วมมือของผู้ใช้ในการพัฒนาระบบมากที่สุด
                - เลือกใช้  Prototyping เพราะผู้ใช้และผู้จัดการจะมีส่วนร่วมในทุก ๆ ขั้นตอนของกระบวนการพัฒนาระบบ   และการทำซ้ำ Prototyping   มีส่วนร่วมในการออกแบบ    ซึ่ง  Prototype  จะเป็นตัวกำหนดความต้องการข่าวสารของผู้ใช้ทางอ้อมไปในตัว  และ ระยะเวลาในการทำซ้ำ  Prototype  นั้นใช้เวลาสั้น  อีกทั้งการทำ prototype  ก็มักจะใช้ต้นทุนต่ำ
10. เพราะเหตุใดการใช้แบบจำลองน้ำตกจึงถือเป็นการพัฒนาระบบแบบดั้งเดิม
                - SDLC แบบ Waterfall มีหลักการเปรียบเสมือนกับน้ำตก ซึ้งไหลจากที่สูงลงที่ต่ำ และไม่สามารถไหลกลับมาในทางตรงกันข้ามได้อีก การพัฒนาระบบงานด้วยหลักการนี้ เมื่อทำขั้นตอนหนึ่งแล้วจะไม่สามารถย้อนกลับมาที่ขั้นตอนก่อนหน้าได้อีก ซึ่งจะมองเห็นจุดอ่อนของหลักการนี้ว่า หากมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นที่ขั้นตอนก่อนหน้านี้แล้ว จะไม่สามารถย้อนกลับมาแก้ไขได้ ดังนั้น การพัฒนาระบบด้วยหลักการนี้ จำเป็นต้องมีการวางแผนที่ดี เพื่อให้สามารถป้องกันการผิดพลาดได้มากที่สุด ซึ่งทำได้ยากมาก ยกเว้นระบบงานนั้นมีรูปแบบการพัฒนาที่ดี และตายตัวอยู่แล้ว
11. เทคนิคแผนภาพกระแสข้อมูลมักใช้ในขั้นตอนใดของการพัฒนาระบบ และมีประโยชน์ต่อผู้ใช้และทีมงานพัฒนาระบบอย่างไร
- แผนภาพกระแสข้อมูล (DFD) เป็นเครื่องมือที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในการเขียนแบบระบบใหม่ 
โดยเฉพาะกับระบบที่ หน้าที่ของระบบมีความสำคัญและมีความสลับซับซ้อนมากกว่าข้อมูลที่ไหลเข้า
                ประโยชน์ในการใช้แผนภาพกระแสข้อมูล
1.  ใช้ได้อย่างอิสระในการวิเคราะห์ระบบโดยไม่ต้องมีเทคนิคอื่นมาช่วย สามารถใช้สัญลักษณ์ต่าง ๆ แทนสิ่งที่วิเคราะห์มา
2.  สื่อที่ง่ายต่อการแสดงความสัมพันธ์ระหว่างระบบย่อยกับระบบใหญ่
3.  ช่วยให้การวิเคราะห์เป็นไปได้โดยง่าย และมีความเข้าใจตรงกันระหว่าง ผู้วิเคราะห์ระบบเอง หรือระหว่างผู้วิเคราะห์กับโปรแกรมเมอร์ หรือระหว่างผู้วิเคราะห์กับผู้ใช้ระบบ
4.  จะเห็นถึงข้อมูล และขั้นตอนต่างๆ เป็นแผนภาพการไหลของข้อมูล (Data flow diagram)
12. จงเขียนแผนภาพกระแสงานของระบบทะเบียนนักศึกษา ในส่วนของการลงทะเบียนเรียน การเข้าชั้นเรียน ตลอดจนการวัดและประเมินผลการเรียน

นักศึกษาลงทะเบียน                                    นักศึกษาเข้าชั้นเรียน                   สอบวัดผลภาคเรียน                                  
                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                             เส้นแบ่งเขตนักศึกษาและฝ่ายทะเบียน
 


อาจารย์รับใบลงทะเบียน             ฝ่ายทะเบียนบันทึก           ส่งข้อมูลรายชื่อ                    ข้อมูลของการเข้า                           ฝ่ายทะเบียน
และรับชำระเงิน                         ข้อมูลนักศึกษา                 ให้อาจารย์ประจำวิชา           ชั้นเรียนและผลการ
                                                                                                                                สอบวัดผล
อ้างอิง : รุจิจันทร์ พิริยะสงวนพงศ์. สารสนเทศทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2549.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น