Powered By Blogger

วันพุธที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2554

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 2

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 2
1. จากส่วนประกอบทั้ง 7 ส่วนของระบบสารสนเทศ ส่วนใดที่ถือเป็นแหล่งจัดเก็บข้อมูลของระบบสารสนเทศ
                - ส่วนการจัดการฐานข้อมูล ซึ่งเป็นหน่วยเก็บข้อมูลทางกายภาพสำหรับข้อมูลที่อาจมีความเกี่ยวข้องและไม่เกี่ยวข้องกับการเงิน จะถูกจัดเก็บภายในตู้เอกสารหรือในแผ่นจานแม่เหล็ก เรียงลำดับจากหน่วยที่เล็กที่สุด คือ ลักษณะประจำ ระเบียน และแฟ้มข้อมูล
2. ในส่วนผลป้อนกลับของระบบสารสนเทศ ก่อให้เกิดประโยชน์ในอนาคตของการจัดการระบบสารสนเทศอย่างไร
                - ผลป้อนกลับจะอยู่รูปของรายงานที่เป็นผลลัพธ์ ซึ่งจะถูกส่งกลับไปยังระบบของต้นทางข้อมูลทั้งภายในและภายนอก ช่วยปรับเปลี่ยนกระบวนการ เช่น รายงานแสดงสถานะของสินค้าคงเหลือ เพื่อปรับยอดสินค้าคงเหลือ
3. หากท่านดำเนินธุรกิจร้านมินิมาร์ทแห่งหนึ่ง ท่านเลือกที่จะนำสารสนเทศประเภทใดบ้างมาใช้ในธุรกิจ เพราะเหตุใด
                - ใช้ระบบสารสนเทศตามหน้าที่งาน เพราะเป็นการรองรับการทำงานของแผนกต่าง ๆ จำแนกความรับผิดชอบหน้าที่งานในองค์กร ทำให้ผู้ปฏิบัติงานรู้ถึงหน้าที่และความรับผิดชอบของตนเอง อีกทั้งช่วยสนับสนุนในด้านการจัดการงานประจำที่ทำซ้ำ ๆ กัน เช่น การเตรียมจ่ายเงินเดือนพนักงาน หรือการจัดส่งสินค้าให้กับลูกค้า เป็นต้น
4. ระบบสารสนเทศถูกวางไว้ที่ตำแหน่งใดภายใต้โซ่คุณค่าขององค์กร จงอธิบาย
                - ระบบสารสนเทศจะช่วยสร้างคุณค่าให้กับสินค้าและบริการผ่านการดำเนินกิจกรรมย่อย เช่น การเสนอขายสินค้าและบริการที่แตกต่างจากคู่แข่ง เพื่อเพิ่มคุณค่าให้กับลูกค้า การเปิดธุรกิจบนเว็บไซต์ เพื่อเสนอขายสินค้าและบริการ ซึ่งจะช่วยเพิ่มรายได้จากการขายอีกทางหนึ่ง
5. จงระบุถึงประโยชน์ที่องค์การจะได้รับภายใต้การใช้ระบบสารสนเทศที่ดี
                - ช่วยลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลการทำงาน เช่น มีการตรวจสอบกำลังการผลิตของเครื่องจักร การตรวจสอบคุณภาพของสินค้า มีการพัฒนาการตัดสินใจที่ดีขึ้น สร้างความได้เปรียบเชิงการแข่งขัน เช่น การเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีและมีการพัฒนานวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง
6. จงอธิบายแนวโน้มของระบบสารสนเทศในอนาคต
                - จะมีการมุ่งเน้นด้านการบูรณาการระบบสารสนเทศ โดยอาศัยเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีเว็บ อีกทั้งมีการพัฒนาระบบสารสนเทศบนเว็บที่มีต้นทุนต่ำ และยังเพิ่มขีดความสามารถของระบบเดิม ซึ่งใช้ในส่วนของการเชื่อมต่อระบบสารสนเทศภายในองค์การและระหว่างองค์การ เพื่อบรรลุเป้าหมายการแพร่กระจายสารสนเทศไปทั่วโลก
7. ระบบสารสนเทศประเทศใด ที่ถูกใช้เป็นเครื่องมือ ในการเชื่อมโยงโซ่คุณค่าขององค์การเข้ากับโซ่คุณค่าขององค์การภายนอก
                - ระบบสารสนเทศระหว่างองค์การ ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อระบบสารสนเทศระหว่าง 2 องค์การขึ้นไป เน้นการเพิ่มประสิทธิภาพของการประมวลผลธุรกรรม ให้การสนับสนุนกิจกรรมต่าง ๆ ระหว่างองค์การ
8. จงอธิบายการเชื่อมโยงต่อระบบสารสนเทศระหว่างองค์การกับอีคอมเมิร์ช
                - ยกตัวอย่างเช่น การซื้อเครื่องใช้สำนักงานภายใต้ระบบมือกับระบบอีคอมเมิร์ช ซึ่งภายใต้การสั่งซื้อระบบมือ เจ้าหน้าที่จะต้องได้รับอนุมัติสำหรับการซื้อที่มีกำไร โดยจัดส่งใบขอซื้อไปยังแผนกจัดซื้อ หลังจากนั้นออกใบสั่งซื้ออย่างเป็นทางการ เมื่อเปรียบเทียบกับกระบวนการสั่งซื้อทางอีคอมเมิร์ชผู้สั่งซื้อจะตรงไปที่เว็บไซต์ของผู้ขาย และสั่งซื้อสินค้าตามที่ต้องการ ณ ระดับราคาที่กำหนดไว้
9. จงอธิบายการทำงานของคอมพิวเตอร์เคลื่อนที่และลูกจ้างเคลื่อนที่
                - คอมพิวเตอร์ คือ ตัวอย่างระบบคอมพิวเตอร์ที่ออกแบบสำหรับลูกจ้างเคลื่อนที่ ซึ่งผู้ใช้มักเกิดความต้องการด้านการเชื่อมต่อเข้ากับระบบสารสนเทศขององค์การ โดยใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่
10. จงยกตัวอย่างระบบสารสนเทศบนเว็บที่มีการเชื่อมต่อกับระบบสารสนเทศอื่นมา 2 ตัวอย่าง
                - 1.อินเทอร์เน็ต คือ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ถูกนำมาใช้ทั่วโลก ผู้ใช้คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง ๆ สามารถรับสารสนเทศจากคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นได้ ซึ่งถือเป็นเครือข่ายสาธารณะ
                2. เอกซ์ทราเน็ต ถูกเชื่อมต่อกับอินทราเน็ตผ่านทางอินเตอร์เน็ต สร้างรูปแบบเครือข่ายเสมือนจริงซึ่งอนุญาตให้ผู้ใช้ทางไกล สามารถเชื่อมต่อระบบอินเทอร์เน็ตกับเอกซ์ทราเน็ตหลักขององค์กร มุ่งเน้นการใช้สารสนเทศร่วมกัน
อ้างอิง : รุจิจันทร์ พิริยะสงวนพงศ์. สารสนเทศทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2549.

วันอังคารที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ศึกษากรณีอินเดียสู้วอลมาร์ท แนวไทยต้านโลตัส !

ปรากฎการณ์ห้างข้ามชาติที่เข้าไปรุกราน  และสร้างความหายนะให้กับคนท้องถิ่น นับเป็นปรากฎการณ์ร่วมที่เกิดขึ้นเกือบทุกหนแห่งในโลกนี้ มีคนเคยพูดถึงวอลมาร์ต (wal mart) กิจการค้าปลีกขนาดยักษ์ของสหรัฐว่า ไฉนจึงไม่มาลงทุนสร้าง แข่งขัน และขยายสาขาในประเทศไทย ประเทศที่รัฐบาลอ้าแขนรับอย่างเต็มที่ เปิดโอกาสให้ขยายสาขาอย่างไร้ข้อจำกัดใดๆ แต่คำตอบก็คือ  ตลาดประเทศไทยเล็กเกินไปสำหรับวอลมาร์ต      แต่ในเอเชีย วอลมาร์ต รุกเข้าไปในหลายประเทศ รวมทั้งอินเดีย ประเทศที่มีประชากรนับร้อยล้านคน
      ๕๐๐ สาขาของวอลมาร์ตที่กระจายตัวอยู่ในแหล่งการค้า และชุมชนสำคัญของอินเดีย
   ได้ ทำลายกิจการค้าปลีกของคนท้องถิ่น และการพึ่งพาตนเองอย่างย่อยยับ จนกระทั่งคนอินเดียต้องจัดตั้งขบวนการเพื่อประชาธิปไตยของการค้าปลีก เป็นการรวมตัวของผู้ประกอบการร้านขายของชำรายย่อย ผู้ค้าเร่  สหภาพแรงงาน และสหภาพเกษตรกร ในเดือนสิงหาคม ๒๕๕๐ เป้าหมายคือการแสดงพลังขับไล่วอลมาตร์ออกไปจากแผ่นดินอินเดีย
      หันดูคนไทย ยังใจเย็น เดินเย็นซื้อของถูกบนคราบเลือด และซากศพของโชว์ห่วย และเจ้าของสินค้ารายย่อย ในโลตัส
       คมดาบที่ซ่อนอยู่หลังรอยยิ้มโลตัส ที่หลอกคนไทยให้ตายใจ จะเชือดคอคนไทยอีกไม่นานช้านี้

วันจันทร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2554

บทความสารสนเทศ 2

การวางแผนกลยุทธ์ความมั่นคงระบบสารสนเทศ เทคโนโลยีสารสนเทศมีต้นกำเนิดจากองค์กรที่แสวงหาผลกำไร ในช่วงปี คศ 1950 – 1960 โดยให้ความสำคัญในการทำงานประจำของเสมียน โดยเฉพาะในส่วนของการทำบัญชีเกี่ยวกับบัญชีเงินเดือนและบัญชีแยกประเภท ซึ่งเป็นสิ่งแรกที่ถูกทำอย่างอัตโนมัติ เมื่อคอมพิวเตอร์มีประสิทธิภาพและใช้กันอย่างกว้างขวางมากขึ้น ทำให้ความมั่นคงของสารสนเทศมีการเติบโตเพื่อรองรับทุกกระบวนการทางธุรกิจ เครือข่ายของข้อมูลก็เติบโตมากขึ้นในเวลาดังกล่าว และถูกใช้มากขึ้นเพื่อรองรับการติดต่อสื่อสารทางธุรกิจ โดยการติดต่อสื่อสารข้อมูลถูกรวมเข้ากับกับธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับคู่ค้าและ ลูกค้ามากยิ่งขึ้น การติดต่อสื่อสารข้อมูลเริ่มแรกจากระบบ Electronic Data Interchange (EDI) ในช่วงปี คศ 1970 ซึ่งในช่วงนั้น คำว่า การค้าเริ่มมีความหมายเดียวกันกับเครือข่ายข้อมูล ความเร็วและขนาดของข้อมูลมีการเพิ่มมากยิ่งขึ้น โดยการที่องค์กรขึ้นอยู่กับเทคโนโลยีสารสนเทศมากขึ้น ทำให้ระบบสารสนเทศมีระดับและความซับซ้อนที่มากขึ้น

                                    
กลยุทธ์และความมั่นคงของสารสนเทศ (Strategy and Information Security)            การวางแผนกลยุทธ์สารสนเทศมีความสำคัญยิ่งในโลกของการเปลี่ยนแปลง ประกอบด้วยแผนกลยุทธ์ย่อยที่บ่งชี้ถึงองค์ประกอบแต่ละอย่างในโครงสร้างทาง เทคโนโลยี โดยการวางกลยุทธ์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศอาจประกอบด้วยโปรแกรมประยุกต์ โครงสร้างเครือข่าย การจัดการ IT และอื่นๆ ส่วนประกอบที่สำคัญจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อองค์กร ดังนั้นในการวางกลยุทธ์จะต้องให้ความสำคัญ

            ความมั่นคงของสารสนเทศเป็นส่วนประกอบหนึ่งของกลยุทธ์ ความซับซ้อนของข้อมูลในองค์กรที่เพิ่มมากขึ้นทำให้การปกป้องข้อมูลมีความ สำคัญเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน การปกป้องไม่ใช่เพียงแค่การตรวจสอบในการเข้าถึงข้อมูลเท่านั้น แต่จะต้องมีความถูกต้องแม่นยำของข้อมูลประกอบด้วย ซึ่งข้อมูลภายในองค์กรอาจยังขาดระบบควบคุมความมั่นคงที่เพียงพอ แต่ก็ยังสามารถทำงานต่อไปได้หากอุปกรณ์การติดต่อสื่อสารและการควบคุมการเข้า ถึงของพนักงานภายในองค์กรมีความมั่นคงเพียงพอ  ส่วนของระบบเปิดที่มีการเชื่อมโยงกับคู่ค้าและลูกค้านั้น การมีระบบควบคุมความมั่นคงนับว่าเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องมีเพื่อสร้างความไว้ วางใจกันระหว่างองค์กร

            บทบาทความมั่นคงของสารสนเทศในการวางกลยุทธ์นั้นได้ถูกพัฒนาให้สามารถเก็บ ความลับและสร้างให้เป็นเครือข่ายที่มีความน่าเชื่อถือ นำเสนอประโยชน์ที่สูงสุดในการวางกลยุทธ์สำหรับองค์กร ซึ่งข้อมูลสามารถเพิ่มมูลค่าให้กับเป้าหมายขององค์กร มีการจัดการที่มีประสิทธิภาพ และเพิ่มประโยชน์ให้กับองค์กร

            การวางแผนกลยุทธ์ความมั่นคงของข้อมูลมีการสร้างโปรแกรมการรักษาความมั่นคง ของข้อมูล ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมทั้งหมดที่สนับสนุนการป้องกันข้อมูล นอกจากนั้นยังมีเทคโนโลยี กระบวนการจัดการที่เป็นแบบแผน และคำนึงถึงวัฒนธรรมองค์กร โดยโปรแกรมดังกล่าวมีส่วนช่วยสร้างระบบควบคุมที่มีประสิทธิภาพและมีการ จัดการการควบคุมอีกด้วย
วิธีการวางแผนกลยุทธ์ความมั่นคงของข้อมูล (Information Security Strategy Planning Methodology)            กลยุทธ์ความมั่นคงของข้อมูลถูกสร้างขึ้นมาโดยเฉพาะ ดูจากสภาพแวดล้อมโดยรวม เป้าหมายขององค์กร และความเป็นไปได้ในวิธีการที่จะประสบความสำเร็จในอนาคต ซึ่งกลยุทธ์ยังจะรวมถึงภารกิจ เป้าหมาย การะบวนทางธุรกิจ สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ การปฏิบัติงานภายในองค์กร และเทคโนโลยีที่ใช้ในปัจจุบันและในอนาคต

            การวางกลยุทธ์ความมั่นคงของข้อมูลที่ดีนั้นต้องประกอบด้วยวิธีการรวบรวม ข้อมูล การหาข้อเท็จจริง และการวิเคราะห์ โดยการวางแผนอย่างเป็นขั้นตอนจะช่วยพัฒนาให้องค์กรได้รับประโยชน์สูงสุด
รูปแบบการวางกลยุทธ์ความมั่นคงของข้อมูล (Information Security Strategy Planning Model)1. สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ (The Business Environment)            ความมั่นคงของข้อมูลช่วยสนับสนุนเป้าหมายขององค์กร โดยการวางกลยุทธ์ความมั่นคงของข้อมูลประกอบด้วยรูปแบบ เป้าหมาย โครงสร้าง และกระบวนการขององค์กร

            สภาพแวดล้อมทางธุรกิจจะเป็นตัวกำหนดว่าการรักษาความมั่นคงมีความจำเป็นหรือ ไม่ และยังมีผลต่อระดับความจำเป็นในการรักษาความมั่นคงด้วย โดยความมั่นคงของข้อมูลต้องสนับสนุนเป้าหมายขององค์กร กระบวนการวางแผนกลยุทธ์ความมั่นคงของข้อมูลจะต้องทำความเข้าใจในภารกิจของ องค์กร ระบบการจัดการที่เป็นทางการ และวัฒนธรรมขององค์กร

            โดยภารกิจขององค์กรคือปรัชญาพื้นฐานขององค์กร เป็นผลมาจากเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่เป็นตัวหนดลักษณะขององค์กร ส่วนระบบการจัดการที่เป็นทางการจะมีการนำเสนอในรูปของเอกสารนโยบาย วิธีการและมาตรฐานในการควบคุมการปฏิบัติงานภายในองค์กร และวัฒนธรรมองค์กรคือคุณค่า ความเชื่อ และประเพณีที่ควบคุมการปฏิบัติงานในแต่ละวัน วัฒนธรรมองค์กรเป็นส่วนที่นอกเหนือจากระบบการจัดการที่เป็นทางการ ซึ่งอาจช่วยสนับสนุนหรือขัดขวางระบบการจัดการที่กำหนดโดยองค์กรก็เป็นได้ โดยทั้งหมดที่กล่าวมานี้เป็นแนวทางในการวางกลยุทธ์ความมั่นคงของข้อมูล องค์กร
สภาพแวดล้อมภายนอกองค์กรยังมีผลกระทบต่อภาพรวมองค์กร โดยกลยุทธ์ความมั่นคงของข้อมูลจะแสดงถึงข้อเท็จจริงในเรื่องสภาวะการแข่งขัน ความต้องการของคู่ค้าและลูกค้า นอกจากนี้ยังมีอิทธิพลด้านอื่น เช่น การควบคุมของภาครัฐที่เกี่ยวข้อง การจัดการความมั่นคงของข้อมูลสำหรับคู่ค้าและลูกค้า

            การที่จะประสบความสำเร็จในการวางกลยุทธ์ความมั่นคงของข้อมูลนั้นขึ้นอยู่กับ ความเข้าใจในกระบวนการทำงานภายในองค์กร และการแข่งขันจากภายนอกองค์กร การใช้แบบอย่างที่ดีที่สุด (best practice) นับเป็นสิ่งจำเป็นในการดำเนินการ
2. มูลค่าของข้อมูล (Information Value)            ความมั่นคงของข้อมูลเกี่ยวข้องกับการป้องกันข้อมูล แหล่งที่มาของการป้องกันข้อมูลขึ้นอยู่กับมูลค่าของข้อมูล เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลกันสินค้าที่จับต้องได้ ข้อมูลถือว่าเป็นสิ่งที่ยุ่งยากในเชิงเศรษฐศาสตร์ สามารถทำซ้ำได้โดยใช้ต้นทุนที่ต่ำและมันไม่สามารถตรวจสอบได้หากถูกทำลาย แต่ถ้านำข้อมูลไปเชื่อมโยงกับข้อมูลอื่นเพื่อนำไปใช้ในการวิเคราะห์เพื่อ ตัดสินใจ ข้อมูลนั้นจะมีมูลค่าเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพ เพิ่มขึ้น
3. ความเสี่ยง (Risk)            การรักษาความมั่นคงของข้อมูลพยายามลดความไม่ชัดเจนในการแบ่งแยกความมั่นคง โดยวัตถุประสงค์ของโปรแกรมความมั่นคงของข้อมูลเพื่อลดความเสี่ยงให้อยู่ใน ระดับที่ยอมรับได้ในราคาที่เหมาะสม ซึ่งองค์กรจะเป็นผู้กำหนดว่าความเสี่ยงใดยอมรับได้ และความเสี่ยงใดยอมรับไม่ได้
แนวทางในการเข้าถึงการจัดการความเสี่ยงคือ การวิเคราะห์ความเสี่ยง โดยใช้มาตรฐานที่ได้กำหนดไว้มาพิจารณา การวิเคราะห์ความเสี่ยงจะดูจากความเป็นไปได้ของความเสียหายและทำการพิจารณา แนวทางในการแก้ปัญหาที่เหมาะสมกับแต่ละความเสี่ยง
4. กระบวนการการวางแผนกลยุทธ์ (The Strategic Planning Process)            การพัฒนากลยุทธ์ความมั่นคงของข้อมูลประกอบด้วยการหาข้อเท็จจริง การวิเคราะห์ การกำหนดเป้าหมาย และการพัฒนาโครงงานให้บรรลุเป้าหมาย โดยกระบวนการวางแผนกลยุทธ์ได้นำเครื่องมือต่างๆ มาใช้ในการจัดการ การสัมภาษณ์เพื่อหาข้อมูลควบคู่กับการจัดการ การทบทวนระบบเอกสารต่างๆที่มีอยู่ ทำการศึกษาสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ ตลอดจนการควบคุมจากภาครัฐล้วนมีบทบาทสำคัญในกระบวนการวางแผนกลยุทธ์
5. การวางแผนด้านเทคโนโลยี (Technology Plan)            การวางแผนด้านเทคโนโลยีจะบ่งบอกถึงเทคโนโลยีและเทคนิคมาตรฐานที่ช่วยสนับ สนุนการป้องกันความมั่นคงของข้อมูลในองค์กร การรักษาความมั่นคงถูกนำมาใช้ในทุกส่วนที่เกี่ยวข้องกับเครือข่าย อุปกรณ์ที่ใช้ต้องมั่นใจว่าใช้ไม่ผิดวัตถุประสงค์ โดยกลยุทธ์ด้านเทคโนโลยีความมั่นคงของข้อมูลต้องกำหนดเทคโนโลยีทีจะนำมาใช้ ให้สอดคล้องเป้าหมายของธุรกิจ
6. การวางแผนด้านการจัดการ (Management Plan)            ความมั่นคงของข้อมูลถือเป็นระบบการจัดการ ซึ่งการจัดการจะเกี่ยวข้องกับการควบคุมองค์กร รวมถึงเป็นเครื่องมือในการตัดสินใจ นอกจากนี้กลยุทธ์การรักษาความมั่นคงของข้อมูลต้องสนับสนุนกลไลการทำงานของ องค์กรด้วย
ทฤษฎีและการปฏิบัติ (Theory and Practice)            ทฤษฏีของการวางแผนการจัดการ การวางแผนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ข้อมูลทางด้านเศรษฐศาสตร์ และการวิเคราะห์ความเสี่ยงล้วนเป็นการวางกลยุทธ์ความมั่นคงของข้อมูล ทฤษฏีการจัดการได้ถูกพัฒนามาเป็นรูปแบบการวางแผนกลยุทธ์ โดยในช่วง 40 ปีที่ผ่านมา นักเศรษศาสตร์และนักบัญชีได้ศึกษาว่าข้อมูลที่เหมาะสมกับกระบวนการทางธุรกิจ นั้นเป็นอย่างไร และคุณค่าของข้อมูลสามารถวัดผลได้อย่างไร การวิเคราะห์ความเสี่ยงจะช่วยจัดการความเป็นไปได้ของเหตุการณ์ที่ไม่พึง ประสงค์ที่อาจเกิดขึ้น โดยการลดโอกาสที่จะเกิดขึ้นและลดระดับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นด้วย

            ผู้ปฏิบัติงานด้านความมั่นคงของข้อมูลต้องมีส่วนในการกำหนดกลยุทธ์ และต้องมีความเข้าใจว่าความมั่นคงของข้อมูลมีความสำคัญต่อการขับเคลื่อน กลยุทธ์ขององกรณ์และสนับสนุนให้องค์กรบรรลุเป้าหมายที่วางไว้
http://www.vcharkarn.com/varticle/41801

วันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2554

สรุปบทที่ 2

บทที่ 2
ระบบสารสนเทศ
ความหมาย
                1. ระบบ
                พจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน พ.. 2542 (2546,หน้า 933) ให้นิยามไว้ว่า หมายถึง กลุ่มของสิ่งซึ่งมีลักษณะประสานเข้าเป็นสิ่งเดียวกัน ตามหลักแห่งความสัมพันธ์สอดคล้องกันด้วยระเบียบของธรรมชาติหรือหลักเหตุผลทางวิชาการ เช่น ระบบประสาท ระบบทางเดินอาหาร ระบบจักรวาล ระบบสังคม ระบบการบริหารประเทศ
                Stair and Reynolds (2006,p.8) ให้นิยามไว้ว่า หมายถึง ชุดของส่วนประกอบหรือส่วนย่อย ซึ่งมีปฏิสัมพันธ์กันเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ อีกทั้งใช้กำหนดวิธีการทำงานของระบบในส่วนของรับเข้า ประมวลผล ส่งออก รวมทั้งผลป้อนกลับ
                2. ระบบสานสนเทศ
                Hall (2004,p.7) ให้นิยามไว้ว่า ระบบสารสนเทศหมายถึง เซต หรือการรวมตัวของกระบวนการหลายกระบวนการ สำหรับงานด้านการเก็บรวบรวมข้อมูล การประมวลผล เพื่อปรับรูปแบบของข้อมูลให้เข้าสู่รูปแบบของสารสนเทศ ตลอดจนการกระจายสารสนเทศที่เป็นผลลัพธ์สู่ผู้ใช้ เพื่อใช้สำหรับการตัดสินใจ ซึ่งอาจประมวลผลในระบบมือ หรือระบบคอมพิวเตอร์ก็ได้
                Stair and Reynolds (2006,p.17) ให้นิยามไว้ว่า ระบบสารสนเทศที่ใช้คอมพิวเตอร์ประมวลผล ประกอบด้วยชุดของฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ฐานข้อมูล โทรคมนาคม บุคลากรและกระบวนการ ที่มีการรวมตัวกันเพื่อการเก็บรวบรวม การจัดการ การจัดเก็บ ตลอดจนการประมวลผลข้อมูลให้เข้าสู่รูปแบบของสารสนเทศ
แบบจำลองระบบสารสนเทศ
                Hall (2004,p.7) ได้กำหนดแบบจำลองสารสนเทศ 7 ส่วน ดังนี้
                1. ผู้ใช้ขั้นปลาย คือ ผู้ใช้สารสนเทศที่อยู่ภายในหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกธุรกิจ ประกอบด้วยผู้ใช้ 2 กลุ่ม คือ
                กลุ่มที่ 1 ผู้ใช้ภายนอก ประกอบด้วย เจ้าหนี้เงินกู้ ผู้ถือหุ้น นักลงทุน ตัวแทนหรือนายหน้า เจ้าหน้าที่ภาษีอากร ผู้ขายและลูกค้า ตลอดจนผู้ใช้ประเภทสถาบันทางการเงิน ผู้ใช้ต้องการจะอยู่ในรูปแบบของงบการเงิน รายงานการคืนภาษีและเงินลงทุน
                กลุ่มที่ 2 ผู้ใช้ภายใน คือ ผู้บริหารระดับต่าง ๆ ขององค์การ มีหน้าที่ควบคุมดูแลการปฏิบัติงานด้านต่าง ๆ มุ่งเน้นถึงความต้องการสารสนเทศของผู้ใช้แต่ละรายเป็นสำคัญ วิเคราะห์ความต้องการของผู้ใช้สารสนเทศ โดยคำนึงถึงข้อบังคับทางกฎหมายและเศรษฐศาสตร์
                2. ต้นทางข้อมูล คือ ธุรกรรมทางการเงินที่นำเข้าสู่ระบบสารสนเทศประกอบด้วย 2 ส่วน ดังนี้
                ส่วนที่ 1 ต้นทางข้อมูลภายนอก คือ ธุรกรรมทางการเงินที่ได้รับจากภายนอก รวมทั้งข้อมูลการแลกเปลี่ยนทางการค้ากับหน่วยธุรกิจ เช่น ธุรกรรมการขายและการซื้อสินค้า
                ส่วนที่ 2 ต้นทางข้อมูลภายใน คือ ธุรกรรมทางการเงินเกี่ยวข้องกับการแลกเปลี่ยน หรือความเคลื่อนไหวของทรัพยากรภายในองค์การ เช่น การคำนวณต้นทุนวัตถุดิบ ค่าแรงงานและค่าใช้จ่ายโรงงาน
                3. การรวบรวมข้อมูล เป็นขั้นตอนแรก ซึ่งมีความสำคัญที่สุด มุ่งเน้นวัตถุประสงค์ด้านการรับข้อมูลหรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ให้เข้าสู่ระบบอย่างถูกต้อง สมเหตุสมผล โดยมีการสร้างระบบป้องกันความผิดพลาด ส่งผลให้รายงานที่เป็นผลลัพธ์มีความน่าเชื่อถือและนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง หากมีการนำเข้าข้อมูลหลายครั้ง ก็อาจเกิดภาวะข้อมูลที่มีความซับซ้อนและขัดแย้ง
                4. การประมวลผลข้อมูล จำแนกการประมวลผลได้ 2 รูปแบบ คือ
                รูปแบบที่ 1 การประมวลผลแบบกลุ่ม โดยเก็บรวบรวมเอกสารหรือรายการค้าเป็นกลุ่มก้อนภายในระยะเวลาที่กำหนด จากนั้นจึงรับข้อมูลเข้าและหรับยอดแฟ้มข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน มักใช้กับรายการที่ไม่จำเป็นต้องปรับปรุงข้อมูลทันที เช่น รายการจ่ายเงินเดือน รายการจ่ายชำระหนี้ เป็นต้น
                รูปแบบที่ 2 การประมวลแบบทันที มีการรับข้อมูลเข้าทันทีและทำการประมวลผลทันทีในทุกครั้งซึ่งอาจจะมีการประมวลผลออนไลน์ เพื่อช่วยให้ข้อมูลเป็นปัจจุบันเสมอ
                5. การจัดการฐานข้อมูล คือ หน่วยเก็บข้อมูลทางกายภาพสำหรับข้อมูลที่อาจมีความเกี่ยวข้องและไม่เกี่ยวข้องกับการเงิน ถูกจัดเก็บข้อมูลภายในตู้เอกสาร หรือในแผ่นจานแม่เหล็ก เรียงลำดับจากหน่วยที่เล็กที่สุด คือ ลักษณะประจำ ระเบียน และแฟ้มข้อมูล ในส่วนการจัดการฐานข้อมูลจะเกี่ยวข้องกับงานขั้นพื้นฐาน 3 งาน คือ การจัดเก็บ การค้นคืน และการลบ
                6. การก่อกำเนิดสารสนเทศ ประกอบด้วยกระบวนการแปลโปรแกรม การจัดข้อมูล การกำหนดรูปแบบ รวมทั้งการนำเสนอสารสนเทศต่อผู้ใช้ เช่น ใบสั่งขาย รายงาน หรือข่าวสารบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ การควบคุมข้อมูลจะเริ่มตั้งแต่การรับข้อมูลเข้า กาจัดเก็บและการประมวลผล
                7. ผลป้อนกลับ จะอยู่ในรูปแบบของรายงานที่เป็นผลลัพธ์ ซึ่งถูกส่งกลับไปยังระบบของต้นทางข้อมูลภายในหรือภายนอกก็ได้ และยังอาจถูกนำไปใช้ในฐานะข้อมูลเริ่มต้นหรือข้อมูลสำหรับการปรับเปลี่ยนกระบวนการ
บทบาทของระบบสารสนเทศ
                1. โซ่คุณค่า
                Porter (as quoted in Stair & Reynolds,2006,p.49) ได้กล่าวไว้ว่า การดำเนินงานทางธุรกิจปัจจุบัน องค์การจะต้องนำเสนอคุณค่าแก่ลูกค้าขององค์การโดยเพิ่มคุณค่าของสินค้าหรือบริการ พร้อมส่งมอบให้ลูกค้าผ่านการดำเนินงานกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อสร้างความพึงพอใจ
                1.1 การจัดต้นทาง จะเกี่ยวข้องกับการจัดการวัตถุดิบในส่วนของการจัดหาวัตถุดิบ ติดตามรอยวัตถุดิบในส่วนของโลจิสติกส์ขาเข้า รวมทั้งการจัดเก็บและการควยคุมวัตถุดิบภายในโกดังสินค้า
                1.2 การผลิต สำหรับการแปรสภาพวัตถุดิบให้เป็นสินค้า หรือบริการขั้นบริการ
                1.3 การจัดการตามทาง การจัดการตามทิศทางการไหลของสินค้าสำเร็จรูปจนถึงปลายทางของการส่งมอบให้ลูกค้า
                2. ระบบคุณค่า จะเป็นการเชื่อมโยงกิจกรรมภายใต้โซ่คุณค่าทั้งภายในและภายนอกองค์กรภายใต้รูปแบบโซ่อุปทาน โดยการใช้ระบบสารสนเทศเป็นเครื่องมือ มักอาศัยการดำเนินงานด้านการจัดการโซ่อุปทาน และการจัดการลูกค้าสัมพันธ์ มุ่งเน้นด้านบรรลุเป้าหมาย
                3. การสนับสนุนงานขององค์กร
                O’brien (2005,p.8) ได้กล่าวในส่วนของการใช้เพื่อสนับสนุนการทำงานขององค์การภายใต้โซ่คุณค่าและระบบคุณค่า 3 ลักษณะ ดังนี้
                3.1 การสนับสนุนกระบวนการทางธุรกิจ เช่น การจัดเก็บประวัติการซื้อของลูกค้า
                3.2 การสนับสนุนการตัดสินใจ เช่น การลดหรือเพิ่มสายผลิตภัณฑ์ หรือการตัดสินใจลงทุนต่างๆ
                3.3 การสนับสนุนความได้เปรียบเชิงการแข่งขัน เช่น ร้านค้าปลีกมีการติดตั้งจอภาพสัมผัส ณ จุดที่ลูกค้าเลือกซื้อสินค้า เพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า
                4. การเพิ่มมูลค่าให้องค์การ
                ระยะที่ 1 การลดต้นทุน และการเพิ่มประสิทธิภาพ มุ่งเน้นด้านการนำสารสนเทศที่ได้รับจากการประยุกต์ด้านต่างๆ มาเป็นข้อมูล เพื่อพัฒนาหรือปรับปรุงการทำงาน
                ระยะที่ 2 การสร้างความได้เปรียบเชิงการแข่งขัน เช่น การเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีและการเสริมสร้างด้านนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง เป็นต้น
                ระยะที่ 3 การจัดการเชิงผลการปฏิบัติงาน เพื่อสร้างตัวชี้วัดประสิทธิผล โดยมาตรการที่ใช้ ก็คือ ประสิทธิผล อัตราผลตอบแทนการลงทุน

วิวัฒนาการของระบบสารสนเทศ
                การใช้ระบบสารสนเทศในเริ่มแรกของธุรกิจ ใช้ระบบสารสนเทศเพื่อช่วยสนับสนุนการทำงานประจำที่ซ้ำ ๆ กัน ในรูปแบบของระบบประมวลผลธุรกรรม (TPS) ในเวลาต่อมาองค์การได้พัฒนาระบบสารสนเทศในรูปแบบของสารสนเทศเพื่อการจัดการ (MIS) เพื่อเข้าถึง จัดโครงสร้าง สรุป และแสดงผลสารสนเทศ
                ต่อมา ได้มีการขยายขีดความสามารถของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ จึงได้มีการพัฒนาระบบประยุกต์ เพื่อช่วยสนับสนุนงานที่ไม่ได้เกิดขึ้นเป็นประจำในรูปแบบของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ ( DSS) ในที่สุด ธุรกิจเกิดความสนใจด้านใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อแก้ปัญหาต่าง ๆ โดยมีการพัฒนาระบบประยุกต์เชิงพาณิชย์ในนามของระบบอัจฉริยะ (IS) เช่น ระบบผู้เชี่ยวชาญ (ES)
                นวัตกรรมหลักที่วิวัฒนาการมาจากระบบสารสนเทศที่ใช้สนับสนุนงาน คือ การพัฒนาโกดังข้อมูล ซึ่งเป็นฐานข้อมูลที่ถูกออกแบบเฉพาะด้านสำหรับสนับสนุนการตัดสินใจ สนับสนุนผู้บริหาร เป็นส่วนหนึ่งของระบบสารสนเทศด้านอัจฉริยะทางธุรกิจ (BIS)               
                องค์การยังค้นพบว่าสามารถปรับปรุงกิจกรรมภายในองค์การ ด้วยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและระบบสารสนเทศมาช่วยสนับสนุนด้านการสับเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ( EDI) มุ่งเน้นการแลกเปลี่ยนเอกสารที่เป็นมาตรฐานของธุรกิจ
                สรุปได้ว่าความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบที่แตกต่างกันของระบบสนับสนุนด้านต่าง ๆ ดังนี้
1.             แต่ละระบบมีลักษณะเฉพาะที่จำแนกได้เป็นหนึ่งระบบ
2.             มีการเชื่อมต่อสายงานด้านสารสนเทศระหว่างระบบต่าง ๆ
3.             ระบบสารสนเทศแต่ละระบบ สามารถเชื่อมต่อกันภายใต้รูปแบบของระบบลูกผสม
4.             เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี ความสัมพันธ์ และการประสานงาน ระหว่างระบบสารสนเทศที่แตกต่างกัน สามารถเกิดขึ้นได้อย่างต่อเนื่อง
การจำแนกประเภทระบบสารสนเทศ
                1. ระบบสารสนเทศตามหน้าที่งาน เป็นการรองรับการทำงานของแผนกต่าง ๆ จำแนกความรับผิดชอบตามหน้าที่ขององค์การ นอกจากนี้มีการใช้ระบบสารสนเทศพิเศษซึ่งปฏิบัติหน้าที่พิเศษข้ามแผนกงานหลายแผนก ในส่วนของการประมวลผลธุรกรรม
                2.  ระบบสารสนเทศวิสาหกิจ จะเกี่ยวข้องกับการเชื่อมต่อระบบประยุกต์ของแต่ละหน้าที่งานเข้ากับสารสนเทศวิสาหกิจ เรียกว่า การบูรณาการระบบสารสนเทศ
                ศุภิสราพร สุธาทิพยะรัตน์ (2548,หน้า 8) ได้จำแนกออกเป็น 2 ประเภท คือ
                ประเภทที่ 1 ระบบสารสนเทศส่วนบุคคล ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ และเพิ่มผลผลิตด้านการทำงานของบุคคลในองค์การ เช่น ระบบวิเคราะห์การขาย
                ประเภทที่ 2 ระบบสารสนเทศกลุ่มร่วมงาน ซึ่งช่วยเสริมประสิทธิภาพ และเพิ่มผลผลิตด้านการทำงานของกลุ่มบุคคล โดยมีเป้าหมายการทำงานและการใช้ข้อมูลร่วมกัน
                Turban et al.(2006,p.296) ได้ยกตัวอย่างระบบสารสนเทศที่ใช้ร่วมกันภายในวิสาหกิจ ดังนี้
                1. ระบบสารสนเทศด้านการวางแผนทรัพยากรองค์กร
                2. ระบบสารสนเทศด้านการจัดการลูกค้าสัมพันธ์
                3. ระบบสารสนเทศด้านการสนับสนุนการตัดสินใจ
                4. ระบบสารสนเทศด้านการจัดการความรู้
                5. ระบบสารสนเทศด้านอัจฉริยะทางธุรกิจ
                6. ระบบสารสนเทศด้านอัจฉริยะอื่น ๆ
                3. ระบบสารสนเทศระหว่างองค์การ (IOS) จะเกี่ยวข้องกับสายงานด้านสารสนเทศตั้งแต่ 2 องค์การขึ้นไป เน้นด้านการเพิ่มประสิทธิภาพของการประมวลผลธุรกรรม ให้ความสนับสนุนกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างองค์การ จึงมุ่งตอบสนองแรงกดดันทางธุรกิจ 2 ประการ คือ
                ประการที่ 1 ความปรารถนาด้านการลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพและความทันต่อเวลา
                ประการที่ 2 ความต้องการเชื่อมต่อระบบสารสนเทศขององค์การกับระบบสารสนเทศของหุ้นส่วน
-                   ลดต้นทุนธุรกรรม
-                   เพิ่มคุณภาพและขจัดจ้อผิดพลาดของสายงาน
-                   ลดช่วงเวลาของการทำคำสั่งซื้อของลูกค้าให้บรรลุ
-                   กำจัดกระบวนการที่ใช้กระดาษ
-                   โอนย้ายและประมวลผลสารสนเทศได้ง่ายขึ้น
-                   สร้างความสัมพันธ์ระหว่างองค์การกับลูกค้าและผู้จัดหา
                ในการติดตั้งใช้งานไอโอเอส จะต้องมีการสร้างเครือข่ายการสื่อสาร โดยอาจเลือกใช้เครือข่ายส่วนตัว หรือเครือข่ายสาธารณะ มักปรากฏรูปแบบ 8 รูปแบบ ดังนี้
                รูปแบบที่ 1 ระบบการค้าแบบธุรกิจสู่ธุรกิจ
                รูปแบบที่ 2 ระบบสนับสนุนการค้าแบบธุรกิจสู่ธุรกิจ
                รูปแบบที่ 3 ระบบครอบคลุมทั่วโลก
                รูปแบบที่ 4 การโอนเงินอิเล็กทรอนิกส์
                รูปแบบที่ 5 กรุ๊ปแวร์
                รูปแบบที่ 6 การส่งสารแบบรวม
                รูปแบบที่ 7 ฐานข้อมูลใช้ร่วมกัน
                รูปแบบที่ 8 ระบบที่ใช้สนับสนุนบริษัทเสมือน
ระบบสารสนเทศบนเว็บ
                Turban et al. (2006,p.71) ได้ให้นิยามไว้ว่า หมายถึง ระบบประยุกต์ซึ่งอาศัยอยู่บนเครื่องบริการ หรือแม่ข่าย  ในส่วนการเข้าถึงข้อมูลอาจทำได้โดยใช้โปรแกรมค้นดูเว็บจากสถานที่ใด ๆของโลกทางเว็บ ในการเชื่อมโยงโปรแกรมด้านลูกข่ายกับระบบประยุกต์บนเว็บโดยใช้โพรโทคอลของอินเตอร์เน็ต มีลักษณะเฉพาะ 2 ประการ คือ ประการที่ 1 สร้างเนื้อหาหรือข้อมูลจะถูกปรับให้เป็นปัจจุบันทันที ประการที่สอง การเข้าถึงข้อมูลบนเว็บด้วยวิธีสากลที่อาศัยเครือข่ายการสื่อสารหลัก ดังนี้
                1. อินเตอร์เน็ต หรือเน็ต คือ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ซึ่งถูกนำมาใช้แพร่หลายอย่างทั่วโลก สามารถรับสารสนเทศจากคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นได้ หรือในบางครั้งก็อาจเป็นการคุยโต้ตอบโดยตรงกับผู้ใช้คอมพิวเตอร์เครื่องอื่นผ่านทางอินเตอร์เน็ต
                2. อินทราเน็ต คือ การใช้เทคโนโลยีเว็บสำหรับการสร้างเครือข่ายส่วนตัว ซึ่งมักถูกการจำกัดการใช้งานเฉพาะภายในองค์การ โดยใช้เครือข่ายเฉพาะที่ (LAN) ร่วมกับโพรโตคอลทีซีพี /ไอพี เพื่อสร้างแบบฉบับของระบบแลนที่มีความสมบูรณ์
                3. เว็บศูนย์รวมวิสาหกิจ คือ เว็บไซต์ที่ตั้งเกตเวย์ เพื่อใช้ควบคุมการเข้าถึงสารสนเทศของบริษัทจากจุดเพียงจุดเดียว โดยมีการรวมตัวของสารสนเทศจากหลาย ๆ แฟ้มข้อมูลและส่งผ่านสารสนเทศไปยังผู้ใช้
                4. เอกซ์ทราเน็ต ซึ่งจะเชื่อมต่อกับอินทราเน็ตผ่านทางอินเทอร์เน็ต โดยมีการเสริมกลไกด้านความมั่นคงทางอินเทอร์เน็ตและฟังก์ชันงาน ตลอดจนมีการสร้างรูปแบบเครือข่ายเสมือนจริงซึ่งอนุญาตให้ผู้ใช้ทางไกลสามารถเชื่อมต่อระบบอินเทอร์เน็ตกับอินทราเน็ตหลักขององค์การได้
                5. ระบบอีคอมเมิร์ชบนเว็บ มักจะมีความเกี่ยวข้องกับธุรกรรมต่าง ๆ ซึ่งเกิดขึ้นภายใต้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ คือ การประกอบธุรกรรมในรูปแบบธุรกิจสู่ธุรกิจ โดยมีการจัดซื้อวัสดุและชิ้นส่วนเข้าบริษัท มักจะถูกกระตุ้นด้วยจำนวนครั้งของการเข้าถึงข้อมูลอินเทอร์เน็ต
                6. ตลาดอิเล็กทรอนิกส์ Turban et al. (2006,p.73) ได้ให้นิยามว่า คือ เครือข่ายการตอบโต้และความสัมพันธ์ในการแลกเปลี่ยนสารสนเทศ ผลิตภัณฑ์และบริการ ตลอดจนการรับชำระเงิน
                7. การแลกเปลี่ยนอีเลกทรอนิกส์ คือ สถานที่ซื้อขายสาธารณะบนเว็บที่ซึ่งผู้ซื้อและผู้ขายจำนวนมากมีการตอบโต้กันแบบพลวัต และยังเป็นสถานที่ประกอบการค้าสำหรับโภคภัณฑ์
                8. คอมพิวเตอร์เคลื่อนที่และการพาณิชย์เคลื่อนที่ คือ ตัวอย่างระบบคอมพิวเตอร์ที่ออกแบบสำหรับลูกจ้างเคลื่อนที่และอื่น ๆ ซึ่งผู้ใช้มักเกิดความต้องการด้านการเชื่อมต่อเข้ากับระบบสารสนเทศขององค์การในทันที โดยใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่ ตลอดจนสภาพแวดล้อมอื่น ๆ
อ้างอิง : รุจิจันทร์ พิริยะสงวนพงศ์. สารสนเทศทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2549.



บทความสารสนเทศ 1

ปัญญาประดิษฐ์จ้อได้ไม่ผิดมนุษย์

โปรแกรมเมอร์ชาวอังกฤษพัฒนา “ปัญญาประดิษฐ์” สามารถสนทนาตอบโต้กับคู่สนทนาได้เนียน จนคู่สนทนาแยกไม่ออกว่า คุยกับคน หรือคุยกับคอมพิวเตอร์ คว้ารางวัลแข่งปัญญาประดิษฐ์สี่ล้านกว่าบาทไปครอง รอลโล คาร์เพนเตอร์ นักธุรกิจชาวอังกฤษ ได้คิดค้นระบบปัญญาประดิษฐ์ชื่อว่า “โจแอน” และส่งเข้าแข่งขันโครงการคอมพิวเตอร์คิดเหมือนมนุษย์ ซึ่งจะต้องผ่านการทดสอบสำคัญที่เรียกว่า “การทดสอบทัวริง” เพื่อดูว่า คอมพิวเตอร์สามารถสนทนาตอบโต้เรื่องยากๆ ได้หรือไม่การแข่งขันพัฒนาระบบปัญญาประดิษฐ์ ได้จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยฮิวจ์ โลปเนอร์ นักการกุศลชาวนิวยอร์ก ตั้งเงินรางวัลสำหรับผู้ชนะไว้ 1 แสนดอลลาร์ สำหรับโปรแกรมที่สามารถหลอกให้คณะกรรมการคิดว่าเขาคุยกับคนจริงๆ อยู่ตลอด 16 ปีที่ผ่านมา ปรากฏว่า ยังไม่มีใครที่สามารถผ่านการทดสอบและคว้ารางวัลก้อนนี้ไป และในการทดสอบครั้งล่าสุดที่จัดขึ้นในมหาวิทยาลัยลอนดอน คณะกรรมการได้ “แชท” กับ “โจแอน” โดยพิมพ์ข้อความสนทนาตามปกติเหมือนแชทกับเพื่อนฝูงผ่านอินเทอร์เน็ต กับโปรแกรมที่เข้าประกวดทั้งหมด ก่อนที่จะลงความเห็นว่า “โจแอน” คือผู้ชนะ เป็นสมองกลที่เหมือนมนุษย์ที่สุดคณะกรรมการตัดสินให้คาร์เพนเตอร์ได้รับ รางวัลเหรียญทองแดง พร้อมเงินรางวัล 2,000 ดอลลาร์ หรือประมาณ 74,000 บาทไปครอง ปีที่แล้วเขาส่งโปรแกรมปัญญาประดิษฐ์ชื่อ “จอร์จ” และคว้ารางวัลมาได้เช่นกัน สำหรับเทคโนโลยีเบื้องหลังความสำเร็จนี้ มีชื่อว่า “แจบเบอร์แวคกี”แจบเบอร์แวคกี เป็นเทคโนโลยีที่ออกแบบมาให้สั่งสมประสบการณ์ จากที่บทสนทนาที่เคยโต้ตอบกับมนุษย์ และเก็บไว้ในคลังสำหรับดึงมาใช้สนทนาครั้งต่อไป คาร์เพนเตอร์เคยส่งเทคโนโลยีนี้เข้าประกวดรางวัลโลเอบเนอร์ ตั้งแต่ปี 2546 และพัฒนาต่อมาจนโดดเด่นเหนือกว่าคู่แข่งรายอื่น ยิ่งคนเข้าไปคุยผ่านระบบนี้มากเท่าไร ฐานข้อมูลการสนทนาที่จะถูกนำมาใช้ยิ่งเพิ่มขึ้นเท่านั้น ผู้สนใจสามารถทดลองเข้าไปแชทกับปัญญาประดิษฐ์ได้ที่ www.jabberwacky.com

ปัจจุบัน คาร์เพนเตอร์ทำงานอยู่กับบริษัทคอลเซ็นเตอร์ เพื่อฝึกฝนบรรดาสมองกลให้เข้าใจวิธีการโต้ตอบกับมนุษย์ให้ดียิ่งขึ้น อนาคตหุ่นยนต์เหล่านี้จะถูกนำไปใช้บริการแทนพนักงาน แต่บรรดาผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่า หากโปรแกรมนี้จะสำเร็จได้ก็คงต้องใช้เวลาหลายปีโปรแกรมเมอร์ชาวอังกฤษพัฒนา “ปัญญาประดิษฐ์” สามารถสนทนาตอบโต้กับคู่สนทนาได้เนียน จนคู่สนทนาแยกไม่ออกว่า คุยกับคน หรือคุยกับคอมพิวเตอร์ คว้ารางวัลแข่งปัญญาประดิษฐ์สี่ล้านกว่าบาทไปครอง  รอลโล คาร์เพนเตอร์ นักธุรกิจชาวอังกฤษ ได้คิดค้นระบบปัญญาประดิษฐ์ชื่อว่า “โจแอน” และส่งเข้าแข่งขันโครงการคอมพิวเตอร์คิดเหมือนมนุษย์ ซึ่งจะต้องผ่านการทดสอบสำคัญที่เรียกว่า “การทดสอบทัวริง” เพื่อดูว่า คอมพิวเตอร์สามารถสนทนาตอบโต้เรื่องยากๆ ได้หรือไม่ การแข่งขันพัฒนาระบบปัญญาประดิษฐ์ ได้จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยฮิวจ์ โลปเนอร์ นักการกุศลชาวนิวยอร์ก ตั้งเงินรางวัลสำหรับผู้ชนะไว้ 1 แสนดอลลาร์ สำหรับโปรแกรมที่สามารถหลอกให้คณะกรรมการคิดว่าเขาคุยกับคนจริงๆ อยู่ ตลอด 16 ปีที่ผ่านมา ปรากฏว่า ยังไม่มีใครที่สามารถผ่านการทดสอบและคว้ารางวัลก้อนนี้ไป และในการทดสอบครั้งล่าสุดที่จัดขึ้นใน
มหาวิทยาลัยลอนดอน คณะกรรมการได้ “แชท” กับ “โจแอน” โดยพิมพ์ข้อความสนทนาตามปกติเหมือนแชทกับเพื่อนฝูงผ่านอินเทอร์เน็ต กับโปรแกรมที่เข้าประกวดทั้งหมด ก่อนที่จะลงความเห็นว่า “โจแอน” คือผู้ชนะ เป็นสมองกลที่เหมือนมนุษย์ที่สุด คณะกรรมการตัดสินให้คาร์เพนเตอร์ได้รับรางวัลเหรียญทองแดง พร้อมเงินรางวัล 2,000 ดอลลาร์ หรือประมาณ 74,000 บาทไปครอง ปีที่แล้วเขาส่งโปรแกรมปัญญาประดิษฐ์ชื่อ “จอร์จ” และคว้ารางวัลมาได้เช่นกัน สำหรับเทคโนโลยีเบื้องหลังความสำเร็จนี้ มีชื่อว่า “แจบเบอร์แวคกี” แจบเบอร์แวคกี เป็นเทคโนโลยีที่ออกแบบมาให้สั่งสมประสบการณ์ จากที่บทสนทนาที่เคยโต้ตอบกับมนุษย์ และเก็บไว้ในคลังสำหรับดึงมาใช้สนทนาครั้งต่อไป คาร์เพนเตอร์เคยส่งเทคโนโลยีนี้เข้าประกวดรางวัลโลเอบเนอร์ ตั้งแต่ปี 2546 และพัฒนาต่อมาจนโดดเด่นเหนือกว่าคู่แข่งรายอื่น ยิ่งคนเข้าไปคุยผ่านระบบนี้มากเท่าไร ฐานข้อมูลการสนทนาที่จะถูกนำมาใช้ยิ่งเพิ่มขึ้นเท่านั้น ผู้สนใจสามารถทดลองเข้าไปแชทกับปัญญาประดิษฐ์ได้ที่ www.jabberwacky.com
ปัจจุบัน คาร์เพนเตอร์ทำงานอยู่กับบริษัทคอลเซ็นเตอร์ เพื่อฝึกฝนบรรดาสมองกลให้เข้าใจวิธีการโต้ตอบกับมนุษย์ให้ดียิ่งขึ้น อนาคตหุ่นยนต์เหล่านี้จะถูกนำไปใช้บริการแทนพนักงาน แต่บรรดาผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่า หากโปรแกรมนี้จะสำเร็จได้ก็คงต้องใช้เวลาหลายปี 
http://www.bizcom.dusit.ac.th/Web_MIS/D1/D1_48132792167_TEERAPPOL_WK3/D1_48132792167_TEERAPPOL_WK3.html

วันพฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2554

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 1


แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 1
1. จงเปรียบเทียบข้อแตกต่างของ ข้อมูลและ สารสนเทศมาพอเข้าใจ
                ข้อมูล คือ คำพรรณนาถึงสิ่งของ เหตุการณ์ กิจกรรม และธุรกรรม ซึ่งถูกบันทึก จำแนกและจัดเก็บไว้ในแหล่งเก็บข้อมูล แต่ยังไม่มีการจัดโครงสร้างเพื่อถ่ายโอนไปยังสถานที่เฉพาะเจาะจง โดยข้อมูลอาจอยู่ในรูปของตัวอักษร ตัวเลข รูปภาพ ส่วนสารสนเทศ คือ ข้อมูลที่ถูกจัดโครงสร้างให้อยู่ในรูปแบบที่มีความหมายและมีมูลค่าต่อผู้รับ โดยมีการนำข้อมูลผ่านกระบวนการการประมวลผล และจัดให้อยู่ในรูปแบบที่ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งาน อีกทั้งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจได้  เช่น ผลการเรียนเฉลี่ย (GPA)
2. การจัดแบ่งหน้าที่งานทางธุรกิจมีความสัมพันธ์กับโครงสร้างองค์กรอย่างไร
                หน้าที่งานทางธุรกิจหรือฟังก์ชันทางธุรกิจ มักใช้เพื่อแบ่งองค์การเข้าสู่เขตพื้นที่รับผิดชอบภายใต้ภาระงาน มักกำหนดเขตพื้นที่ของแต่ละหน้าที่งาน ตามการไหลของทรัพยากรจากหน้าที่หนึ่งไปสู่อีกหน้าที่หนึ่ง ซึ่งมีความสัมพันธ์กับโครงสร้างขององค์การ แสดงให้เห็นถึงอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของบุคลากรในองค์การ  มีส่วนช่วยให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ เข้าใจการจำแนกความแตกต่างของภาระงาน อำนาจหน้าที่
3. การลงทุนเพื่อจัดตั้งธุรกิจใหม่ จะต้องดำเนินการตามขั้นตอนอย่างไร
                เริ่มจากเป็นเจ้าของกิจการคนเดียว เมื่อธุรกิจเติบโตก็จะมีการร่วมลงทุนกันกลายเป็นห้างหุ้นส่วน บริษัท จากนั้นก็จะเงินมาลงทุนร่วมกัน เพื่อจัดตั้งหน่วยธุรกิจขึ้นตามวัตถุประสงค์และรูปแบบการลงทุนของธุรกิจ หากเงินทุนไม่เพียงพอก็อาจจะกู้ยืมเงินจากแหล่งกู้ยืมภายนอกกิจการ ในส่วนการดำเนินงานเป็นการดำเนินงานด้านต่าง ๆ ที่จำเป็นของธุรกิจ โดยหมายถึง
                กิจกรรมที่ 1 การจัดหาวัตถุดิบ สินค้า หรือทรัพยากรอื่น ๆ เพื่อใช้ในการผลิตสินค้าหรือบริการ
                กิจกรรมที่ 2 การใช้ทรัพยากร เพื่อผลิตสินค้าหรือบริการนั้น ๆ
                กิจกรรมที่ 3 การขาย ตลอดจนการจัดจำหน่ายสินค้าหรือบริการต่อลูกค้า
4. จงเปรียบเทียบการประยุกต์ใช้ข้อมูลของระดับปฏิบัติการและระดับบริหาร
                การใช้ข้อมูลของธุรกิจภายใต้ระบบปฏิบัติการ เปรียบเสมือนกระจกเงาที่คอยสอดส่องดูแลงานด้านต่าง ๆ เช่น การประมวลผล การบันทึก การรายงานเหตุการณ์ทางธุรกิจ โดยมีการใช้สารสนเทศช่วยสนับสนุนการปฏิบัติงาน ส่วนข้อมูลระดับบริหาร เป็นเครื่องมือช่วยสนับสนุนกิจกรรมด้านการจัดการ ตลอดจนการตัดสินใจของธุรกิจ โดยจำแนกวิธีการที่ผู้จัดการหรือผู้บริหารนิยมใช้ประโยชน์จากสารสนเทศได้ 2 วิธี คือ วิธีที่ 1 ใช้ติดตามการปฏิบัติงานในปัจจุบัน และวิธีที่ 2 ใช้สร้างความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของบริษัท
5. ผู้บริหารของบริษัทได้รับทราบงบการเงิน ในช่วงเวลาที่ต้องตัดสินใจ แต่ข้อมูลในงบการเงินนั้นมีข้อผิดพลาดเล็กน้อย จะมีผลต่อมูลค่าของสารสนเทศที่ผู้บริหารได้รับอย่างไร
                จะมีผลให้เกิดมูลค่าของสารสนเทศที่วัดได้ในระดับต่ำ เช่น เกิดความไม่แน่นอนในการตัดสินใจทางเลือกของผู้บริหาร ไม่สามารถชี้ให้เห็นสถานการณ์ที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลจากฝ่ายบริหาร
6. กรณีที่ผู้บริหารในระดับควบคุมปฏิบัติการ ได้รับสารสนเทศที่มีรายละเอียดไม่พอต่อการตัดสินใจอาจก่อให้เกิดผลกระทบอย่างไร
                จะส่งผลให้เกิดผลลัพธ์ที่ตรงกันข้ามกับความต้องการ ซึ่งอาจประกอบไปด้วย บุคคล อุปกรณ์ องค์การ นโยบาย และกระบวนงานได้
7. การสั่งการของผู้บริหารระดับสูง ในเรื่องนโยบายเงินปันผลต่อผู้บริหารระดับกลางให้ควบคุมการจ่ายเงินปันผลให้แก่พนักงานทุกคน ถือเป็นสายงานสารสนเทศในลักษณะใด
                ถือเป็นสายงานด้านสารสนเทศในแนวดิ่ง เป็นการงบประมาณและสั่งการ ถือเป็นหน้าที่ของผู้บริหารที่จะทำการวางแผนด้านงบประมาณและออกคำสั่งปฏิบัติการในเรื่องต่าง ๆ
8. จงยกตัวอย่างโครงสร้างกระบวนการทางธุรกิจของบริษัทบริการโทรศัพท์มือถือ
                1. กระบวนการปฏิบัติการ เช่น ด้านการผลิต มีการผลิตชิ้นส่วนมือถือหรืออะไหล่ในแบรนด์ของตนเอง การตลาดและการขาย เพื่อประชาสัมพันธ์ในรูปแบบสื่อโฆษณาต่าง ๆ เช่น โทรทัศน์ วิทยุ ใบปลิว การจัดงาน Event และการคลังสินค้า มีการจัดเก็บสินค้าสำรองไว้ เมื่อสินค้าขาดตลาด
                2. กระบวนการจัดการ เป็นการวางแผนและควบคุมการปฏิบัติงานภายในองค์การ คือ การวางแผนซึ่งผู้บริหารอาจจะเป็นคนวางแผนเอง การควบคุม ทำให้การปฏิบัติงานออกมามีประสิทธิภาพและช่วยในการตัดสินใจ
                3. กระบวนการสารสนเทศ เพื่อรวบรวมจัดเก็บและจัดการข้อมูล และนำเสนอให้แก่ผู้ใช้สารสนเทศ เช่น หากนำข้อมูลสารสนเทศมาใช้ในการตัดสินใจของผู้บริหารได้
9. องค์การดิจิทัลมีความแตกต่างกับองค์การธุรกิจทั่วไปอย่างไร
                องค์การดิจิทัลเป็นองค์การที่มีการทำงานในหลากหลายมิติ โดยอาศัยด้านดิจิทัลและสื่อดิจิทัลจัดการข้อมูลความสัมพันธ์ทางธุรกิจ โดยเฉพาะส่วนที่ติดต่อกับลูกค้า ผู้จัดหา รวมทั้งลูกจ้างขององค์การ ส่วนองค์การธุรกิจทั่วไป เป็นองค์การที่ไม่ได้ใช้สื่อดิจิทัลในการจัดเก็บข้อมูลความสัมพันธ์ทางธุรกิจ ผลเสียที่ได้ คือ การตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมและการรับรู้ช้ากว่าองค์การดิจิทัล
10. องค์การควรดำเนินการอย่างไร เพื่อสร้างความได้เปรียบเหนือคู่แข่งขันทางธุรกิจ
                ควรมีการปรับโครงสร้างด้วยการใช้รูปแบบขององค์การดิจิทัล โดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศและเครือข่ายคอมพิวเตอร์มาใช้สนับสนุนการดำเนินงานทางธุรกิจ และมีการพัฒนากลยุทธ์ของบริษัทซึ่งช่วยเพิ่มส่วนแบ่งตลาดและกำไรทางธุรกิจได้ รวมทั้งด้านการผลิตตามคำสั่งและผลิตแบบสั่งทำในปริมาณมาก เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้รวดเร็วและถูกต้อง รวมทั้งลดต้นทุน

ที่มา : รุจิจันทร์ พิริยะสงวนพงศ์. สารสนเทศทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2549.