Powered By Blogger

วันอาทิตย์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2554

สรุปบทที่ 1


บทที่ 1
การดำเนินงานธุรกิจในปัจจุบันนั้น  ธุรกิจจึงจำเป็นต้องจัดหาเทคโนโลยีสารสนเทศ  เพื่อใช้เป็นเครื่องมือเฉพาะด้านของการทำหน้าที่ในธุรกิจ  โดยมุ่งเน้นการปฏิบัติ  เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลสารสนเทศและความรู้ซึ่งมีคุณลักษณะที่ดีและเกิดมูลค่าเพิ่มทางธุรกิจ โดยผ่านกระบวนการบันทึก จัดเก็บ ประมวลผล และออกรายงานต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจทางธุรกิจ
ความรู้ด้านธุรกิจ จำแนกได้ 5 หัวข้อย่อย คือ
1. ธุรกิจ
            Albright and Ingram (2004, p.3) ได้ให้นิยามว่า ธุรกิจ คือ องค์การหนึ่งซึ่งเสนอขายสินค้าหรือบริการต่อลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจนั้น เพื่อแสวงหากำไรทางธุรกิจ
            ฉวีวรณ โสภาจารีย์ (2547,หน้า 10) ได้จำแนกรูปแบบขององค์กรธุรกิจ ดังนี้
            รูปแบบที่ 1 เจ้าของคนเดียว มีบุคคลเพียงคนเดียวเป็นเจ้าของ จัดตั้งธุรกิจทำได้ง่าย และรับผิดชอบในหนี้สินของร้านโดยไม่จำกัดจำนวน
            รูปแบบที่ 2 ห้างหุ้นส่วน คือ กิจการค้าที่มีบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป เข้าลงทุนโดยมุ่งหวังกำไร จำแนกได้ 2ประเภท คือ
-                   ห้างหุ้นส่วนสามัญ จะร่วมกันรับผิดชอบหนี้สินของห้างหุ้นส่วนไม่จำกัดจำนวน จดทะเบียนห้างหุ้นส่วนหรือไม่ก็ได้
-                   ห้างหุ้นส่วนจำกัด แบ่งเป็นประเภทที่รับผิดชอบในหนี้สินอย่างไม่จำกัดจำนวน และประเภทที่รับผิดชอบในหนี้สินโดยจำกัดแค่จำนวนเงินที่ลงทุน
            รูปแบบที่ 3 บริษัทจำกัด จัดตั้งขึ้นในรูปแบบของนิติบุคคล แบ่งเงินลงทุนออกเป็นงวด ๆ จำแนกเป็น 2 ประเภท คือ บริษัทเอกชนและบริษัทมหาชน
            รูปแบบที่ 4 รัฐวิสาหกิจ หรือห้างหุ้นส่วนที่มีทุนจดทะเบียนของรัฐเกิน 50%
2. ประเภทธุรกิจ
Perry and Schneider (2005,p.114) จัดแบ่งประเภทตามตลาดธุรกิจ ดังนี้
            ประเภทที่ 1 หน่วยบริการ เป็นที่นิยมอย่างสูง ไม่มีความซับซ้อน มีจุดมุ่งหมายที่จะบริการลูกค้าและคิดค่าธรรมเนียมเป็นการตอบแทน เช่น สำนักงานบัญชี ตัวแทนโฆษณา ร้านเสริมสวย   สถานบันเทิง เป็นต้น
            ประเภทที่ 2 หน่วยค้าสินค้า หรือธุรกิจพาณิชยกรรม มุ่งเน้นที่จะซื้อสินค้าในราคาต่ำ และขายสินค้าในราคาสูงเพื่อนำส่วนต่างมาเป็นผลกำไรจากการขายและการดำเนินงาน เช่น ร้านขายคอมพิวเตอร์ ห้างสรรพสินค้า ตลาดอาหาร ร้านขายรองเท้า เป็นต้น
            ประเภทที่ 3 หน่วยผลิตสินค้า หรือธุรกิจอุตสาหกรรม มีความซับซ้อนของกิจการทางธุรกิจสูงสุด มุ้งเน้นที่จะผลิตสินค้าให้ได้คุณภาพในราคาต้นทุนที่ต่ำและขายสิน้าในราคาที่สูงเพื่อนนำส่วนต่างมาเป็นผลกำไรจากการผลิตและการขาย เช่น ผู้ผลิตรถยนต์ โรงงานอัดกระป๋อง ปริษัทก่อสร้าง ผู้ผลิตข้าว เป็นต้น
            กิจกรรมในหน่วยผลิตสินค้า จำแนกได้ 4 กิจกรรม คือ กิจกรรมที่ 1 การซื้อวัตถุดิบและการว่าจ้างแรงงาน กิจกรรมที่ 2 การคำนวณต้นทุนการผลิต กิจกรรมที่ 3 การประมวลผลค่าวัตถุดิบ ค่าแรง และค่าใช้จ่ายในการผลิต เข้าสู่ต้นทุนของสินค้าสำเร็จรูป และกิจกรรมที่ 4 การขายสินค้าสำเร็จรูป
3. การจัดตั้งและการดำเนินงานทางธุรกิจ
            จุดเริ่มต้นของการดำเนินงานทางธุรกิจ ทั้งในรูแบบเจ้าของคนเดียว ห้างหุ้นส่วนและบริษัท จะต้องนำเงินมาลงทุนร่วมกันเพื่อจัดตั้งหน่วยเงินธุรกิจขึ้นตามวัตถุประสงค์และรูปแบบของการลงทุนของธุรกิจ เพื่อหารายได้เข้าสู่องค์การ เรียกว่า การเสี่ยงลงทุน แต่ถ้าหากเงินลงทุนไม่เพียงพอ ก็อาจจะกู้ยืมเงินจากแหล่งกู้ยืมเงินภายนอกกิจการ เช่น ธนาคาร หรือสถาบันทางการเงิน โดยเป้าหมายของการจัดหาทรัพยากร คือ เงินสด สินค้า วัสดุและอุปกรณ์สำนักงาน สถานที่ประกอบกิจการ รวมทั้งการว่าจ้างแรงงาน
            ในส่วนกิจกรรมการดำเนินงาน เพื่อความอยู่รอดขององค์กร คือ
            กิจกรรมที่ 1 จัดหาวัตถุดิบ สินค้า หรือทรัพยากรอื่น ๆ ใช้ในการผลิตสินค้าและบริการ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า
            กิจกรรมที่ 2 การใช้ทรัพยากร เพื่อผลิตสินค้าและบริการนั้น ๆ
            กิจกรรมที่ 3 การขาย ตลอดจนการจัดจำหน่ายสินค้าและบริการต่อลูกค้า 
4. หน้าที่งานทางธุรกิจ
            หรือฟังก์ชันทางธุรกิจ ใช้เพื่อแบ่งองค์การเข้าสู่เขตพื้นที่รับผิดชอบภายใต้ภาระงาน กำหนดเขตพื้นที่ของแต่ละงาน กำหนดตามการไหลของทรัพยากรจากหน้าที่หนึ่งเข้าสู่อีกหน้าที่หนึ่ง การจัดแบ่งหน้าที่งานทางธุรกิจจะแตกต่างกันไปตามประเภทของธุรกิจ ขนาดของธุรกิจ และสายผลิตภัณฑ์ ธุรกิจประเภทหน่วยบริการ จะไม่มีหน้าที่งานด้านการผลิต และการตั้งชื่อหน้าที่งานทางธุรกิจก็ยังแตกต่างกันไป
5. การจัดโครงสร้างองค์การ
            จะดำเนินตามโครงสร้างองค์การของธุรกิจที่สะท้อนให้เห็นถึงอำนาจ หน้าที่และความรับผิดชอบของบุคลากรในองค์กร เพื่อให้เข้าใจรูปแบบการจำแนกความแตกต่างของภาระงาน อำนาจหน้าที่ รวมทั้งการรายงานภาระรับผิดชอบ จะเห็นได้ว่า สายบังคับบัญชาจะมีความสัมพันธ์กับหน้าที่งานทางธุรกิจ จึงก่อให้เกิดโครงสร้างองค์การ โดยสมมติประเภทธุรกิจเป็นหน่วยผลิตสินค้า ซึ่งอธิบายได้ไนแต่ละหน้าที่งาน ดังนี้
            หน้าที่งาน 1 การจัดการวัตถุดิบ เน้นการวางแผนและควบคุมวัตถุดิบคงเหลือของบริษัทให้เพียงพอต่อความต้องการผลิต หลีกเลี่ยงภาวะของยอดคงเหลือของวัตถุดิบ
            หน้าที่งาน 2 การผลิต จะเกิดขึ้นภายใต้วัฏจักรการแปลงสภาพวัตถุดิบ แรงงาน ทรัพยากรโรงงานให้เป็นสินค้าสำเร็จรูป ส่วนงานย่อย คือ การผลิตและการสนับสนุนการผลิต
            หน้าที่งาน 3 การตลาด เป็นสถานที่ซื้อขายซึ่งต้องการรับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าและบริการ ตลอดจนการเข้าถึงตัวสินค้าและบริการนั้น ส่วนงานย่อย คือ การส่งเสริมการขาย การโฆษณา การวิจัยตลาด และการขายสินค้า
            หน้าที่งาน 4 การจัดจำหน่าย เป็นกิจกรรมการกระจายสินค้าให้ลูกค้าภายหลังการขายสินค้า มักเกิดความผิดพลาดบ่อย ส่วนงานย่อย คือ การคลังสินค้าและการขนส่งสินค้า
            หน้าที่งาน 5 ทรัพยากรมนุษย์ คือ การจัดทรัพยากรมนุษย์อย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนงานย่อย คือ การจัดหา การฝึกอบรม การได้รับประโยชน์ และการเป็นที่ปรึกษา
            หน้าที่งาน 6 การเงิน ทำหน้าที่ในการบริหารทรัพยากรทางการเงินของบริษัทผ่านธนาคารและกิจกรรมการคลัง ส่วนงานย่อย คือ การจัดการกลุ่มหลักทรัพย์ การจัดการกองคลัง การประเมินสินเชื่อ การจ่ายเงินสด และการรับเงินสด
            หน้าที่งาน 7 การบัญชี ทำหน้าที่บริหารทรัพยากรข้อมูลทางการเงิน โดยมีการจับและบันทึก รวมทั้งกระจายสารสนเทศของธุรกรรมไปสู่หน่วยงานต่าง ๆ เพื่อการติดต่อประสานงาน ส่วนงานย่อย คือ การควบคุมสินค้า การบัญชีต้นทุน การบัญชีเงินเดือน การบัญชีเจ้าหนี้ การบัญชีลูกหนี้ การออกบิล การสินทรัพย์ถาวร และการบัญชีแยกประเภท
            หน้าที่งาน 8 การบริการคอมพิวเตอร์ เป็นการจัดเก็บและรวบรวมทรัพยากรสารสนเทศ เพื่อนำเข้าสู่กระบวนการประมวลผลข้อมูล คือ แบบรวมศูนย์และแบบกระจาย ส่วนงานย่อย  คือ การประมวลผลข้อมูล การพัฒนาระบบ และการบริหารฐานข้อมูล
            ความรู้ด้านสารสนเทศ
1. ข้อมูล สารสนเทศ และความรู้
            1.1 ข้อมูล คือ คำพรรณนาถึงสิ่งของ เหตุการณ์ กิจกรรม และธุรกรรม แต่ยังไม่มีการจัดโครงสร้าง อาจอยู่ในรูปแบบตัวอักษร ตัวเลข รูปภาพ หรือเสียง เช่น ผลการเรียนของนักเรียนในชั้นเรียน
            Hall (2004,p.7) ได้จำแนกประเภทธุรกรรมออกเป็น 2 ส่วน คือ
            ส่วนที่ 1 ธุรกรรมที่เป็นตัวเงิน คือ เหตุการณ์ทางเศรษฐศาสตร์ที่ส่งผลกระทบกับมูลค่าสินทรัพย์ และส่วนของเจ้าของธุรกิจ สะท้อนให้เห็นตัวเลขทางบัญชี
            ส่วนที่ 2 ธุรกรรมที่ไม่เป็นตัวเงิน คือ เหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบหรืออยู่ในความสนใจของธุรกิจ โดยหน่วยประมวลผลภายใต้กระบวนการสารสนเทศ
            1.2 สารสนเทศ คือ ข้อมูลที่ถูกจัดโครงสร้างให้อยู่ในรูปแบบที่มีความหมายและมีมูลค่าต่อผู้รับ ผ่านกระบวนการประมวลผลแลจัดให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งาน สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจได้ เช่น ผลการเรียนเฉลี่ย (GPA)
            ในการแปลงสภาพข้อมูลให้กลายเป็นสารสนเทศจำเป็นต้องอาศัยกระบวนการประมวลผลที่เฉพาะเจาะจง เช่น ระบบการลงทะเบียนออนไลน์ อาจเลือกใช้กระบวนการ ดังนี้
1.            การจัดกลุ่มข้อมูล คือ การจำแนกประเภทของข้อมูลอกเป็นกลุ่ม เช่น กลุ่มรายได้จากการขายและการบริหาร
2.            การจัดเรียงข้อมูล โดยใช้เกณฑ์ใดเกณฑ์หนึ่ง เช่น รหัสประจำตัวนักศึกษาจากน้อยไปมาก
3.            การสรุปผลข้อมูล คือ การคำนวณและสรุปยอดข้อมูลที่ต้องการ เช่น สรุปจำนวนนักศึกษาประจำปี พ.. 2547
4.            การออกรายงาน คือ การจัดพิมพ์รายงานตามรูปแบบที่ผู้ใช้ต้องการ
            1.3 ความรู้ ประกอบด้วย ข้อมูลและสารสนเทศ ถูกจัดโครงสร้างและประมวลผล เพื่อถ่ายโอนความเข้าใจ ประสบการณ์ การเรียนรู้ รวมทั้งความเชี่ยวชาญที่เก็บสะสมไว้ภายใต้ฐานความรู้ซึ่งใช้แก้ปัญหา
2. คุณลักษณะของสารสนเทศ
            2.1 ความตรงกับกรณี ต้องมีความสอดคล้องกับจุดประสงค์ด้านการใช้สารสนเทศ เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหาร การปฏิบัติงานประจำวัน หรือพนักงานปฏิบัติหน้าที่
            2.2 ความทันต่อเวลา การได้รับสารสนเทศที่ล่าช้า ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานและการตัดสินใจทางธุรกิจ
            2.3 ความถูกต้อง สารสนเทศที่ได้รับจะต้องแสดงเหตุการณ์ หรือธรรมชาติของเนื้อหาที่มีความถูกต้อง ตรงไปตรงมา สารสนเทศที่มีระดับความถูกต้องต่ำ เป็นผลทำให้เกิดความล้มเหลวของสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจ
            2.4 ความครบถ้วนสมบูรณ์  ต้องไม่ละเลยในส่วนสำคัญของเหตุการณ์หรือกิจกรรมทางธุรกิจ ต้องมีความชัดเจนและปราศจากความกำกวมใด ๆ
            2.5 การสรุปสาระสำคัญ ต้องสอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้สารสนเทศ ผู้บริหารระดับล่างมีแนวโน้มของการใช้สารสนเทศที่มีรายละเอียดสูง
            2.6 การตรวจสอบได้ มีการตรวจสอบซึ่งกันและกันได้ การประมวลผลข้อมูลชุดเดียวกัน 2 ครั้ง ไม่ควรมีความแตกต่างกัน

3. มูลค่าของสารสนเทศ
            กรณีที่ 1 ชี้ให้เห็นถึงสถานการณ์ ที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลจากฝ่ายบริหาร เช่น การขายสินค้าแยกตามพนักงาน ช่วยกระตุ้นให้ผู้จัดการฝ่ายขายเข้าไปดูแลและติดตามหาสาเหตุ พร้อมทั้งทำการแก้ไข
            กรณีที่ 2 ช่วยลดความไม่แน่นอน เช่น การกำหนดราคาสินค้าและกำหนดนโยบายสินเชื่อ
            กรณีที่ 3 การให้ผลป้อนกลับ มาใช้ปรับปรุงการตัดสินใจในครั้งต่อไป
4. ข้อจำกัดของการใช้สารสนเทศ
            ประการที่ 1 การเกิดภาวะของสารสนเทศที่มากเกินความจำเป็น จะมีผลทำให้สิ้นเปลืองเวลาและลดคุณภาพของการตัดสินใจลง ในขณะที่ต้นทุนของสารสนเทศเพิ่มมากขึ้น
            ประการที่ 2 มาตรการวัดผลการดำเนินงานที่ไม่เหมาะสม การจัดทำรายงานเพื่อวัดผลการดำเนินงานนำเสนอต่อผู้บริหาร เพื่อกระตุ้นพนักงานให้มีพฤติกรรมที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์หลักขององค์กร ผู้บริหารควรวิเคราะห์แนวโน้มของตัวแปรที่สำคัญ เช่น ยอดขาย ต้นทุนขาย ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ระดับของสินทรัพย์ และทัศนคติของพนักงาน เป็นต้น
            เทคโนโลยีสารสนเทศ
1. ความหมายและส่วนประกอบ
            พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ..2542 (2546,หน้า534) ได้ให้นิยามว่า เทคโนโลยี หมายถึง วิทยาการที่นำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม
            Turban et al. (2006,p.21) ได้ให้นิยามว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง ชุดของระบบคอมพิวเตอร์ที่นำมาใช้ภายในองค์การ เพื่อจุดประสงค์การแลกเปลี่ยนข้อมูลและสารสนเทศ ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังนี้
1.            ฮาร์ดแวร์ คือ ชุดของอุปกรณ์ที่ถูกนำมาใช้ร่วมกันเพื่อการรับเข้าข้อมูลและสารสนเทศ การประมวลผล และการส่งผลลัพธ์ออกทางจอมอนิเตอร์หรือเครื่องพิมพ์
2.             ซอฟต์แวร์ คือ ชุดคำสั่งสำหรับการประมวลผลของฮาร์ดแวร์
3.            ฐานข้อมูล คือ ชุดของแฟ้มข้อมูล และตารางความสัมพันธ์ที่ใช้เก็บข้อมูล
4.            เครือข่ายและโทรคมนาคม คือ ชุดของอุปกรณ์เชื่อมต่อระบบที่มีการใช้ทรัพยากรสารสนเทศร่วมกันโดยเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่างกัน อาจใช้ระบบไร้สาย
5.            อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ คือ อุปกรณ์วงจงไฟฟ้าบนเครือข่ายในรูปแบบใช้สายและไร้สาย เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลของระบบสารสนเทศที่ใช้คอมพิวเตอร์ประมวลผล
2. บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศทางธุรกิจ
            ระยะที่ 1 องค์การมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับจัดการงานประจำวัน เช่น ระบบอัตโนมัติด้านการผลิตและการบัญชี ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ถูกผลิตขึ้นใช้สำหรับงานเฉพาะอย่าง การใช้งานต่ำและราคาสูง ดังนั้น จึงมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเฉพาะในองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่เท่านั้น
            ระยะที่ 2 องค์การมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในฐานะของเทคโนโลยีที่มีกรรมสิทธิ์ เพื่อสร้างความได้เปรียบเหนือคู่แข่ง ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ถูกผลิตขึ้นใช้สำหรับงานเฉพาะอย่าง ขีดความสามารถในการใช้งานสูง ราคาสูง นิยมใช้ในองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่และขนาดกลาง
            ระยะที่ 3 องค์การมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในฐานของเทคโนโลยีที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานระหว่างองค์การบนพื้นฐานของระบบเครือข่าย ซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ยังอยู่ในฐานะสินค้าโภคภัณฑ์ ประสิทธิภาพการใช้งานสูง ราคาถูก ไม่ได้เปรียบทางการแข่งขัน ขีดความสามารถในการใช้งานสูง ราคาต่ำ แพร่หลายทั้งภายในองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก
            ผลประโยชน์ที่องค์กรได้รับจากการใช้สารสนเทศ คือ
1.            สร้างองค์การแห่งการเรียนรู้ การใช้ชุดคำสั่งของระบบประยุกต์ เพื่อการปฏิบัติงาน
2.            สร้างความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน การจัดการ และการตัดสินใจ
3.            สร้างและธำรงรักษาความสามารถใยการแข่งขันทางธุรกิจอย่างต่อเนื่อง
4.            เพิ่มรายได้ให้กับองค์กรทั้งทางตรงและทางอ้อม
5.            ลดค่าใช้จ่ายด้านแรงงานและลดการใช้ทรัพยากรที่ซ้ำซ้อนลง
6.            เพิ่มคุณภาพของสินค้าหรือบริการเพื่อให้ได้มาตรฐาน
7.            สร้างความแตกต่างระหว่างองค์การ
            การใช้สารสนเทศในองค์กรธุรกิจ
1. กระบวนการทางธุรกิจ
            Laudon and Laudon (2005,p.7) ได้ให้นิยามว่า กระบวนการทางธุรกิจ คือ วิธีการทำงานที่มีลักษณะเฉพาะของการจัดระบบงานและการประสานงานทางธุรกิจ มุ้งเน้นการผลิตสินค้าและบริการที่มีมูลค่าสำหรับการส่งมอบให้ลูกค้า การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่
            Gelinas, Sutton, and Fedorowicz (2004,p.12) ระบุไว้ว่า กระบวนการทางธุรกิจ คือ การรวมตัวของ 3 กระบวนการ คือ
1.1    กระบวนการปฏิบัติการ คือ ระบบการทำงานซึ่งประกอบด้วย บุคคล อุปกรณ์ องค์การ นโยบาย และกระบวนงาน วัตถุประสงค์เพื่อการทำงานขององค์การให้ ลุล่วงด้วยดี เช่น การผลิต การตลาดและการขาย การบริหารทรัพยากรมนุษย์ การบัญชี เป็นต้น
1.2    กระบวนการจัดการ ประกอบด้วยบุคคล อำนาจหน้าที่ องค์การ นโยบาย และองค์การ เช่น การวางแผน การควบคุม และการตัดสินใจ
1.3    กระบวนการสารสนเทศ หรือกระบวนการทางธุรกิจของระบบสารสนเทศ คือ ระบบที่ประกอบด้วยการรวมตัวกันของชุดอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ทั้งด้านฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และส่วนประกอบที่สร้างขึ้นด้วยมือ เพื่อรวบรวม จัดเก็บ และจัดการข้อมูล
2. แนวทางการใช้สารสนเทศทางธุรกิจ
            2.1 ระดับปฏิบัติการ คอยสอดส่องดูแลงานด้านต่าง ๆ เช่น การประมวลผล การบันทึก        การรายงานเหตุการณ์ทางธุรกิจ โดยมีการใช้สารสนเทศช่วยสนับสนุนการปฏิบัติงาน    ด้านการรับคำสั่งซื้อจากลูกค้า การบันทึก ปรับปรุงยอดขายสินค้า ยอดลูกหนี้ และการ   สรุปรายงาน
            2.2 ระดับบริหาร เป็นเครื่องมือช่วยสนับสนุนกิจกรรมด้านการจัดการ ตลอดจนการ            ตัดสินใจทางธุรกิจ จำแนกวิธีการที่ผู้จัดการหรือผู้บริหารนิยมใช้ได้ 2 วิธี คือ
                        วิธีที่ 1 ใช้ติดตามการปฏิบัติงานในปัจจุบัน
                        วิธีที่ 2 ใช้สร้างความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของบริษัท
3. สายงานด้านสารสนเทศ
            3.1 สายงานด้านสารสนเทศในแนวดิ่ง เกิดจากระดับชั้นของการบริหารงานในองค์การ
                        3.1.1 การรายงานผลการปฏิบัติงาน จะทำการรายงานผลการปฏิบัติงานต่อ                           ผู้จัดการหรือผู้บริหารระดับสูง เกิดการไหลเวียนด้านสารสนเทศ
                        3.1.2 การงบประมาณและการสั่งการ ถือเป็นหน้าที่ของผู้บริหารระดับสูงที่จะทำ                 การวางแผนงบประมาณและออกคำสั่งปฏิบัติการในเรื่องต่าง ๆ ให้ปฏิบัติหน้าที่                        ตามที่ได้รับมอบหมาย
            3.2 สายงานด้นสารสนเทศในแนวนอน เกิดขึ้นจากการกระจายสารสนเทศไปยังส่วน          งานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
                        3.2.1 การกระจายสารสนเทศภายในองค์การ จะมีการนำส่งสารสนเทศภายใต้          ระบบปฏิบัติการ จากหน่วยงานหนึ่งไปยังอีกหน่วยงานหนึ่งที่อยู่ในองค์การ                            เดียวกัน เช่น หน่วยขายได้รับคำสั่งจากลูกค้าก็จะนำข้อมูลส่งไปยังหน่วยผลิต
                        3.2.2 การกระจายสารสนเทศไปยังองค์กรภายนอก เกิดจากการแลกเปลี่ยนข้อมูล
                                    กลุ่มที่ 1 หุ้นส่วนธุรกิจ คือลูกค้า ผู้จัดหา และผู้ให้บริการต่าง ๆ เช่น ผู้                                                ขนส่ง และธนาคาร
                                    กลุ่มที่ 2 ผู้มีส่วนได้เสีย คือ บุคคลภายนอกองค์การที่มุ่งความสนใจในตัว                                          องค์การ เช่น ผู้ถือหุ้น นักลงทุน และสถาบันการเงิน
            สารสนเทศทางธุรกิจยุคโลกาภิวัตน์
            พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ..2542 (2546,หน้า 1044) ได้ให้คำนิยามคำว่า โลกาภิวัตน์หมายถึง การแพร่กระจายไปทั่วโลก ประชานิคมโลกไม่ว่าจะอยู่ ณ จุดใดสามารถรับรู้ สัมพันธ์หรือรับผลกระทบจากสิ่งที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว
            Glendining and McEwan (2003,p.211) ได้ให้คำนิยาม อินเทอร์เน็ตหมายถึง การเชื่อมต่อของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ซึ่งก่อให้เกิดการแพร่กระจายของสารสนเทศทั่วโลก
            จากคำ 2 คำนิยามข้างต้น ถือได้ว่า อินเทอร์เน็ต คือ เทคโนโลยีหนึ่ง ซึ่งท้าทายรากฐานทางด้านเศรษฐกิจ สังคม รวมทั้งเทคโนโลยีของเศรษฐกิจยุคเก่า คือ เกิดการปฏิวัติทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงทุกอย่างไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิงด้วยการดำเนินงานทางธุรกิจ มีการรับและส่ง
ข้อมูลโดยใช้สื่อดิจิทัล มุ่งเน้นด้านการใช้ระบบสารสนบนเว็บผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตภายใต้       รูปแบบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
1.ระบบเศรษฐกิจ
            ภายใต้การดำเนินธุรกิจยุคโลกาภิวัตน์ หรือเศรษฐกิจยุคดิจิทัล Turban et al. (2006,p.4) ได้ให้คำจำกัดความว่า เศรษฐกิจยุคดิจิทัล หมายถึง เศรษฐกิจหนึ่งซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เช่น อินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต เครือข่ายมูลค่าเพิ่ม คอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์และเทคโนโลยี ในอีกความหมายหนึ่ง คือ ภาวะที่บรรจบเข้าหากันระหว่างเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศการสื่อสารบนอินเทอร์เน็ต ตลอดจนเครือข่ายคอมพิวเตอร์
2. การจัดองค์การ
            การดำเนินธุรกิจในยุคโลกาภิวัตน์ จะปรากฏการณ์จัดการรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า องค์การดิจิทัล  ซึ่ง Laudon and Laudon ( 2005,p.7) ได้ให้คำจำกัดความว่า คือ องค์การที่มีการทำงานในหลากหลายมิติ อาศัยความสามารถด้านดิจิทัลและสื่อดิจิทัล จัดการข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ทางธุรกิจ ในส่วนที่ติดต่อกับลูกค้า ผู้จัดหา รวมทั้งลูกจ้างขององค์การ มีการรับรู้และตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมได้รวดเร็ว ตลอดจนความสามารถด้านการปรับตัวให้มีความอยู่รอดทางธุรกิจ
3. แบบจำลองธุรกิจ
            คือ วิธีการดำเนินธุรกิจที่ส่งผลให้บริษัทสามารถสร้างรายได้ เพื่อค้ำจุนองค์การให้อยู่รอด จะอธิบายถึงวิธีการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ให้ลูกค้าเต็มใจจ่าย มักขึ้นอยู่กับความซับซ้อนของแบบจำลอง เช่น การโฆษณา ตัวอย่างแบบจำลองภายใต้การดำเนินธุรกิจยุคโลกาภิวัตน์ คือ กรณีของเว็บศูนย์รวม หรือเว็บท่า เช่น ยาฮู เพื่อใช้ตอบสนองแรงกดดันทางธุรกิจทั้งทางด้านการตลาดและทางเทคโนโลยี
4. เครือข่ายคอมพิวเตอร์
            คือ โครงสร้างพื้นฐานของอีคอมเมิร์ชอยู่ในรูปของคอมพิวเตอร์แบบกระจาย มีการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์หลายเครื่องกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น เครือข่ายโทรคมนาคม จึงส่งผลให้เกิดสภาพแวดล้อมในนามของ อินเทอร์เน็ตสำหรับการเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์เฉพาะภายในองค์การ เรียกกันว่า อินทราเน็ตบางธุรกิจอาจเชื่อมต่ออินทราเน็ตขององค์การเข้ากับระบบเครือข่ายของพันธมิตรธุรกิจ เรียกว่า เอกซ์ทราเน็ตเริ่มแรกมีการเชื่อมต่อด้วยระบบใช้สาย แต่ในเวลาต่อมามีการใช้ระบบไร้สาย
            เครือข่ายคอมพิวเตอร์มักถูกนำมาใช้เพื่อสนับสนุนธุรกิจในส่วนของการรักษาความได้เปรียบเชิงการแข่งขันเพื่อช่วยให้ธุรกิจอยู่รอด โดยอาจเป็นไปได้ในส่วนธุรกิจที่แสวงหากำไร ธุรกิจที่ไม่แสวงหากำไร ตลอดจนหน่วยงานราชการ เพื่อช่วยสนับสนุนวัตถุประสงค์ด้านการปรับปรุงผลผลิตและการตัดสินใจให้ดีขึ้น ลดต้นทุนค่าใช้จ่าย และขยายความสัมพันธ์กับลูกค้า
5. โอกาสของผู้ประกอบการ
            Turban et al.(2006,p.17) ได้กำหนดวิธีโต้ตอบหลักขององค์การไว้ 7 วิธี คือ
5.1    การจัดการเชิงกลยุทธ์ เป็นกิจกรรมด้านการโต้ตอบที่สำคัญ โดยทำการพัฒนากลยุทธ์ของบริษัท รวมถึงการให้ความสนับสนุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ กลยุทธ์จะช่วยองค์การสร้างความได้เปรียบเชิงกลยุทธ์ ซึ่งสามารถเพิ่มส่วนแบ่งตลาดหรือกำไรทางธุรกิจ เช่น การใช้อินเตอร์เน็ต
5.2    จุดศูนย์รวมลูกค้า องค์กรพยายามจะบริการลูกค้าอย่างดีเยี่ยม สร้างข้อแตกต่างด้านผลิตภัณฑ์ในส่วนความดึงดูดใจ อีกทั้งการธำรงรักษาลูกค้า
5.3    การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง เช่น มีการสร้างโปรแกรมการจัดการคุณภาพแบบทั้งหมด และซิก ซิกมา การจัดการความรู้ การปรับปรุงผลผลิตและความคิดสร้างสรรค์ กระบวนการทันเวลาพอดี เพื่อติดตามดูแล วิเคราะห์ผลการดำเนินงาน การเพิ่มผลผลิต ตลอดจนการรวบรวม จัดเก็บ และใช้ความรู้ในองค์การ
5.4    การปรับกระบวนการทางธุรกิจ มักเกิดความต้องการแนวโน้มใหม่ด้านการรื้อปรับกระบวนการทางธุรกิจ ซึ่งหมายถึง สถานการณ์ของการออกแบบกระบวนการทางธุรกิจใหม่ ทั้งในส่วนพื้นฐานและรากฐาน เพื่อบรรลุผลด้านการปรับปรุงอย่างมหาศาล ตลอดจนวิถีการดำเนินธุรกิจ และหากมีการปรับปรุงเพียงเล็กน้อย จะเรียกกระบวนการออกแบบใหม่นี้ว่า การปรับโครงสร้างธุรกิจ
5.5    นวัตกรรมการผลิตด้านคำสั่ง และการผลิตแบบสั่งทำในปริมาณมาก ซึ่งบริษัทจะผลิตสินค้าที่มีลักษณะเฉพาะในปริมาณมาก และยังสอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า โดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและอีคอมเมิร์ชเป็นเครื่องมือที่รองรับการผลิต  เพื่อให้ลูกค้าค้นพบผลิตภัณฑ์ที่สนองความต้องการได้รวดเร็วและถูกต้อง
5.6    ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และอีคอมเมิร์ช ซึ่งนับเป็นธุรกิจที่ทันสมัยที่สุด ในฐานะรูปแบบของการใช้กลยุทธ์ที่ใช้ได้ผลดี Drucker (as quoted in Turban et al.,2006,p.19) กล่าวถึง อีคอมเมิร์ช ไว้ว่าถือเป็นการปฏิวัติที่ก่อให้เกิดผลกระทบอย่างแท้จริงของอินเทอร์เน็ต ช่วยส่งผลให้องค์การได้รับสารสนเทศที่ดีแล้ว ยังอาจส่งผลต่อการประมวลผลข้อมูลเพื่อการตัดสินใจ รวมทั้งกำหนดนโยบายหรือกลยุทธ์ขององค์กร
5.7    พันธมิตรทางธุรกิจ เพื่อผลประโยชน์ที่ได้รับร่วมกัน สำหรับรูปแบบที่น่าสนใจที่สุดของพันธมิตรทางธุรกิจ คือ บริษัทเสมือนที่ดำเนินการผ่านเครือข่ายโทรคมนาคม โดยบริษัทเสมือนแบบชั่วคราวของการร่วมค้าพิเศษและเจาะจง มีการจำกัดเวลาของตัวแทน ส่วนบริษัทเสมือนถาวร จะถูกออกแบบสร้างหรือประกอบทรัพยากรด้านการผลิตอย่างรวดเร็วและบ่อยครั้ง
รุจิจันทร์ พิริยะสงวนพงศ์. สารสนเทศทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2549.

3 ความคิดเห็น: