Powered By Blogger

วันจันทร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2554

สรุปบทที่ 8

บทที่ 8
สารสนเทศทางการเงิน
แนวคิดและความหมาย
                O’brien (2005, p.246) ได้ให้นิยามไว้ว่า ระบบสารสนเทศทางการเงิน หมายถึง ระบบที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้สนับสนุนงานของนักบริหารธุรกิจ ในการตัดสินใจเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการเงิน รวมทั้งการจัดสรรและควบคุมทรัพยากรทางการเงินของธุรกิจ
                Laudon and Laudon (2005, p.52) ได้ให้นิยามไว้ว่า ระบบสารสนเทศทางการเงิน หมายถึง ระบบที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อใช้สนับสนุนการจัดการทรัพย์สินด้านการเงิน เช่น เงินสด หุ้นสามัญ หุ้นกู้ และการลงทุนอื่น ๆ เพื่อให้รับผลตอบแทนสูงสุด รวมทั้งการจัดการด้านการประเมินสินทรัพย์ให้เป็นทุนของธุรกิจ เพื่อให้ได้สารสนเทศที่ใช้สำหรับการตัดสินใจทางการเงินที่มุ่งเน้นถึงผลตอบแทนการลงทุนที่ดีที่สุด ซึ่งแบ่งแกเป็น 3 ระบบย่อย ดังนี้
                1. ระบบในระดับกลยุทธ์ มุ่งที่จะพัฒนาเป้าหมายการลงทุน และผลกำไรในระยะยาว
                2. ระบบในระดับบริหาร โดยใช้สารสนเทศช่วยผู้บริหารด้านการติดตาม ดูแล ควบคุมการจัดหา
                3. ระบบในระดับปฏิบัติการ เน้นการติดตามรอยกระแสเงินทุนในบริษัทผ่านธุรกรรมต่าง ๆ
                Stair and Reynolds (2006, p.465) ได้ให้นิยามไว้ว่า ระบบสารสนเทศทางการเงิน หมายถึง ระบบที่มีการนำเสนอสารนสนเทศทางการเงินให้แก่ผู้บริหารในองค์การ ตลอดจนกลุ่มบุคคลทั่วไปภายนอกองค์การที่จำเป็นต้องตัดสินใจรายวันทางการเงิน โดยมีจุดมุ่งหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ ดังนี้
                1. รวบรวมสารสนเทศทางการเงินและปฏิบัติงาน
                2. ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย ผ่านตัวกลาง คือ เว็บเพจทางอินทราเน็ต
                3. เปิดโอกาสให้มีการวิเคราะห์ข้อมูลระยะสั้นตลอดเวลา
                4. วิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินได้หลายมิติ
                5. วิเคราะห์กิจกรรมทางการเงินทั้งในอดีตและปัจจุบัน
                6. ติดตามและควบคุมการใช้เงินทุนตลอดระยะเวลาการดำเนินงาน
การจัดการทางการเงิน
                1. แนวคิดและความหมาย
                เคียวน์, มาร์ติน, เพดดี และสก็อต (Keown, Martin, Petty and Scott, 2545, p.3) ได้ให้นิยามไว้ว่า การจัดการทางการเงิน หมายถึง กระบวนการซึ่งเกี่ยวข้องกับการรักษาไว้ และการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ ตลอดจนการตัดสินใจทางการเงิน เพื่อสร้างความมั่งคั่งสูงสุดให้แก่บริษัทและผู้ถือหุ้น
                2. ขอบเขตงานทางการเงิน
                มัลลิกา ต้นสอน และอดิศักดิ์ พันธ์หอม (2546, p.12) ได้จำแนกขอบเขตานทางการเงิน ดังนี้
                2.1 ตลาดการเงิน จะมีส่วนเกี่ยวข้องกับสถาบันทางการเงินหรือแหล่งจัดหาเงินทุนอื่น ๆ
                                2.1.1 ตลาดเงิน คือ ตลาดที่จำหน่ายหลักทรัพย์ รวมทั้งตราสารที่อายุไม่เกิน 1 ปี
                                2.1.2 ตลาดทุน คือ ตลาดที่จำหน่ายหลักทรัพย์ รวมทั้งตราสารที่อายุเกิน 1 ปี โดยจำแนกเป็น ตลาดแรกและตลาดรอง
                2.2 การลงทุน เป็นการตัดสินใจการลงทุนโดยคำนึงถึงการใช้เงินทุนที่ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด มาว่าจะเป็นการซื้อขาย หรือการครอบครองสินทรัพย์
                2.3 การเงินธุรกิจ เป็นการจัดการทางการเงินในองค์การ
                3. หน้าที่ทางการเงิน          
                3.1 การพยากรณ์และการวางแผน คือ หน้าที่ด้านการพยากรณ์ถึงความต้องการเงินทุนในอนาคต และดำเนินการวางแผนทางการเงินตามวัตถุประสงค์ของธุรกิจ
                3.2 การจัดหาเงินทุน คือ หน้าที่ด้านการจัดหาเงินทุน เพื่อรองรับการลงทุนตามความต้องการเงินทุนและแผนที่กำหนดไว้ โดยคัดเลือกแหล่งเงินทุนซึ่งมีต้นทุนต่ำที่สุด
                3.3 การจัดการลงทุน คือ หน้าที่ในการจัดสรรเงินทุน เพื่อรองรับความเติบโตของธุรกิจ
                3.4 การจัดการเงินทุน สำหรับเงินทุนที่จัดหามา แต่ยังไม่ได้จัดสรรให้ลงทุนในสินทรัพย์ใด ๆ จะต้องมีการจัดการเงินทุนให้เกิดมูลค่าสูงสุด สันติ กีระนันทน์ (2546, หน้า 5-6) ได้จำแนกไว้ ดังนี้
                                3.4.1 การจัดการสภาพคล่อง ถือเป็นการจัดการเงินทุนในระยะสั้น โดยตั้งเป้าหมายเพื่อความอยู่รอดขององค์การ
                                3.4.2 การจัดการเติบโต ถือเป็นการจัดการเงินทุนในระยะยาว เพื่อสร้างความเจริญก้าวหน้าให้กับองค์การ
                                3.4.3 การจัดการความเสี่ยง ถือเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเงินทุนขององค์การ
                4. เป้าหมายทางการเงิน
                4.1 กำไรสูงสุด มักจะเน้นถึงประสิทธิภาพของการใช้ทรัพยากร โดยไม่คำนึงถึงการวัดผลกำไรของบริษัทแต่อย่างไร
                4.2 ความมั่งคั่งสูงสุด มุ่งเน้นถึงมูลค่าตลาดของหุ้นสามัญที่สูงขึ้น รวมทั้งอัตราเงินปันผลที่จ่ายให้ผู้ถือหุ้น
                5. การตัดสินใจทางการเงิน
                โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มพูนความมั่งคั่งสูงสุดแก่ผู้ถือหุ้นของบริษัท เคียวน์ และคนอื่น ๆ ( Keown et al, 2545, p.3) ได้จำแนกประเภทออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
                5.1 การตัดสินใจด้านการลงทุน โดยเริ่มต้นจากการกำหนดทรัพย์สินที่บริษัทจำเป็นต้องใช้ และจำนวนเงินลงทุนในทรัพย์สินทั้งหมดที่บ่งบอกถึงขนาดของบริษัท หลังจากนั้นจึงจำแนกส่วนประกอบของทรัพย์สินที่จำเป็นต้องมี
                5.2 การตัดสินใจด้านการจัดหาเงินทุน จำเป็นต้องพิจารณาถึงสิ่งต่าง ๆ ดังนี้
                1. ส่วนผสมของเงินทุนที่จำเป็นต้องมี
                2. แหล่งเงินทุนทั้งระยะสั้นและระยะยาว
                3. สัดส่วนระหว่างหนี้สินและทุนที่เหมาะสม
                4. ประเภทของการจัดหาเงินทุน
                5. ต้นทุนของเงินทุนแต่ละประเภท
สารสนเทศทางการเงิน
                1. แนวคิดและความหมาย
                สารสนเทศทางการเงิน หมายถึง สารสนเทศที่ได้จากการประมวลผลของระบบสารสนเทศทางการเงิน ซึ่งต้องอาศัยข้อมูลและสารสนเทศจากทั้งภายในและภายนอกองค์การ ตลอดจนสารสนเทศด้านอัตราดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยน และนโยบายทางการเงินของรัฐบาล โดยใช้สารสนเทศเหล่านี้สนับสนุนกิจกรรมทางการเงิน
                2. การจำแนกประเภท
                2.1 สารสนเทศเชิงปฏิบัติการ คือ สารสนเทศที่ได้จากการปฏิบัติงานด้านการรับและการจ่ายเงินสด การจัดหาและการใช้ทุน ตลอดจนการลงทุนในสินทรัพย์ ดังนี้
                                2.1.1 สารสนเทศด้านกระแสเงินสด ซึ่งบ่งบอกถึงแหล่งที่มาและใช้ไปของเงินทุน รวมทั้งยอดคงเหลือของเงินสดในมือ โดยนำเสนอในรูปแบบวบกระแสเงินสด
                                2.1.2 สารสนเทศด้านเงินทุน คือ สารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับการจัดหาเงินทุนไว้ใช้จ่ายในกิจการ ตลอดจนการใช้เงินทุนเพื่อลงทุนในสินทรัพย์ต่าง ๆ โดยใช้สารสนเทศจากแหล่งข้อมูลภายนอก
                                2.1.3 สารสนเทศด้านการลงทุน คือ สารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจลงทุนในสินทรัพย์ต่าง ๆ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
                2.2 สารสนเทศเชิงบริหาร คือ สารสนเทศที่ใช้สนับสนุนงานการบริหารและการจัดการทางการเงิน
                                2.2.1 สารสนเทศด้านการพยากรณ์ทางการเงิน คือ สารสนเทศที่ได้จากการคาดคะเนเหตุการณ์ทางการเงินในอนาคต ซึ่งเป็นผลมาจากความไม่แน่นอนของสภาพแวดล้อมภายนอกองค์การ
                                2.2.2 สารสนเทศด้านงบประมาณเงินสด คือ สารสนเทศที่ได้จากการนำข้อมูลกระแสเงินสดในอดีต มาจัดทำแผนงบประมาณเงินสดที่เกี่ยวดับรายได้และค่าใช้จ่ายในอนาคต เพื่อใช้เป็นเครื่องมือ
                                2.2.3 สารสนเทศด้านงบประมาณลงทุน คือ สารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับแผนการลงทุนในสินทรัพย์ประเภททุนภายใต้โครงสร้างต่าง ๆ โดยมีการประมาณการกระแสเงินสดรับและจ่ายโครงการลงทุนในอนาคต
                                2.2.4 สารสนเทศด้านวิเคราะห์ทางการเงิน คือ สารสนเทศที่ใช้สำหรับสนับสนุนหน้าที่งานด้านต่าง ๆ ทางการเงิน โดยใช้เครื่องมือการวิเคราะห์ด้านต่าง ๆ เช่น การวิเคราะห์ความเสี่ยง
                                2.2.5 สารสนเทศด้านควบคุมทางการเงิน คือ สารสนเทศที่ใช้สนับสนุนงานด้านการควบคุมงบประมาณ การตรวจสอบทางการเงิน
                2.3 สารสนเทศภายนอกองค์การ คือ สารสนเทศที่ได้จากกระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูลจากสภาพแวดล้อมภายนอกองค์การ
                                2.3.1 สารสนเทศจากตลาดการเงิน คือ สารสนเทศที่ได้จากตลาดเงินและตลาดทุนที่เกี่ยวข้องกับหลักทรัพย์และตราสารทางการเงินต่าง   ๆ
                                2.3.2 สารสนเทศด้านนโยบายของรัฐ คือ สารสนเทศที่หน่วยงานของรัฐบัญญัติขึ้นเพื่อใช้ควบคุมสภาวะทางการเงินภายในประเทศ รวมทั้งบทลงโทษต่อผูกระทำความผิด
กระบวนการทางธุรกิจของระบบสารสนเทศ
                1. ระบบวางแผนทางการเงิน คือ ระบบที่มุ่งเน้นถึงการจัดการสินทรัพย์ทางการเงินที่เหมาะสม โดยมีการวางแผนด้านการจัดหาเงินทุนจากแหล่งต่าง ๆ ตลอดจนมีการใช้เงินทุนที่จัดหามาได้เพื่อการดำเนินงานและการลงทุนภายในกิจการ อีกทั้งยังต้องมีการวางแผนทางการเงินในระยะสั้น ระยะปานกลาง และระยะยาว
                1.1 ระบบพยากรณ์ทางการเงิน คือ ระบบที่พัฒนาขึ้นเป็นอันดับแรกของการวางแผนทางการเงิน โดยจำเป็นต้องรับสารสนเทศจากภายนอก ที่บ่งบอกถึงการมีอยู่ของเงินทุนและต้นทุนเงินทุนจากแหล่งเงินทุนต่าง ๆ ดังนั้น ธุรกิจจึงควรใช้วิธีการพยากรณ์ทางการเงินที่ถูกต้องและแม่นยำ
                1.2 ระบบงบประมาณเงินสด คือ ระบบที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อใช้งานด้านการวางแผนทางการเงิน ซึ่งธุรกิจส่วนใหญ่มักจะจัดทำรายงานงบประมาณประจำปี
                                1.2.1 งบประมาณดำเนินงาน คือ งบประมาณที่เกี่ยวข้องกับแผนการดำเนินงานของกิจการต่าง ๆ ของรอบเวลาบัญชีในอนาคต ซึ่งปกติจะใช้รอบระยะเวลาหนึ่งปี
                                1.2.2 งบประมาณเงินสด คือ งบประมาณที่แสดงแผนการรับและจ่ายเงินสดที่คาดว่าจะเกิดในอนาคต โดยอาศัยข้อมูลจากงบประมาณดำเนินงาน
                                1.2.3 งบประมาณลงทุน คือ งบประมาณที่เกี่ยวกับการวางแผนการลงทุนระยะยาวในสินทรัพย์ถาวร สำหรับโครงการต่าง ๆ ของธุรกิจในอนาคต
                1.3 ระบบงบประมาณลงทุน คือ ระบบที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อใช้งานในส่วนการตัดสินใจลงทุนในโครงการที่ให้ผลตอบแทนสูงสุด หรือการใช้เงินทุนของธุรกิจ เพื่อการจัดหาและจัดการสินทรัพย์ขององค์การ โดยอาจจะมีการเปรียบเทียบทางเลือกต่าง ๆ
                2. ระบบจัดการทางการเงิน มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มความมั่งคั่งสูงสุดให้แก่ผู้ถือหุ้น
                2.1 ระบบจัดหารเงินทุน คือ ระบบที่พัฒนาขึ้นใช้งานด้านการจัดหาเงินทุน ตามแผนการจัดหาเงินทุนที่เป็นผลลัพธ์จากระบบพยากรณ์ทางการเงิน ซึ่งระบุถึงจำนวนเงินที่ต้องการ แหล่งเงินทุน ตลอดจนต้นทุนเงินทุน
                                1. การกู้ยืมเงินจากแหล่งเงินทุนภายนอกกิจการ โดยแต่ละระยะเวลาจะมีต้นทุนเงินทุนที่แตกต่างกันอยู่ในรูปของดอกเบี้ย
                                2. การจัดหาเงินทุนจากส่วนของเจ้าของ โดยธุรกิจจะต้องออกจำหน่ายหุ้นทุน ในรูปแบบของหุ้นสามัญหรือหุ้นบุริมสิทธิ และต้องจ่ายต้นทุนเงินทุนในรูปแบบของเงินปันผล
                2.2 ระบบจัดการเงินทุน คือ ระบบที่พัฒนาขึ้นเพื่อช่วยสนับสนุนด้านการใช้และบริหารเงินทุน หลังจากที่องค์การได้จัดหาเงินทุนนั้น ๆเข้ากิจการเรียบร้อยแล้ว หรับธุรกิจประเภทธนาคารอาจมีการใช้ระบบจัดการเงินทุนโดคอมพิวเตอร์ ซึ่งระบบนี้จะมีศักยภาพสำหรับการล้างยอดจ่ายเงินภายในวันเดียว
                2.3 ระบบจัดการเงินลงทุน คือ ระบบที่พัฒนาขึ้นเพื่อสนับสนุนงานด้านการจัดการเงินลงทุน หลังจากที่มีการวางแผนงบประมาณลงทุนเสร็จสิ้นแล้ว ก็จะต้องดำเนินการจัดการลงทุนในสินทรัพย์ต่าง ๆของกิจการอย่างมีประสิทธิภาพ โดยการผสมผสานหุ้นทุนเหล่านี้ในอัตราส่วนการลงทุนที่เลือกสรรแล้ว ซึ่งจะต้องอาศัยพื้นฐานการตัดสินใจด้านเศรษฐศาสตร์และการพยากรณ์ทางการเงินเข้าช่วย
                2.4 ระบบจัดการเงินสด คือ ระบบที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้งานด้านการจัดสรรเงินทุนในส่วนของสภาพคล่องอันเนื่องมาจากการดำเนินงาน มุ่งเน้นการบริหารสินทรัพย์ที่มีอยู่ในรูปแบบของเงินสด หรือเป็นสินทรัพย์ที่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ง่าย โดยยึดหลักการบริหารสภาพคล่อง
                3. ระบบประมวลผลธุรกรรมทางการเงิน เป็นระบบพื้นฐานของระบบสารสนเทศทางการเงิน โดยเฉพาะในส่วนของการรับและจ่ายเงินสดภายในธุรกิจทั้งด้านการจัดหาสินทรัพย์ การลงทุน และการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายของหน่วยงานต่าง ๆ โดยธุรกิจอาจใช้วิธีการเปิดบัญชีเงินฝากธนาคาร
                4. ระบบวิเคราะห์ทางการเงิน คือ ระบบที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้สนับสนุนงานด้านการวางแผนทางการเงิน การจัดหาเงินทุน การจัดสรรเงินทุน และเงินลงทุนต่าง ๆ เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดย Turban et al. ( 2006, p.275) ได้ยกตัวอย่างรูปแบบการวิเคราะห์ทางการเงิน 3 รูปแบบ คือ
                4.1 การวิเคราะห์ความเสี่ยง ดังนั้นในตลาดซอฟต์แวร์จึงมีการผลิตซอฟต์แวร์วิเคราะห์ความเสี่ยงขึ้นชื่อ ฟีโคเพื่อรองรับงานด้านการวิเคราะห์ความเสี่ยงด้านการให้สินเชื่อจากลูกค้า
                4.2 การวิเคราะห์กำไร ดังนั้น จึงมีการใช้ซอฟต์แวร์สนับสนุนการตัดสินใจเพื่อการวิเคราะห์กำไร และควบคุมต้นทุน โดยซอฟต์แวร์จะทำการวิเคราะห์และนำเสนอตัวเลขความสามารถในการทำกำไรที่แม่นยำ
                4.3 การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน อัตราส่วนนี้จะถูกใช้โดยบุคคลภายนอก เพื่อการตัดสินใจด้านการลงทุนในหลักทรัพย์ขององค์การ รวมทั้งการพิจารณาให้ธุรกิจกู้ยืมเงินและซื้อกิจการ
                5. ระบบควบคุมทางการเงิน คือ การที่ธุรกิจไม่สามารถพยากรณ์หรือควบคุมเงินสดให้เพียงพอต่อการใช้งาน ตลอดจนการฉ้อฉล Turban et al. ( 2006, p.275) ได้จำแนกรูปแบบการควบคุมได้ ดังนี้
                5.1 การควบคุมงบประมาณ การใช้ซอฟต์แวร์ด้านการควบคุมงบประมาณที่ทันสมัยจะสามารถตั้งค่าเพื่อกำจัดค่าใช้จ่าย เพื่อบรรลุผลตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
                5.2 การตรวจสอบ เพื่อให้แน่ใจว่า ฐานะทางการเงินของธุรกิจซึ่งนำเสนอในงบการเงินมีความถูกต้อง อาจจะถูกโดยเจ้าหน้าที่ฝ่ายบัญชีและการเงิน
                5.3 การบริหารผลการดำเนินงานทางธุรกิจ ธุรกิจมักบูรณาการวิธีการต่าง ๆ เข้าด้วยกัน เพื่อประโยชน์ของการบริหารผลการดำเนินงานทางธุรกิจ ซึ่งเป็นสมัยใหม่ที่ถูกนำมาประยุกต์ใช้
เทคโนโลยีทางการเงิน
                1. โปรแกรมสำเร็จรูปทางการเงิน คือ ซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์ประเภทหนึ่งซึ่งถูกพัฒนาขึ้นใช้เฉพาะกับงานด้านการประมวลผลธุรกรรมทางการเงิน ตัวอย่างเช่น
                1.1 โปรแกรมสำเร็จรูปด้านจัดการทางการเงิน Turban et al. (2006, p.271) ได้ยกตัวอย่างโปรแกรมแมส 90 และแมส 200 ซึ่งมีการรวมมอดูลของระบบงานด้านต่าง ๆ เข้าด้วยกันกับมอดูลด้านบัญชีและมอดูลด้านการสื่อสารข้อมูลเพื่อการเชื่อมโยงข้อมูลเท่าที่จำเป็นระหว่างมอดูล
                1.2 โปรแกรมสำเร็จรูปด้านงบประมาณ คือ โปรแกรมที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อสนับสนุนงานด้านงบประมาณ โดยอาจจะพัฒนาระบบสารสนเทศบนเว็บเพื่อสนับสนุนงานด้านการจัดเตรียมและการควบคุมงบประมาณ
                1.3 โปรแกรมสำเร็จรูปด้านจัดการค่าใช้จ่ายเดินทางอัตโนมัติ คือ โปรแกรมที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อนำเข้าข้อมูลและประมวลผลค่าใช้จ่ายการเดินทาง และค่าใช้จ่ายด้านการเลี้ยงรอบรับต่าง ๆ
                2. ระบบประยุกต์ด้านอีคอมเมิร์ช Turban et al. (2006, p.272) ได้ยกตัวอย่าง ดังนี้
                2.1 ระบบการแลกเปลี่ยนหุ้นส่วนกลาง โดยปกติของตลาดการเงินทั่วโลกจะมีความเคลื่อนไหวตลอด 24 ชั่วโมง จึงมีการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการกระจายด้านการแลกเปลี่ยนหุ้น
                2.2 ระบบจัดการสกุลเงินตราต่างประเทศ ดังนั้น รายงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการสกุลเงินตราต่างประเทศจึงต้องจัดทำบ่อยครั้งเท่าที่ผู้ใช้ต้องการ
                2.3 ระบบหุ้นกู้อิเล็กทรอนิกส์ สนับสนุนงานด้านการตลาดและการจัดจำหน่ายหุ้นกู้บนอินเทอร์เน็ต
                2.4 ระบบนำเสนอเช็คคืนอิเล็กทรอนิกส์ เป็นส่วนหนึ่งของระบบสารสนเทศด้านการจัดการเงินสดอัตโนมัติ ซึ่งมีโมดูลของการรวบรวมเช็คต่างธนาคารเข้าด้วยกัน
                2.5 ระบบนำเสนอใบเรียกเก็บเงิน และการจ่ายชำระตามใบเรียกเก็บเงินอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีระบบสนับสนุนด้านบริการจ่ายชำระบิลค่าซื้อจากธุรกิจอื่นอย่างง่าย และระบบยังสามารถคำนวณ พิมพ์ นำเสนอบิลค่าซื้อต่อผู้ใช้บริการได้
                3. เทคโนโลยีด้านการรับชำระหนี้
                3.1 บัตรเครดิต คือ การใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ชนิดหนึ่งสำหรับชำระหนี้ค่าสินค้าหรือบริการ การใช้บัตรเครดิตนี้เป็นผลดีต่อร้านค้าในกรณีที่สามารถลดความเสี่ยงจากการไม่ได้รับชำระหนี้
                3.2 บัตรเดบิต คือ การใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์อีกรูปแบบหนึ่ง ซึง่ระบบจะยินยอมให้ร้านค้าโอนเงินจากบัญชีผู้ซื้อเข้าสู่บัญชีผู้ขายทันทีที่เกิดรายการค้าขึ้น
                3.3 ตู้ไปรษณีย์เช่าอิเล็กทรอนิกส์ วิธีนี้สามารถลดความเสี่ยงจากการรับชำระหนี้และลดระยะเวลาเรียกเก็บเงินได้เป็นอย่างดี
                3.4 เช็คที่ได้รับอัตโนมัติล่วงหน้า อาจนำมาใช้แทนตู้ไปรษณีย์เช่าอิเล็กทรอนิกส์เพื่อเร่งระยะเวลาเรียกเก็บเงินที่รวดเร็วขึ้น
                3.5 เช็คอิเล็กทรอนิกส์ ทุกครั้งที่มีการรับส่งเช็คอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่าย จะต้องมีการเข้ารหัสลับ และสามารถสืบหาผู้สั่งโอนเงินหรือตัดบัญชีได้
                3.6 เงินสดอิเล็กทรอนิกส์ ธนาคารหรือสถาบันทางการเงินจะทำการใส่วงเงินสู่กระเป๋าสตางค์อิเล็กทรอนิกส์ของลูกค้า เมื่อใดมีการใช้เงินจะตัดเงินออกจากกระเป๋าอิเล็กทรอนิกส์นี้
                3.7 การโอนเงินอิเล็กทรอนิกส์ ผลดี คือ ธุรกิจสามารถปรับปรุงการพยากรณ์ทางการเงินและการจัดการเงินสดที่ดีขึ้นได้
                3.8 ระบบธนาคารศูนย์กลาง มักใช้สำหรับธุรกิจที่มีสำนักงานขายกระจายอยู่หลายแห่ง
                4. การทำเหมืองข้อมูลทางการเงิน Turban et al. (2006, p.272) ได้ยกตัวอย่าง ดังนี้
                4.1 ระบบเข้าถึงรายงานทางการเงินและเศรษฐกิจ การตัดสินใจของผู้บริหาร จะต้องประเมินรายงานทางการเงินและเศรษฐกิจของโลก ปัจจุบันมีการเปิดเว็บไซต์ให้ผู้ลงทุนสามารถใช้เป็นเครื่องมือเข้าถึงข้อมูลทางการเงิน
                4.2 ระบบวิเคราะห์ทางการเงิน สามารถทำได้โดยใช้โปรแกรมแผ่นตารางทำการ หรือโปรแกรมสนับสนุนการตัดสินใจ ที่เน้นการตัดสินใจทางการเงินโดยเฉพาะ หรืออาจมีการใช้ความเป็นจริงเสมือน
                4.3 ระบบบริหารโซ่คุณค่าทางการเงิน คือ พื้นที่อีกด้านหนึ่งของการวิเคราะห์ทางการเงิน ที่ถูกนำมาเชื่อมต่อกับการวิเคราะห์ข้อมูลด้านปฏิบัติการ โดยมีการวิเคราะห์ในทุก ๆ หน้าที่งานด้านการเงิน
อ้างอิง : รุจิจันทร์ พิริยะสงวนพงศ์. สารสนเทศทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2549.











ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น